Exporter World Talk

วันที่ 15 มิถุนายน 2564
Exporter World Talk EP:20 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ ผศ.ดร.ศศิธร ตรงจิตภักดี รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาสนทนาในหัวข้อ "นวัตกรรม หัวใจการส่งออกผักผลไม้ " เพื่อแก้ไขปัญหา ของผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตร ประเภทผักและผลไม้ ให้ได้มาตรฐานสดใหม่จากไร่ไปจนถึงมือลูกค้า
ดร.ศศิธร กล่าวว่า การส่งออกผักและผลไม้ เป็นธุรกิจที่ท้าทายผู้ส่งออกอย่างยิ่ง เพราะเป็นสินค้าที่มีชีวิต และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ที่สนใจจะส่งออก จะต้องมีความรู้ในหลายๆเรื่อง อยากให้มองตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพราะมีหลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น ตัวผลผลิตเองจะต้องมีความรู้ว่า ผลผลิตของเรา ปลูกอย่างไร เก็บเกี่ยววิธีไหน มีคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยอย่างไรบ้าง
นอกจากนี้ จะต้องมีความรู้ในเรื่องของกฎหมาย ของประเทศคู่ค้าแต่ละประเทศ เพราะจะมีผลอย่างมากต่อการส่งออก หากเราไม่ศึกษาไม่มีความรู้ว่าเขามีข้อกำหนด ข้อห้ามอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีกฏระเบียบที่ต่างกัน ถ้าเราไม่รู้ก็จะไม่สามารถจัดการสินค้าของเราได้อย่างถูกต้อง
“ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ การใช้สารเคมีในกระบวนการเพาะปลูกพืช หรือการรักษาสภาพของสินค้า บางประเทศกำหนดให้ใช้ได้ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือพบว่ามีการใช้มากเกินที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหรือปริมาณ บางรายนึกถึงการใช้สารเคมีโดยลืมนึกถึงคุณภาพสิน้า เช่น ทุเรียนยังไม่แก่จัดก็ตัดมาขายต่อให้เราใช้สารเคมีเนี่ยนะคะมันก็จะทำให้ได้ทุเรียนที่มันไม่อร่อยไม่ใช่ทุเรียนที่ผู้บริโภคต้องการ ที่เขาเรียกว่าเป็นทุเรียนอ่อน ซึ่งจริงๆก็เป็นทำให้ประเทศไทยได้เสียชื่อเสียงไปเหมือนกัน” ดร.ศศิธร กล่าว
ทั้งนี้ ในเรื่องของกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมวิชาการเกษตร เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ แล้วก็ยังมีอีกหลายหน่วยงาน ที่มีขั้นตอนรายละเอียดต่างๆ
ดร.ศศิธร กล่าวว่า แต่ละประเทศ มีข้อกำหนดแล้วก็วิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ถ้าใครอยากจะส่งผลไม้สดไปสหรัฐอเมริกา เขาก็อนุญาตให้ส่งได้แต่ต้องผ่านการฉายรังสี ซึ่งขณะนี้อนุญาตให้ผลไม้แค่ 7 ชนิด คือ มะม่วง มังคุด ลำไยลิ้นจี่ เงาะ สับปะรด และ แก้วมังกร
เขาจะบอกไว้ชัดเจนว่าผลไม้เหล่านี้ จะต้องปลูกมาจากแปลงที่ได้ มาตรฐาน จีเอพี (Good Agricultural Practice : GAP) คือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังต้องนำไปคัดแยกและบรรจุในโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน จีเอ็มพี (Good Manufacturing Practice) คือ มาตรฐานในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำเพื่อควบคุมการผลิตอาหารด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม เพื่อให้ได้อาหารที่มีมาตรฐานเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย แล้วก็ต้องไปผ่านเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในประเทศไทยให้เขาตรวจก่อนที่จะส่งออกไปที่สหรัฐอเมริกา
ดังนั้น จะต้องได้รับใบอนุญาตต่าง ๆเช่นใบรับรองสุขอนามัยที่กรมวิชาการเกษตร หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือถ้าเราจะส่งมะม่วง หรือ มังคุดไปญี่ปุ่น ผลไม้สดที่จะส่งไปต้องไปผ่านการอบไอน้ำ ซึ่งเราก็ทำที่ประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่น ก็จะมาดูว่าได้รับมาตรฐานหรือไม่
สำหรับ การฉายรังสีในผลไม้เราเน้นในเรื่องของการกำจัดแมลงแล้วก็ไข่แมลง สิ่งที่เค้ากลัวมากจากพวกประเทศแถบเขตร้อนก็คือเรื่องของแมลง ซึ่ง บางทีมันก็จะไปแอบอยู่ในตัวผลผลิตของเราเลย ดังนั้นจึงต้องใช้กระบวนการอาบรังสีซึ่ งเค้าก็ดูแล้วนะคะมีการวิจัยแล้วนะคะว่ามันปลอดภัยมีการตรวจสอบอย่างถูกต้อง ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีการใช้รังสีอย่างนี้เป็นปกติ อย่างเช่น มะละกอจากฮาวาย ถ้าจะส่งไปขายในเมนแลนด์ก็จะต้อง ฉายรังสีด้วยเพราะว่าเค้ากลัวว่าแมลงต่างๆ จะติดจากผลผลิตเข้าไปที่เมนแลนด์ของสหรัฐอเมริกาด้วย
“การฉายรังสีให้กับผลผลิตการเกษตรที่จะส่งออกนั้น มีให้บริการอยู่หลายหน่วยงาน เช่น กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการส่งออกก็สามารถที่จะปรึกษาขอคำแนะนำได้ที่คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ได้”ดร.ศศิธร กล่าว
การส่งออกสินค้าผักและผลไม้นั้น นอกจากจะต้องดูรายละเอียดของกระบวนการผลิตว่าต้องได้มาตรฐานตามที่ประเทศผู้ซื้อปลายทางระบุแล้ว นวัตกรรมทาด้านบรรจุภัณฑ์ หรือ packageing ก็มีความสำคัญมาก นอกจากจะให้ข้อมูลบนฉลากสินค้าแล้ว ยังเป็นตัวที่จะช่วยถนอมสินค้าเราให้สดใหม่ได้ด้วย
“เราเคยเห็นไหมว่าเวลาเราซื้อแอปเปิ้ล เขาจะใส่มาในกล่อง แล้วก็จะมีโฟมเน็ตมีวัสดุกันกระแทกซึ่ง packageจริงขนส่งเนี่ยก็จะมีหน้าที่หลักๆก็คือป้องกันไม่ให้เกิดความกระทบกระเทือนกับผักผลไม้ของเรา แล้วก็จะมีบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคอย่างเช่นพวกถุงต่างๆ ที่เอาไว้ใส่ผลิตภัณฑ์ อย่างเช่น ถุงผักสลัด ก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรม เคยเห็นที่เราไปซื้อตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมันจะมีสลัดที่แพคเรียบร้อยแล้วถุงพวกนี้เป็นถุงชนิดที่เรียกว่าถุงMAP นะคะหรือว่าถุงที่สามารถดัดแปลงสภาพอากาศภายในได้นะคะมันก็จะช่วยทำให้ผักผลไม้ของเราเนี่ยอายุนานขึ้น”ดร.ศศิธร กล่าว
ถุงถนอมอาหารนี้ มีหลายแบบ ไม่เหมือนกับถุงใส่กับข้าว แต่มันถูกออกแบบพิเศษเพื่อที่จะสามารถยืดอายุการเก็บได้ ปกติผักผลไม้ก็จะหายใจเหมือนกับคนเรานี่แหละ ยิ่งเรามีการถ่ายน้ำ มีการหายใจ มีการให้ความร้อนออกมาใช้ออกซิเจน มีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ แต่ถ้ามันอยู่ในสภาวะที่คาร์บอนไดออกไซด์สูง ออกซิเจนต่ำ ก็จะทำให้การหายใจช้า ลงซึ่งก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานหรือการเก็บรักษาเอาไว้
ดังนั้น ถ้าเราออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างเช่นถุงเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถที่จะหายใจช้าลง มันก็จะช่วยยืดอายุสินค้าไปได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็คือเรื่องของอุณหภูมิ ขอเน้นย้ำบางคนมุ่งในเรื่องของแพ็คเกจมากเกินไปจนลืมว่าผักผลไม้ต้องการอยู่ในที่ที่อุณหภูมิเหมาะสม ต้องไปอุณหภูมิต่ำที่เหมาะสม แล้วก็ใช้แพ็คเกจที่เหมาะสมกับการทำให้มันหายใจช้าๆ ก็จะทำให้สามารถยืดอายุการเก็บไว้ได้นานขึ้น
ดร.ศศิธร กล่าวว่า ทางผู้ประกอบการอาจจะคิดว่า นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ มีราคาไม่สูงมากเหมือนในอดีต ขณะนี้มีการผลิตในประเทศแล้ว ราคาจึงลดลง ทางผู้ส่งออกต้องประเมินว่าการลงทุนใช้แพคเกจที่มีคุณภาพราคาอาจจะสูงหน่อยจะคุ้มค่าไหม ต้องลองไปประเมินดูต้องตั้งราคาอะไรให้มันเหมาะสมไม่ใช่ว่าจะขายราคาถูกแล้วก็ใช้ package แพง
การใช้บรรจุภัณฑ์ดีมันก็จะแลกมากับคุณภาพแล้วก็อายุการเก็บที่นานขึ้น แน่นอนว่าลูกค้าของเราก็จะมีความสุขมากขึ้น ที่ได้สินค้ามีคุณภาพ
หลังจากเราได้ศึกษาหาความรู้เรื่องผลผลิตที่ได้มาตรฐานจากประเทศผู้นำเข้าแล้ว เราใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้สินค้าของเรามีคุณภาพสดใหม่ได้นานขึ้นแล้ว ทางด้านการขนส่งสินค้า หรือ โลจิสติกก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก การมีสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว เราจะส่งไปถึงมือผู้บริโภค ก็ต้องมีข้อมูลว่า ต้องไปผ่านอุณหภูมิแบบไหนบ้าง ใช้เวลาเท่าไหร่ ขนส่งทางรถยนต์ ทางเรือ หรือทางเครื่องบิน การขนส่งแบบไหนจะมีส่วนในการเลือกบรรจุภัณฑ์ได้เหมาะสม เพื่อป้องกันสินค้าให้มีคุณภาพดีไปตลอดห่วงโซ่จนถึงมือผู้บริโภค
ทั้งนี้ หากจะให้แนะนำ ก็ขอบอกว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมการเกษตรจะมีการอบรมให้กับผู้ที่สนใจเรื่องของวัสดุและโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้าอยู่เป็นระยะ สามารถสอบถามขอข้อมูลได้ สามารถที่จะทดสอบได้ว่า สมมุติเราจะส่งมะม่วงไปที่ดูไบ จะต้องไปอยู่ที่แอร์พอร์ตที่ดูไบเป็นเวลา 6 ชั่วโมง แล้วถึงจะไปที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรืออะไรอย่างเนี่ยแล้วสินค้าของเราเนี่ยจะยังดีอยู่หรือเปล่า การอบรมก็จะมีเครื่องที่สามารถจำลอง ในเรื่องของอุณหภูมิ ในเรื่องของการสั่นสะเทือน เราก็จะสามารถที่จะลองหรือออกแบบระบบบรรจุภัณฑ์และการขนส่งได้เหมาะสม รวมถึงกำหนดได้ว่าเราจะใช้มะม่วงสุกระดับไหนคุณภาพประมาณไหน ก็จะดีไซน์ได้ทั้งหมดเลย
ดร.ศศิธร ยกตัวอย่างงานวิจัยที่ได้ผลเป็นรูปธรรมาแล้วอย่าง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผลไม้ยอดนิยมที่กำลังมาแรงคือ “มะยงชิด” ที่มีเปลือกบางและเน่าเสียง่าย ก็มีการนำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถดัดแปลงสภาพอากาศมาใช้ยืดอายุการเก็บได้อีกสามสัปดาห์ ก็เป็นหนึ่งในโอกาสที่จะสามารถที่จะส่งออกได้ เช่นอาจจะส่งด้วยเครื่องบินไปทางฮ่องกง ไปสิงคโปร์ เป็นต้น
“เราสามารถส่งออกมะยงชิด แบบพร้อมรับประทานมีการปอกเปลือกแช่เย็น ถ้าเรามีการมีกระบวนการการผลิตที่เหมาะสมเรื่องแพ็คเกจที่เหมาะสมสามารถที่จะอยู่ในตู้เย็นได้เป็นเดือน เราเคยลองเก็บมาแล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นตัวอย่างว่าถ้าเราทำได้ถูกต้อง มันก็จะสามารถที่จะยืดอายุแล้วก็เปิดโอกาสในการส่งออกได้” ดร.ศศิธร กล่าว
ดร.ศศิธร กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับผู้ประกอบการและผู้ส่งออกที่สนใจและต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อมาได้ที่คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่คณะนี้จะมีหกภาควิชา เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ , เทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ,วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นต้น คือครบวงจรของอุตสาหกรรมเกษตรเลย ถ้าเกิดสนใจไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้หรือว่าอาหารหรือว่าผลิตภัณฑ์เกษตรในเรื่องของการแปรรูปนะคะสามารถติดต่อมาได้ ที่หน่วยบริการวิชาการ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 025625000
-
Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’
วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...
29.11.2021