การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า บริบทการค้าโลกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป เทรนด์ธุรกิจยั่งยืน “Sustainable Business” หรือการดำเนินธุรกิจที่พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นแนวโน้มการดำเนินธุรกิจใหม่ที่องค์กรทั่วโลกกำลังปรับเปลี่ยน
คนที่ทำให้เกิดเทนด์นี้ไม่ใช่ใคร เป็นผู้บริโภคสินค้านั่นเอง จากที่เป็นแค่ลูกค้าเริ่มเปลี่ยนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่ไม่ได้มองแค่สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมซื้อหา แต่มองลึกลงไปในตัวสินค้าว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบ และส่วนประกอบของสินค้ามีการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีเบื้องหน้าเบื้องหลังสินค้าอย่างไร
ไม่มีธุรกิจไหนจะปฎิเสธการดำเนินการอย่างมี จริยธรรม มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบ เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความยั่งยืนขององค์กร เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นจิตสำนึกสาธารณะที่จะต้องทำงานโดยไม่สร้างปัญหาให้กับผู้อื่น แต่ก็เป็นองค์ความรู้ที่จะต้องถ่ายทอด อธิบายและเรียนรู้ทั้งจากภาคทษฎีและภาคปฎิบัติ ที่อาศัยตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแรงบันดาลใจและทำตาม
ที่ผู้เขียนพยายามบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็น สำหรับผู้ประกอบการทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายเล็กอย่าง SMEs ที่จะต้องรู้ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาของการค้าในบริบทใหม่นั้น จะทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถส่งออกได้ในรูปแบบเดิมๆ การทำธุรกิจแบบเดิมๆได้อีกต่อไป ถ้ามัวแต่ผลิตและส่งออกโดยไม่ดูว่าตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สุดท้ายก็จะได้รับผลกระทบจนอยู่ไม่ได้
หากยังจำกันได้ เมื่อ 3-4 ปีก่อน ประเทศไทยได้รับแจ้งจาก คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และการประมงของสหภาพยุโรป (อียู) ว่ายังไม่พอใจในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) โดยเฉพาะในประเด็นที่ยังไม่พอใจเรื่องการใช้แรงงานเถื่อน ใช้เรือผิดกฎหมายไม่มีใบอนุญาตจับปลา ไม่สามารถติดตามได้ เป็นต้น ทำให้ทางไอยูยูต้องให้ใบเหลืองกับประเทศไทย และหากไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้นก็อาจจะต้องเพิ่มการกดดันด้วยการให้ใบแดง ซึ่งจะทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าประมงเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปได้
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ เนื่องจากไทยส่งอาการทะเลทั้งสดทั้งแปรรูปและสำเร็จรูปไปยังสหภาพยุโรปปีละหลายหมื่นล้านบาท และเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ธุรกิจมากมายทั้งแรงงานและผู้ค้า รัฐบาลจึงเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจัดการไม่ให้มีการทำการประมงอย่างผิดกฎหมายจนไทยหลุดจากใบหลืองออกมา
นั่นเป็นตัวอย่างระดับประเทศ ยังมีปัญหาระดับเล็กๆรองลงมาอยู่เนืองๆ ต้องยอมรับว่าในยุโรปมีผู้บริโภคสนใจและตั้งคำถามเหล่านี้เพิ่มขึ้นจริงๆ จึงเป็นแรงกดดันให้ภาคธุรกิจยุโรปต้องดำเนินการด้านสังคมและความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ไม่ใช่เพียงสินค้าและบริการที่ผลิตในยุโรปเอง แต่ยังรวมไปถึงเครือข่ายธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้า ตั้งแต่การเพาะปลูก การผลิต แปรรูป ในประเทศที่สามรวมทั้งไทยที่ส่งออกไปขายไปตลาดยุโรปก็ต้องปรับตัวเพื่อดำเนินการตามมาตรฐานด้านสังคมและความยั่งยืนมากขึ้นไปด้วย ซึ่งรวมถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพแรงงาน จรรยาบรรณ และประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
แม้การนำเอามาตรฐานด้านสังคมและความยั่งยืนมาใช้ เพื่อลดปัญหาสังคม การเอารัดเอาเปรียบกัน การค้ามนุษย์ การฟอกเงิน การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จะเป็นสิ่งที่ดีและทุกคนรับได้ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ได้มีการนำเอาเรื่องนี้มาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ปิดทางไม่ให้สินค้าจากที่อื่นเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในประเทศ นอกเหนือจากการกีดกันการค้าโดยใช้มาตรการทางภาษี
สหภาพยุโรปเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่มีกำลังซื้อสูงที่สุดในโลก แต่มีนโยบายและมาตรการควบคุมด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารที่เข้มงวด และมีกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่สลับซับซ้อน รวมทั้งนโยบายและกฎระเบียบที่กำหนดโดยสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องนำไปปรับใช้เป็นมาตรฐานของตัวเอง
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการส่งออก จะส่งสินค้าไปขายในประเทศใดก็จะต้องเรียนรู้สังคมและกฎหมายการค้าของประเทศนั้นๆ ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ปัจจุบัน มีมาตรฐานด้านสังคมและความยั่งยืน (Social and Sustainability Standards) เกิดขึ้นมากมายเป็นหลายร้อยตรามาตรฐาน ทั้งในระดับสากล ในยุโรปเองก็มีอยู่กว่า 200 มาตรฐาน
มาตรฐานที่กำหนดโดยภาคเอกชน (Private Standards) เหล่านี้โดยทั่วไปเป็นมาตรฐานที่สูงกว่า และปฏิบัติตามได้ยากกว่ามาตรฐานและข้อกำหนดระดับพื้นฐานที่กำหนดโดยภาครัฐในระดับสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก จนบางครั้ง มาตรฐานด้านสังคมและความยั่งยืนเหล่านี้ ถูกมองว่าเป็นเรื่องของการสร้างข้อกีดกันทางการค้า
อย่างไรก็ดี มาตรฐานของภาคเอกชนเหล่านี้เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจ ไม่ได้บังคับใช้เป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามาตรฐานของเอกชน มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และการปฏิบัติตามมาตรฐานและการติดฉลากภาคเอกชนเหล่านี้ ถือเป็นโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรและอาหารจากไทยในตลาดสหภาพยุโรป
เรื่องนี้ไม่มีการบังคับ หากสินค้าทำไม่ได้มาตรฐานเอกชนบางสถาบัน อาจจะหมดโอกาสหรือหมดอนาคตกับตลาดในสหภาพยุโรป แม้จะทำตามกฎระเบียบมาตรฐานของอียูแล้วก็ตาม หรือราคาก็ไม่สูงเกินไป ผู้บริโภคอาจไม่ได้มองแค่นั้น แต่มองลึกลงไปถึงกระบวนการที่แม้ราคาก็ไม่อาจโน้มน้าวให้เขาเลือกซื้อสินค้าเราได้
เรื่องการนำเอามาตรฐานด้านสังคมและความยั่งยืนมาใช้ในการนำเข้าสินค้าหรือเลือกซื้อสินค้าของประชากรโลกนี้ แม้อีกด้านหนึ่งจะถูกมองว่าอาจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกัดกันทางการค้า แต่ต้องยอมรับว่ามาตรฐานดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และช่วยรักษาโลกทางอ้อม ซึ่งในที่สุดแล้วอาจจะมีผลดีมากกว่าผลเสีย เทรนด์ธุรกิจยั่งยืน จึงเป็นเทรนด์ของโลกที่ยังยืดหยัดในกระแส New-Normal
Author : ชลลดา อิงศรีสว่าง ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
-
ที่มาของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คนไทยจะได้ยินคำว่า “ยั่งยืน” บ่อยครั้งขึ้น หลังจากที่รู้จักความยั่งยืนผ่านทางปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร &nb...
07.07.2020
-
สร้างความยั่งยืนด้วย ‘การค้าระหว่างประเทศ’
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลกนั้น ได้เน้นไปที่การค้าระหว่างประเทศ เพราะการค้าทำให้เราผลิต เราขุดค้นนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เพื่อเปลี่ยนเป็นสินค้าส่งออกไปขาย ได้เงินตราเข้าประเทศ ซึ่งในห่วงโซ่เศรษฐกิจที่...
20.07.2020
-
‘Sustainable Business’ เทรนด์โลก ธุรกิจยั่งยืน
ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้อ่านบทความนี้ อาจจะมีคำถามในใจว่า เราเป็นเพียงผู้ประกอบการรายเล็กๆ ไปเกี่ยวข้องอะไรกับความยั่งยืน และทำไมจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ควรจะเกี่ยวข้องแต่กับผู้ปร...
13.07.2020