Exporter World Talk

วันที่ 18 พฤษภาคม 2564
Exporter World Talk EP:19 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ ดร.ธีระวุฒิ มูฮำหมัด กรรมการอิสลาม ประจำกรุงเทพมหานคร มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ฮาลาลไทย ไปตลาดโลก” เพื่อขยายลู่ทางการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลจากประเทศไทยไปสู่ตลาดโลก
ดร.ธีระวุฒิ เปิดประเด็นในเรื่องของความหมายของคำว่า “ฮาลาล”ว่า คำนี้เป็นภาษาอาหรับ มีการใช้คำนี้กันอย่างแพร่หลาย แต่หลายๆ ท่าน ยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ลาล” หมายถึงอนุมัติ ในพระคัมภีร์ก็เลยหมายความว่า “ฮาลาล” เป็นสิ่งที่พระเจ้าอนุมัติให้กระทำ ไม่ใช่แค่อาหารอย่างเดียว แต่หมายถึงให้กระทำด้วย อย่างเช่นผู้ชายชาวมุสลิมสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ กระทำ คือการใส่ผ้าไหม ใส่ทอง อันนี้ถือว่าไม่ฮาลาล
ดังนั้น เมื่อฮาลาลไปอยู่ในบริบทของอาหาร ก็จะหมายถึงอาหารที่อนุญาตให้มุสลิมทานได้ สิ่งนี้เลยกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอิสลามที่จะเลือกรับประทานอาหาร ก็ต้องเลือกรับประทานอาหารที่เรามีความมั่นใจว่าฮาลาลในกระบวนการผลิต แต่เนื่องจากประเทศมุสลิมหลายๆ พื้นที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง รับอาหารมาจากที่อื่น ประเทศไทยเอง เป็นประเทศที่ส่งออกจำนวนมาก เมื่ออาหารไปอยู่ในประเทศมุสลิม เขาก็อยากจะรับประทานอาหารแบบฮาลาลจากประเทศไทย แต่ใครจะบอกเขาได้ว่า อาหารนี้อยู่ในกระบวนการที่มันฮาลาล เพราะฉะนั้นประเทศไทยก็ต้องมีการยืนยันเพื่อคัดกรองได้ว่าอาหารเหล่านี้ฮาลาล เพื่อจะนำไปสู่ผู้บริโภคมุสลิมอีกในหลายๆ พื้นที่ ที่อยากรับประทานผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย
“จากข้อมูลที่ทราบมาประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปริมาณอาหารฮาลาล ที่เราส่งออก เทียบเคียงได้กับประเทศเพื่อนบ้านเลยถ้ามีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นมีผลกับไทยและการคัดกรองขนาดมั่นใจว่าประเทศไทยอาจจะขึ้นไปต้นๆของโลก ในเรื่องของการผลิตอาหารอาราม เพราะว่า เรามีวัตถุดิบที่ค่อนข้างดีและหาได้ง่าย” ดร.ธีระวุฒิ กล่าว
ดร.ธีระวุฒิ กล่าวว่า ขอเริ่มจากภายในประเทศไทยก่อน ผมเป็นมุสลิม เราก็ต้องซื้ออาหารซื้ออะไรต่างๆทานอยู่แล้ว แต่ก่อนเราก็จะไม่ค่อยมั่นใจว่าอาหารบางอย่างเราทานได้หรือเปล่า ตอนหลังมีผู้ประกอบการ มาขอรับรองอาหารให้ได้มาตรฐานกับระบบฮาลาล เวลารับประทานอาหารเราก็มีความมั่นใจที่จะเดินเข้าไปซื้อมากขึ้น เมื่อเทียบกับแบรนด์แบรนด์หนึ่งที่ไม่มี ผมเชื่อว่าลักษณะเดียวกันก็เกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั่วโลก ในเวลาที่หยิบผลิตภัณฑ์อาหารขึ้นมาผลิตภัณฑ์หนึ่ง ว่ามีคนรับรองฮาลาลไหม ถ้ามีคนรับรองไม่ว่าจะมาจากที่ไหนในโลกหรือถ้าเราเป็นคนไทยเราเห็นของไทย เราเห็นตราไทยเราก็เชื่อมั่น หรือถ้ามาจากมาเลเซีย มาจากเมืองจีน มาจากอเมริกา เราก็เชื่อมั่นทั้งหมดครับว่ากระบวนการผลิตมันได้มาตรฐานฮาลาล ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าเป็นมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลก เวลาที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปวางอยู่บนเชลฟ์ ผู้บริโภคมองเห็นว่ามีคนรับรองก็จะมั่นใจที่จะบริโภคไม่มีปัญหาที่ว่าประเทศไหนเป็นคนรับรอง
การให้ตราเครื่องหมายฮาลาลในประเทศไทย ผมเชื่อมั่นว่ากระบวนการ ของมาตรฐานฮาลาลหรือมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็คงจะเริ่มต้นแบบเดียวกัน คือเริ่มต้นจากวัตถุดิบ ต้องเป็นไปตามกระบวนการ เรื่องที่คนทั่วๆ ไป รู้กันดีก็คือส่วนผสมนั้นต้องไม่มี”หมู” และเพิ่มเติมคือถ้าเป็นสัตว์ 2 ขาขึ้นไป ก็ต้องถูกเชือดตามหลักศาสนา ถ้าจะเชือดสัตว์ใหญ่ก็ต้องเป็นไปตามหลักของศาสนาอิสลาม ยกตัวอย่าง เช่นโรงเชือดไก่ที่อยู่ในประเทศไทยก็ต้องจ้างมุสลิมไปทำหน้าที่เป็นผู้เชือด ในกระบวนการเชือด ต้องมีการกล่าวพระนามของพระเจ้า เพื่อทำให้กระบวนการเชือดนั้นเป็นกระบวนการฮาลาลที่ถูกต้อง หรืออะไรก็ตามที่มีส่วนผสมจากร่างกายมนุษย์ไปปนเปื้อนอยู่ในวัตถุดิบก็ไม่สามารถที่จะนำมาผลิตในกระบวนการมาตรฐานฮาลาลได้
ต่อมาเรื่องของกระบวนการผลิตเมื่อกี้ที่ได้เรียนให้ทราบไปก็คือในเรื่องของการเชือดสัตว์ การเชื่อมตัดชิ้นส่วนก็มีในเรื่องของกระบวนการล้าง เช่น การล้างต้องล้างให้ผ่านน้ำ 3 ครั้ง เป็นน้ำไหลผ่านเป็นกระบวนการฮาลาล ในเรื่องของการเก็บก็ต้องแยกกันเพราะอาหารฮาลาล ต้องแยกกับอาหารที่ไม่ฮาลาล เพื่อให้ไม่ให้ปะปนกัน การปฏิบัติงานของพนักงานในพื้นที่ต่างๆ ต้องแยกโซนให้ชัดเจ นไม่ให้ปนกัน ไม่ใช่ฝั่งนึงผลิตอาหารไม่ฮาลาล และข้ามมา ในไลน์ของอาหารฮาลาลซึ่งจะเกิดการปนเปื้อน อันนี้เป็นสิ่งที่เราดูแลตั้งแต่วัตถุดิบ ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตและต่อไปเป็นการควบคุมการขนส่ง ก็ต้องไม่ปะปนกันอันนี้เป็นสิ่งที่เราดูแลและควบคุม
หากเราต้องการใบรับรองอาหารฮาลาล การขอใบรับรองก็ไม่ได้ยุ่งยาก ผู้ประกอบการติดต่อสามารถติดต่อสำนักงานประจำจังหวัด ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่าเรามีโครงสร้างขององค์กร ของศาสนาอิสลามโดยองค์กรสูงสุดก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในแต่ละจังหวัดประมาณ 40 จังหวัดทั่วประเทศไทยก็จะมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการ ประจำจังหวัด ดังนั้นถ้าจังหวัดไหนมีสำนักงานคณะกรรมการจังหวัด เราก็สามารถติดต่อที่จังหวัดได้เลยโดยตรง เพื่อที่จะขอข้อมูลไม่ว่าจะเป็นจังหวัดไหนก็ตามเช่นสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ ผลิตอาหารเยอะเลยแต่ว่าไม่มีคณะกรรมการประจำจังหวัดก็ต้องติดต่อที่สำนักกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
“เมื่อเราติดต่อไปแล้วทางสำนักงานจะแจ้งในเรื่องของกระบวนการอันดับแรกก็คงจะบอกให้ทางสำนักงานเข้าไปช่วยดูว่า การวางระบบการผลิตมีอะไรต้องปรับปรุงส่วนที่ 2 วัตถุดิบที่จะใช้มีอะไรบ้างที่ใช้ได้อะไรที่ใช้ไม่ได้ ยกตัวอย่างเราจะใช้แป้งเราใช้แป้งที่ไหนก็ได้แต่ในกระบวนการผลิต มาตรฐานฮาลาล แป้งน้ำต้องมีตราฮาลาลมาก่อน จากโรงงานต้นทาง แต่ถ้าเป็นข้าวไม่เป็นไ รถ้าเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตรหรืออาหารทะเลถ้ายังไม่แปรรูป สามารถใช้ได้เลย แต่ถ้าเริ่มแปรรูปเมื่อไหร่ก็ต้องมีกระบวนการรับรองฮาลาลเป็นต้นทาง และทีนี้คำว่ามีใบรับรองหรือมีตราโลโก้ แตกต่างกันนะใบรับรองสามารถขอได้ที่ระดับจังหวัด เราขอให้กับกระบวนการผลิตของเราว่ามีตราฮาลาลโดยไม่ต้องขอโลโก้ก็ได้ โลโก้ หรือ ตราสินค้ามีเพื่อจะวางเชลฟ์ขาย” ดร.ธีระวุฒิ กล่าว
สำหรับการวางระบบ ในการทำความเข้าใจเรื่องของวัตถุดิบ สำนักงานก็จะให้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการ ในเรื่องของกระบวนการว่ากระบวนการเป็นอย่างไรตรงไหนบ้าง ต้องปรับเรื่องของพนักงานที่เข้ามาทำงาน มีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของอาหารหลายๆ อย่าง ก็จะรวมในเรื่องของ Food Safety เรื่องของมาตรฐานอย. เป็นพื้นฐานด้วยแล้วก็บวกฮาลาลเพิ่มขึ้นไป หลังจากที่มีการตรวจเรื่องของระบบเรียบร้อยถ้าทุกอย่างพร้อมเอกสารพร้อมแก้ไขได้ตรงตามมาตรฐานฮาลาลเรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มนัดหมายกันว่าเมื่อไหร่ที่จะเข้าไปตรวจได้ไปประเมินสภาพต่างๆหลังจากตรวจประเมินเสร็จ ถ้าเป็นการขอระดับจังหวัดจังหวัดก็จะมีการประชุมขึ้นโดยเขาจะมีการประชุมกันเดือนละครั้ง
“ทีนี้ก็จะเป็นเรื่องสำคัญว่าถ้าเราขอพลาด ก็จะต้องรอ 1 เดือนถัดไป ผู้ประกอบการต้องรับทราบไว้เมื่อผ่านกระบวนการที่ประชุมของจังหวัดรับรองแล้วเราก็ได้แล้ว แต่ถ้าจะขอตรากรรมการจังหวัดก็จะส่งเรื่องไปกรรมการกลาง เพื่อขอโลโก้นี่ก็จะเป็นกระบวนการคร่าวๆ” ดร.ธีระวุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ดี ได้มีการให้บริการข้อมูลทางออนไลน์ด้วย ในส่วนของเว็บไซต์มี 2 เว็บไซต์อันหนึ่งคือ https://www.halal.or.th และ https://www.halal.or.th โดย https://www.halal.or.th จะเป็นเรื่องของการยื่นขอรับรองฮาลาลซึ่งปัจจุบันนี้เราสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว ก็จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการแต่ก่อนผู้ประกอบการ ต้องจ้างเอาซอส มาทำเอกสารให้ปัจจุบันอาจจะไม่ต้องเรามีธุรการแล้วก็ให้ทางธุรการสื่อสารกับ ทีมงานโดยตรงกับทีมงานโดยตรง ก็จะแจ้งว่าต้องอัพโหลดเอกสารอะไรบ้างเอกสารครบหรือยังขาดอะไรบ้างทางออนไลน์ซึ่งผมเชื่อว่าจะสะดวกมากขึ้นแล้ว ส่วน https://www.halal.or.th จะเป็นในเรื่องของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ว่าผลิตภัณฑ์อันนั้นได้รับการรับรองฮาลาลหรือยัง ซึ่งอาจจะเหมาะกับผู้ประกอบการที่อยากจะหาวัตถุดิบที่เป็นฮาลาล อยากรู้ว่าวัตถุดิบตัวไหนที่เป็นฮาลาลก็จะไปซื้อกับบริษัท แล้วจะเข้ามาดูที่ตัวผลิตภัณฑ์นี้ได้
ดร.ธีระวุฒิ กล่าวว่า การส่งออกสินค้สอาฮาลอาหารของไทย มาพูดกันที่ผลิตภัณฑ์ก่อน จากข้อมูลที่เราได้รับมาจากสำนักคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หัวอาหารที่ส่งออกมีจำนวนมากจะมีอยู่ 3 กลุ่ม
กลุ่มแรก คือ อาหารแห้ง เช่นแป้งมันสำปะหลังต่างๆ ข้าวสาร คือกลุ่มหลัก
กลุ่มที่ 2 คือ อาหารสด ก็จะมีอาหารทะเล ไก่สด
กลุ่มที่ 3 คือ อาหารกระป๋อง จากข้อมูลที่ได้มาคือไทยส่งออกอาหารกระป๋องมากที่สุดในโลก
แหล่งที่เราส่งอาหารไปหลายๆที่ โดยเฉพาะคนที่ไม่ผลิตอาหารน่าจะเป็นคนที่รับการส่งออกจากเราไปเยอะ เช่น ตะวันออกกลาง เพราะวัตถุดิบของเขาอาจจะไม่ได้หลากหลายมากมายแต่ระหว่างประเทศอาเซียนด้วย กันเราก็จะมีของคล้ายๆกันอยู่แล้ว บางอย่างของประเทศไทยก็มีการส่งไปมาเลเซีย บางอย่างก็ผลิตและส่งไปที่อินโดนีเซีย ทั้งทั้งที่เป็นประเทศมุสลิมเหมือนกัน ก็รับผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทย
การส่งออกก็จะแบ่งเป็นแบบที่เป็นวัตถุดิบ และ แบบอาหารสำเร็จรูป ในส่วนของวัตถุดิบ
อาจจะต้องอยู่ ที่ว่าสินค้าเกษตรนั้นมีการกีดกันทางการค้าหรือเปล่า เพราะถ้ามีการกีดกันทางการค้าเพราะ product มีความคล้ายคลึงกันอาจจะมีการตั้งเงื่อนไขบางอย่าง แต่ในแง่ของผู้บริโภคถ้ามีเครื่องหมายฮาลาล ทั่วโลกจะมั่นใจและบริโภคเลยโดยไม่ได้ไปเช็คว่าฮาลาลมาจากจีน ไทย อเมริกา มาเลเซีย เป็นคนออก ถ้ามีฮาลาลคือเรามั่นใจและจะบริโภคได้
ทั้งนี้ มีเคสตัวอย่างอย่างบางประเทศ ที่เราส่งอาหารฮาลาลจากเมืองไทยไปพอไปถึงประเทศปลายทาง เขาบอกว่าเดี๋ยวก่อนต้องให้ประเทศเขาตรวจสอบองค์กรศาสนาในประเทศเขาก็เข้ามาตรวจสอบ ช่วงนั้นก็มีปัญหาอยู่พักนึงเราก็เลยไปคุยกันและหาทางออกของปัญหาว่าในประเทศเขาถ้าเราไประบุตอน ที่เราเช็คลิสต์ว่าเป็นอาหารฮาลาล พอเช็คลิสต์ไปปั๊บเขาก็ต้องให้องค์กรเข้ามาตรวจสอบ เราก็เลยเอาเข้าไม่ได้ แต่แค่เปลี่ยนแค่นี้ครับคือ checklist ไม่ต้องบอกว่าเป็นอาหารฮาลาลบอกว่าเป็นอาหารเฉยๆ แต่เรามีตราฮาลาลบนผลิตภัณฑ์เขาก็ให้เข้า และผู้บริโภคก็จะไปเลือกเอาเองว่าจะทานหรือไม่ทาน ในส่วนของตะวันออกกลางถ้าบางทีบางประเทศไก่ของเราที่ไป ไม่สามารถที่จะเข้าประเทศได้ทั้งๆที่ผ่านกระบวนการรับรองฮาลาลในประเทศไทย แต่อันนี้มันเป็นเรื่องของมาตรฐานของเขาเองซึ่งเขา จะมีมาตรฐานส่วนตัวมาตรฐานของตะวันออกกลางบางประเทศ บอกว่าไก่จะต้องไม่ถูกไฟช็อตก่อนเชือด แต่ประเทศไทยเราช็อตไก่ก่อนให้อ่อนแอ แล้วถึงจะทำการเชือด พอกระบวนการนี้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของประเทศปลายทางก็เลยเกิดปัญหาเรื่องของการนำไก่เข้าในประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ
ในส่วนของผักและผลไม้ ส่วนที่เป็นผลไม้สดส่งไปเลยไม่ต้องมีการขอผู้บริโภคสามารถที่จะรับประทานอาหารจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เลย แต่เมื่อไหร่ก็ตาม เราแปลรูปเป็นทุเรียนทอดหรือเป็นผลไม้อบแห้ง เรียกว่าพอมีกระบวนการ ก็จะต้องมีการรับรองฮาลาลก่อน ผู้บริโภคถึงจะมั่นใจเพราะในกระบวนการบางทีมีการตากแห้งมีการล้างผลไม้ซึ่งเราไม่รู้กระบวนการมีสารเคมีที่ใช้มีสารตัวไหนเข้ามาขออนุญาต ยกตัวอย่างอย่างเช่นในเรื่องของแป้ง ตอนนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการตรวจสอบแป้งซึ่งแป้งเราก็ดูว่ามาจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไม่น่าจะมีอะไร แต่กลายเป็นว่าถ้าตรวจสอบแล้ว ตรวจพบว่ามียีนของมนุษย์ปะปนอยู่ ก็เลยแปลกใจว่ามาอย่างไรต้องสืบไปยังประเทศต้นทาง จนในที่สุดก็ไปทราบว่า มีการนำเส้นผมของมนุษย์มาเป็นอาหารให้กับยีสต์ และเมื่อยีสต์เปลี่ยน มาเป็นแป้ง ก็เลยมียีนมนุษย์ติดมา อยู่ในแป้งเราก็เลยพบซึ่งอาหารฮาลาลมันไม่สามารถที่จะมีส่วนผสมของมนุษย์อยู่ในนั้นได้ ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแต่มันมีอะไร จริงๆแล้วมันมีความซับซ้อน ในตัวของมันเอง
สินค้าอาหารฮาลาลจากประเทศไทย ยังสามารถที่จะส่งออกได้อีกมาก หากสามารถสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ดีต้องรักษาชื่อเสียงและจะต้องไม่มีการปลอมตราเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งหากจะตรวจเช็คว่าเครื่องหมานบนผลิตภัณฑ์จริงหรือปลอม สามารถที่จะเข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://www.halal.or.th สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้เพราะฉะนั้นถ้าผู้บริโภคท่านใดไม่มั่นใจ สามารถเข้าไปที่เว็บนี้ แล้วคีย์ข้อมูล ผมไม่แน่ใจว่า สามารถที่จะสแกนบาร์โค้ดได้ไหม อาจจะสแกนบาร์โค้ดแล้วมันจะขึ้นบอกเลยว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้รับการรับรองจริงหรือเปล่า ส่วนต่อมาคือหน่วยที่ คล้ายๆ กับ เป็นตำรวจคอยตรวจสอบเรื่องการใช้ตราปลอม คณะกรรมการตั้งหน่วยงานขึ้นมาหน่วยงานหนึ่ง ในการที่จะไปติดตามดูว่ามีใคร แอบอ้างใช้ตรานี้หรือปลาหมดอายุแล้วยังใช้อยู่ไม่ไปขอต่ออายุ ทางตรงนี้ก็จะทำหน้าที่ประสานงานไป ยังผู้ประกอบการให้ทราบ บางครั้งถ้าหนักมากก็จะมีการปรับ อะไรกันด้วย
ดร.ธีระวุฒิ กล่าวว่า การจะขยายตลาดอาหารฮาลาลด้วยการออกไปตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศเลยดีหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ เพราะข้อมูลมีไม่เพียงพอ แต่เราเจอว่าประเทศไทย เป็นแหล่งวัตถุดิบที่ค่อนข้างจะดีที่สุด ส่วนใหญ่เราจะเห็นว่าโรงงานอยู่ที่เมืองไทย ด้วยเรื่องของแรงงาน ก็จะหาแรงงานได้ในราคาที่ประหยัด แต่ถ้าเกิดว่าเราทำและไปขอ การขอตราฮาลาล ส่วนใหญ่จะเป็นการทำในประเทศนั้นๆ ถ้าเราตั้งโรงงานผลิตในมาเลเซียก็ต้องไปขอในมาเลเซีย ถ้าผลิตในอินโดนีเซียก็ต้องไปขอที่อินโดนีเซีย ในกระบวนการขอผมไม่แน่ใจความยากง่าย
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการโปรโมทสินค้าฮาลาลอาจจะไม่ใช่ ภารกิจหลักของสำนักงานกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ที่ผ่านมาผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลของจุฬาฯ ดรวินัยท่านจะเป็นคน พี่จัด Expo เพื่อที่จะเชิญชวนผู้ประกอบการ จากทั่วโลกมาดูสินค้า 5 ล้านของไทยว่ามีอะไรบ้าง เป็นประจำทุกปีเพิ่งจะมี 2-3 ปีนี้พอมีโควิดระบาด กิจกรรมนี้ก็หายไป แต่ที่ผ่านมาเท่าที่ดูค่อนข้างจะประสบความสำเร็จ ในหลายๆ ครั้งที่จัดเพราะมีคนมาร่วมงานมากมายแต่เรื่องของผลที่ได้จากผู้ประกอบการว่าได้รับผลอย่างไรผมอาจจะไม่ได้ติดตาม แต่ดูจากภาพคนมาร่วมงานถือว่าเยอะแยะมากมาย
-
Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’
วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...
29.11.2021