Exporter World Talk

วันที่ 11 พฤษภาคม 2564
Exporter World Talk EP: 18 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า (EXAC) เชิญ คุณเนาวรัตน์ แตงไทย นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาพูดคุยในเรื่องของ บทบาทของ อย. ในการรับรองมาตรฐานสินค้า แล้วก็ความสำคัญของตราเครื่องหมายอย.ต่อสินค้าประเภท อาหารและเครื่องดื่
คุณนวรัตน์ กล่าวถึงบทบาทของ อย.ว่า คณะกรรมการสำนักงานอาหารและยา ที่เรียกกันติดปากว่า “อย.” เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการคุ้มครองผู้บริโภค ประชาชน กับผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งหลาย ไม่ได้มีเฉพาะอาหารและยาเท่านั้น แต่ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอย. เช่นเครื่องสำอาง วัตถุอันตรายเช่นยากันยุง ยาฉีดยุง และในส่วนของเครื่องมือแพทย์ ตอนนี้ที่ดังๆ ก็คือหน้ากากอนามัย พวกยาเสพติดทั้งหลายที่เวลาจะใช้ ก็ต้องมาขอนำเข้าจากอย. ในส่วนของการจำหน่าย อย.จำหน่ายได้แต่เพียงผู้เดียว รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหาร
วิธีทำงานก็คืออย. เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้หลังจากประเมินความปลอดภัยแล้ว หลังจากนั้นเราก็ให้เครื่องหมายอย. เมื่อสินค้าออกสู่ท้องตลาดแล้วก็ยังมีการตรวจติดตาม ผลิตภัณฑ์นั้นว่ายังรักษาคุณภาพมาตรฐานได้คุณภาพจนถึงวันหมดอายุหรือเปล่า ส่วนของการได้อย.ก็จะมีหลายขั้นตอนด้วยกัน หมายเลขอย.ก็คือเลขจากระบบอาหาร 13 หลักตามที่ฉลากปรากฏ
ทั้งนี้ สินค้าที่ผลิตขายในประเทศ หรือ สินค้าที่ส่งออกจะต้องมีเครื่องหมายอย.ทั้งหมดหรือไม่ ในตัวกฏหมายเองเป็นการคัดกรองว่าส่งออกไปต่างประเทศ ฉลากต่างๆ ต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เราส่งออกนั้นๆ ซึ่งกฎหมายฉลาก การแสดงว่าด้วยการส่งออกขอให้พูดแค่ว่าผลิตในประเทศไทย Made in Thailand หรือ product of Thailand เราขอแค่นั้นเองและเลขอย.ในกฎหมายเราจะวงเล็บถ้ามี ก็ใส่อาหารบางตัวไม่มีก็ไม่ต้องใส่ ดังนั้นในส่วนของการแสดงฉลาก สิ่งที่บังคับจริงๆคือคำว่า Product of Thailand หรือ Made in Thailand
คุณนวรัตน์ กล่าวว่า ถ้าพูดถึงมาตรฐานอาหารมีหลายประเภท ฉลากอย.มีอยู่ประมาณ 500 ฉบับ ซึ่งจะมีอยู่ 2 ฉบับที่เราสนับสนุนเกี่ยวกับการส่งออกเนื่องจากเรามีการส่งออกเยอะ เกรงว่าจะเป็นอุปสรรคของการส่งออกสินค้า เราก็เลยบอกว่าถ้าอย่างนั้นในตัวของเลข อย. ในตัวผลิตภัณฑ์ที่เราเรียกว่าเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ตัวนี้ในขั้นตอนการขอ อย. เรายกเว้นไว้ว่าถ้ากรณีส่งออก ไม่ต้องมาขออนุญาต สามารถส่งออกไปได้เลย เพราะฉะนั้นเราจะไม่มีเลขอย.ติดไว้ให้ ไม่มีอย.แต่จะมีคำว่า Product of Thailand และภาษาก็จะเป็นภาษาของประเทศนั้นๆไป ในขั้นตอนการส่งออกไม่ต้องขอ อย. เลย
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่จะขอจดทะเบียนกับ อย. มีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการขออนุญาตสถานที่ผลิต และ การนำผลิตภัณฑ์มาขึ้นทะเบียน
สำหรับขั้นตอนแรก การขออนุญาตสถานที่ผลิต คือการที่เราจะผลิตอาหารสักอย่างหนึ่ง อย่างแรกที่เรามองเป็นเรื่องสำคัญก็คือ ผู้ประกอบการต้องมีสถานที่การผลิต ซึ่ง ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมของสถานที่ก่อน ลำดับแรกคือตัวอาคารเป็นยังไงลักษณะโครงสร้างของอาคารเป็นอย่างไร เครื่องมือเครื่องจักร มีความพร้อมที่จะผลิตไหมเครื่องมือเหมาะสมที่จะผลิตอาหารนั้นๆ ไหม ต่อมาคือขบวนการผลิตขบวนการผลิตต้องเหมาะสม ในส่วนของการฆ่าเชื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีขบวนการผลิตที่จะเหมาะสมว่าจะรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้หรือเปล่า
“การสุขาภิบาลทั้งหลายเกี่ยวกับสุขภาพ สถานที่ผลิต เรื่องแมลงเรื่องอะไรต่างๆ เหมาะสมหรือเปล่า มีอะไรป้องกันไหม และในส่วนของการรักษาความสะอาดสถานที่ เครื่องมือเครื่องจักร มีการรักษาสม่ำเสมอไหม บุคลากรที่จะเข้ามาที่โรงงานการผลิตเหมาะสมหรือเปล่า มีโรคประจำตัวตามกฎห้ามหรือเปล่า มีการตรวจสุขภาพหรือเปล่าจะต้องมีการตรวจตามข้อกำหนดให้ครบก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อผู้ประกอบการเตรียมตัวจนครบถ้วนแล้วจึงจะมายื่น ขออนุญาตสถานที่ผลิตได้ หลังจากนั้นเมื่อยื่นถึงเจ้าหน้าที่ มีการตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆ ถ้าผ่านเราก็จะอนุญาตให้ดำเนินการผลิตได้ ” คุณนวรัตน์ กล่าว
ในส่วนขั้นตอนที่ 2 ก็คือเมื่อได้รับใบอนุญาตสถานที่แล้วก็จะเป็นการนำ Products มาขึ้นทะเบียน ขึ้นอยู่กับประเภทอาหารนั้นๆ ซึ่งขั้นตอนแรกที่บอกไปแล้วมันก็จะเป็นมาตรฐานการผลิต อย. จะให้เลขไปทั้งหมด 8 ตัว ถ้าใครเคยเห็นเลขอย. 8 หลักแรก จะเป็นเลขประจำสถานที่ผลิต ส่วนขั้นตอนที่ 2 จะไม่ได้ใช้เวลามาก เป็นการพิจารณาออนไลน์เข้ามา ยกเว้นอาหารบางชนิดที่ต้องใช้เวลาพิจารณา
คุณนวรัตน์ แนะนำว่า เวลามายื่นคำขอ อย. เราจะมีสิ่งที่เรียกว่าคู่มือประชาชนวางไว้ให้หน้าเว็บไซต์แล้วจะบอกว่าในส่วนของการประเมินทั้งหมดใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ แล้วก็การตรวจประเมินการตรวจประเมินสถานที่จะทำได้ 2 การตรวจประเมินเราเรียกว่าเราจะให้หน่วยงานรับรองยื่นกับ อย. ได้ หรือจะมายื่นคำขอกับ อย. แล้วให้ อย. เป็นผู้ตรวจประเมินเองก็ได้ อันนี้ทั้งกระบวนการใช้เวลาประมาณ 25 วัน อันนี้เป็น process ที่ไม่มีการแก้ไข แต่ถ้ามีการแก้ไข ระยะเวลาก็จะมากกว่านั้น อย่างเช่น ขบวนการผลิตผิด หรือเอกสารไม่ครบ อันนั้นก็จะมีการแก้ไขก่อน
สำหรับค่าใช้จ่ายในการขอ อย. เอาเรื่องตรวจสถานที่ก่อน สถานที่ผลิตเวลายื่นคำขอเราเรียกว่าค่าธรรมเนียมคำขอ จะเสียอยู่ 2,000 บาท ตรวจประเมินแล้วก็ค่าตรวจประเมินเราจะคิดเป็นเรทแรงม้า แรงม้าจะอยู่ที่ประมาณ 5-20 แรง ค่าตรวจประเมินอยู่ที่ 5,000 บาท ถ้า 20 แรงแต่ไม่เกิน 50 แรงจะอยู่ที่ 10,000 บาท ถ้า 50 แรงขึ้นไปถึง 100 แรงจะอยู่ที่ 15,000 บาท
“หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า อัตราค่าธรรมเนียมตามแรงม้าเป็นอย่างไร ก็คือคำว่าแรงม้านี่เราคำนวณตามมอเตอร์ปั๊มน้ำ ในนั้นมันจะมีตารางสี่เหลี่ยมที่เขียนว่ากิโลวัตต์ เป็น kw สมมุติเขาบอกว่าอยู่ที่ 2 kw เราจะคำนวณจากคำว่า 2 กิโลวัตต์ ออกมาเป็นแรงม้า โดยเอา จุด 746 ไป หาร 2 กิโลวัตต์ ก็จะได้เป็นแรงม้าขึ้นมา แต่ถ้านึกไม่ออกให้ไปดูไดร์เป่าผมที่บ้าน เครื่องปั่นอยู่ที่ 2,000 วัตต์ ก็เอาจุด 746 ไปหารในสูตรการคำนวณแรงม้า ก็จะได้เป็นแรงม้ามา อันนี้คิดคร่าวๆ อย. ก็จะเอามาคำนวณในลักษณะนี้แล้วก็เก็บเงินผู้ประกอบการเป็นค่าตรวจประเมิน และหลังจากค่าตรวจประเมินเสร็จแล้วใบอนุญาตก็จะออกมา ค่าธรรมเนียมก็จะมีตามแรงกำลังม้า (horsepower : HP) อีกเหมือนกัน” คุณนวรัตน์ กล่าว
คุณนวรัตน์ ระบุว่า ในการมายื่นผลิตภัณฑ์ก็จะมีค่าคำขอเหมือนเดิมแต่จะถูกหน่อยขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์ ถ้าเป็นตัวที่เรียกว่าใบจดแจ้ง หรือใบจดทะเบียนก็จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1,000 บาท ค่าคำขอจะอยู่ที่ประมาณ 2 -300 ค่าธรรมเนียมประมาณ 1000 บาท อันนี้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ในส่วนของการหมดอายุ ให้ดูใบแรกเป็นหลักใบที่เสียเงินเยอะๆ เป็นหลัก ใบนั้นจะมีอายุ 3 ปี หมายถึงว่าสิ้นเดือนธันวาคมในปีนั้น ไม่ใช่ชนรอบ การตรวจอย.จะสิ้นอายุวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่สาม ดังนั้นถ้าจะต่ออายุต้องต่อก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ถ้ามาต่ออายุภายหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุไปแล้ว การต่อใบอนุญาตฉบับนั้นจะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นรักษาใบแรกไว้อย่าให้มันหมดอายุเด็ดขาด ไปเราให้ความสำคัญกับใบแรก
“ถ้าผู้ประกอบการมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ที่ อย. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 5907 187 และติดต่อได้ในโซเชียลมีเดีย ทั้ง Line ,Facebook สามารถส่งคำถามหรือข้อสงสัยเข้ามาในช่องทางตามนี้ได้หมดเลย” คุณนวรัตน์ กล่าว
สำหรับคำแนะนำของคุณนวรัตน์ ที่ให้กับผู้ประกอบการ คือ การขอรับมาตรฐานให้ศึกษาก่อนว่าเราจะส่งออกไปประเทศไหน ศึกษาข้อกฎหมายของประเทศเขา ให้เรียบร้อย และศึกษาในประเทศไทย ให้เรียบร้อย เพื่อเราจะได้รู้ว่าถ้าไปแล้วจะไม่เกิดปัญหาในการนำเข้า เช่น ไปสปป.ลาว ในข้อกฎหมายไม่ยุ่งยากอะไรมากมายใบ อย.ที่เป็นเลขสารบบอาหารก็สามารถใช้แทนได้ เพราะเขาให้ความเชื่อมั่นกับเลข อย.ของเราจดทะเบียน อย. ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรืออะไร เขาเอาไปสแกนที่ศุลกากรแล้วเขาก็รับ แต่ว่าฉลากขอให้เป็นฉลากภาษาลาว เพื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลาว
“การค้ากับประเทศเพื่อนบ้านไม่ยาก เพราะเราทำกฎหมายด้วยกันความเชื่อมั่นในประเทศของ CIMV เขาจะเชื่อมั่นในอย.ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องไปขอเอกสารอื่นเพิ่มในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางตัวที่ประเทศของเราตีเป็นอาหารแต่บางประเทศตีเป็นยา เพราะฉะนั้นใบรับรองสามารถใช้เป็นตัวแทนในการส่งออกคือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะฉะนั้นอาหารพวกนี้ ต้องขึ้นข้อกำหนดอีกอันนึงเขาถึงจะรับตรวจ GMP การเตรียมตัวต้องศึกษารายละเอียดว่าแต่ละประเทศกฎหมายเขาเป็นอย่างไรมีอะไรบ้างที่ห้ามนำเข้ามีสินค้าอะไรบ้างที่มีส่วนประกอบที่เข้าไม่ได้ถ้าศึกษาและก็จะได้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปไม่ถูกตีกลับ แน่ๆเพราะการตีกลับมาประเทศไทยค่อนข้างยากที่จะให้นำเข้า” คุณนวรัตน์ ระบุ
อย่างไรก็ดี ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทางสำนักงานอาหารและยา ยังเปิดให้บริการตามปกติ แล้วเราก็พัฒนาในส่วนของการยื่นให้เป็นออนไลน์เกือบทั้งหมด ซึ่งตอนนี้อยู่ในส่วนของการพัฒนาที่บอกว่า เราต้องเชื่อมโยงระบบอะไรต่างๆ เพราะว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศมีส่งออกค่อนข้างเยอะ ในการยื่นคำขออะไรต่างๆเราต้องพัฒนาให้มันเร็ว เหตุผลคือ ถ้าเราทำช้าแล้วเขาต้องเอาผลิตภัณฑ์ในประเทศไปส่งออก แล้วอย.ยังทำงานช้าเราจะไม่ทันการจะเกิดความเสียหายได้
-
Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’
วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...
29.11.2021