การผลิต

การกระจายความเสี่ยง
เราน่าจะเคยได้ยินสำนวนภาษาอังกฤษ Don't Put All Your Eggs in One Basket. ซึ่งความหมายว่า ไม่ควรทุ่มเททุกสิ่งที่คุณมีอยู่ไปกับสิ่ง ๆ เดียว ซึ่งในความหมายส่วนใหญ่ก็จะเป็นทำการค้า การลงทุนซะเป็นส่วนใหญ่ เช่นพวกนักวิเคราะห์หุ้นมักใช้สำนวนที่ว่านี่เสมอ แต่ในความเป็นจริงทางธุรกิจ ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทางเลือกมากนัก และอาจจำเป็นต้องเอาทรัพยากรที่มีทั้งหมดเพื่อเป้าหมายเดียว
หลายท่านคงจะพบปะกับคนที่เคยพบความเสียหายจากการเอาเงินทั้งหมดไปลงในธุรกิจที่เสี่ยงแล้วได้ผลตอบแทนสูง ๆ เช่นพวกแชร์ลูกโซ่ หรือตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือแม้แต่หุ้นเก็งกำไร ขนาดที่ว่ามีบ้านขายบ้าน มีรถขายรถ มาลงทุนกันเลย ซึ่งที่ผมจะพูดถึงไม่ใช่ภาพแบบนั้นนะครับ
ภาพที่อยากให้นึกถึง ก็กรณีที่เรารับจ้างผลิตอาหาร หรือของใช้ส่งขายร้านมินิมาร์ตเครือข่ายใหญ่ ๆ ของประเทศที่เรียกว่าทำแทบไม่ทัน แล้ววันร้ายก็มาถุง ทางผู้ซื้อบอกยกเลิกสัญญา เพราะเขาทำโรงงานผลิตเอง หรือ กรณีของการที่โรงงานรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออก รับผลิตให้กับเครือข่ายร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านชื่อเสียงระดับโลก โรงงานของคนไทยเราก็โชคดีมาก เขาสั่งสินค้าเยอะมาก ขนาดที่ว่าต้องขยายกำลังการผลิตเพื่อรอบรับคำสั่งซื้อ และมีการสั่งสินค้าเพิ่มชนิดสินค้ามากขึ้นทุกปี เงินกำไรที่มีก็ลงทุนขยายโรงงานเพิ่ม และเครื่องจักร ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น จนถึงวันหนึ่ง ทางผู้ซื้อขอชลอคำสั่งซื้อเกือบทั้งหมด จะเรียกได้ว่าตะกร้าไข่ตกแตกกระจายเลยล่ะสิ
ในเรื่องนี้ เราต้องพิจารณา 2 มุม ในมุมของผู้ผลิต กับ ผู้ซื้อ โดยในมุมของผู้ผลิต ก็ต้องพิจารณาเรื่องการบริหารการผลิต หลัก 4 M’s ที่เราน่าจะคุ้นๆ กัน ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ MAN, MONEY ,MATERIAL , MANAGEMENT
MAN ในที่นี้ อาจจะหมายรวมทั้งการ จัดคนงานเพื่อกระบวนการผลิต และโยงไปถึง พนักงานด้านการตลาดด้วย เพราะเมื่อเราสามารถผูกขาดการรับผลิตให้กับผู้ซื้อรายใหญ่ ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ไม่ต้องเสียค่าพนักงานด้านการขาย (รวมไปถึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ค่าใช้จ่ายเดินทางพนักงานการตลาด)
MONEY เมื่อเราเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ๆ การรับคำสั่งซื้อขนาดที่เต็มกำลังการผลิต เราก็ต้องทุ่มเงินทั้งหมดเพื่อการทำธุรกิจที่เรามองเห็นว่ามีกำไรแน่ๆ มีคำสั่งซื้อต่อเนื่องตามสัญญาสั่งซื้อที่ดูน่าจะสร้างความมั่นคงกับธุรกิจมากกว่าขายให้กับผู้ซื้อรายย่อย ๆ
MATERIAL และเรื่องทรัพยกากรก็เป็นสาระสำคัญ เพราะในบางสินค้า เราไม่สามารถผลิตได้เกินกว่าที่ผู้ว่าจ้างต้องการ จนถึงขั้นต้องขยายกำลังการผลิต ต้องจัดหาวัตถุดิบข้ามจังหวัด หรือข้ามประเทศ เพื่อให้เพียงพอต่อคำสั่งซื้อของผู้ซื้อรายใหญ่
MANAGEMENT เรื่องการบริหารจัดการ เท่าที่เคยพูดคุยกับนักธุรกิจที่ต้องเอาไข่ใส่ในตะกร้าใบเดียวแบบนี้ เขาก็ทราบความเสี่ยงอยู่ แต่ไม่อยากเลือกปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากผู้ซื้อรายใหญ่ แล้วไปแบ่งทำตลาดกับผู้ซื้อรายย่อย แต่ก็มีบางรายกำหนดนโยบายไว้เลย ว่าจะมีบางส่วนที่เขาต้องทำตลาดกับรายย่อยอื่น ๆ เพื่อใช้ในการมองภาพการแข่งขัน และแนวโน้มการตลาดที่เปลี่ยนไป ซึ่งไม่ใช่ว่าทุรายจะมีทางเลือก เพราะผู้ว่าจ้างกำหนดอาจเงื่อนไขว่าต้องผลิตได้เท่านี้ ถ้าผลิตไม่ได้ก็ไปว่าจ้างผู้ผลิตรายอื่นแทน ซึ่งนั่นเป็นกำลังการผลิตที่ไม่เหลือสำหรับทำตลาดกับผู้ซื้อรายอื่นอีกแล้ว
ในเรื่องนี้ก็จะมีตลกร้าย ที่เกิดขึ้นเหมือนกันนะครับ เคยมีผู้ผลิตบางรายเขาผลิตอาหารขายส่งให้กับร้านเครือข่ายดังๆ ผู้บริโภคบอกว่าอร่อยมากๆ แต่ พอทางโรงงานทำการตลาดเอง ด้วยสูตรการผลิตเดียวกับ แต่ภาชนะบรรจุต่างกัน ราคาถูกกว่า ผู้บริโภคบอกว่ามีความแตกต่าง อร่อยสู้เจ้าดังไม่ได้ ดังนั้นเรื่องของรสนิยมผู้บริโภคคงต้องศึกษากันยาว
ขณะที่หากเรามองในมุมของผู้ซื้อรายใหญ่ เราเป็นฝ่ายจัดซื้อย่อมต้องจัดหาแหล่งผลิตที่มีคุณภาพสูง ในราคาที่เหมาะสม และก็ต้องกระจายความเสี่ยงในการว่าจ้างผู้ผลิดหลายรายไว้ และด้วยผลงานของฝ่ายจัดซื้อก็ต้องหาทางให้ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด โดยมองหาแหล่งผลิตอื่นๆ ที่สามารถนำเสนอสินค้าคุณภาพเดียวกัน ในราคาที่ต่ำกว่า และ เขาสามารถควบคุมคุณภาพได้ จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติทางธุรกิจที่จะเปลี่ยนนโยบายการจัดซื้อสินค้า เปลี่ยนแหล่งผลิตสินค้า โดยไม่สามารถเอาเรื่องคุณธรรม หรือความสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นตัวเลือกทางธุรกิจได้ทั้งหมด
ดังนั้น ในการทำธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่มีคำสั่งซื้อล็อตใหญ่ และ ต่อเนื่องระยะยาว ยังมีเรื่องความเสี่ยง ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นเช่นกัน
Author : รัฐ ลิ่วนภโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
-
นวัตกรรมนำธุรกิจ พิชิตใจผู้บริโภค
ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การค้า สังคมและวัฒนธรรม ทำให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไปเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องเพื่อให้ธุรกิจดำเ...
12.06.2020
-
“น้ำ” ปัจจัยสำคัญในการผลิตที่ขาดไม่ได้
“น้ำ” นอกจากจะเป็นปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์แล้ว น้ำยังเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิตของเกือบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะใช้ในกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ หรือธุรกิจเกษตรที่ต้องใช้น้ำในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์...
31.03.2020
-
คิดรอบด้านก่อนทำฟาร์มปศุสัตว์
หากคิดจะทำธุรกิจสักประเภท ผู้ประกอบการจะต้องคิดให้รอบคอบ ควรจะต้องรู้จักรู้จริงในธุรกิจนั้นให้ครบวงจร หากไม่รู้จักธุรกิจที่จะทำอย่างถ่องแท้ โอกาสที่จะเพลี้ยงพล้ำเกิดง่ายกว่าคนที่ทำธุรกิจแบบตัวจริงที่รู้กระบวนการตั้งแต่ต้...
27.03.2020