Exporter World Talk

Exporter World Talk EP:10 ‘ ปฏิวัติ SMEs ด้วยดิจิทัล ’

วันที่ 5 มีนาคม 2564

Exporter World Talk EP:5 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า  เชิญ คุณมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มาสนทนาในเรื่อง ‘ ปฏิวัติ SMEs ด้วยดิจิทัล เป็นการวาดภาพในอนาคตของธุรกิจ SMEs ไทย ที่จะต้องยกระดับการจัดการด้วยการใช้เทคโนโลยี และการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยจากภาครัฐ ที่จะใช้นโยบายคนละครึ่งมาช่วย

คุณมงคล ได้กล่าวถึงผลกระทบของธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ยุคของโควิดเป็นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดที่ประเทศไทยเคยเจอมา เป็นยุคที่ยากลำบากที่สุด เพราะอยู่ๆลูกค้าก็หายไป รายได้หดหายไปทันที แต่ที่สำคัญที่สุดคือภาระหนี้ยังคงเท่าเดิม เรื่องที่ทุกคนต้องแสวงหาคือภายใต้วิกฤตนี้ จะอยู่รอดยังไง แล้วก็คำถามที่สองคือจะอยู่ให้เป็นยังไง  แล้วคำถามสุดท้ายจะอยู่ให้ยาวได้อย่างไร 

“จากการสำรวจของสสว.ล่าสุดเมื่ออาทิตย์ที่แล้วออกมาว่า ภายใต้วิกฤตนี้ถ้าหากว่าไม่มีตัวแปรอะไรเลย ธุรกิจจะทนได้เพียงแค่ค่าเฉลี่ยคือ 5 เดือน เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมองไม่เห็นความชัดเจนในระยะข้างหน้า ยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดมันจะมาถึงเมื่อไหร่ สภาวะที่เคยปกติมันจะกลับมาเหมือนเดิมอย่างไร  ความหมายของที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทางการสะท้อนมาก็คือการที่จีดีพีติดลบ 6 % ปีที่แล้ว หมายความว่า เศรษฐกิจเราถูกย้อนหลังไป 2 ปี  เพราะ 2 ปีที่ผ่านมานี้ เราเจริญเติบโตปีละ 3%  แต่ปี 2563 ติดลบทีเดียว 6 % เลย ตอนนี้ตกบันไดลิง  ทำให้เห็นว่าการเดินทาง 2 ปีกว่านี้ ถือว่าสูญเปล่า เรื่องนี้ไม่ธรรมดาก็คือ รายได้บางภาคเนี่ยจะหดหายไปถึง 90% เหลืออยู่เพียง 10% แล้วคนทั่วไปก็จะเจอรายได้เท่าเดิมกับรายได้ที่หายไปถัวเฉลี่ย 80%” คุณมงคล กล่าว

ทั้งนี้ บางธุรกิจที่รายได้หายไป 90%  ต้องอยู่ให้รอดอยู่ให้เป็น อยู่ให้ยาว ได้ยังไง ที่ผ่านมา รายได้หายไป 10 % ก็ยากแล้ว นี่เหลือแค่ 10% โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับต่างประเทศ  นี่เป็นความยาก ในการจัดการมากๆ แต่ผมเรียนอย่างนี้ ให้กำลังใจทุกท่านนะครับ ประเทศไทยเรามีรากฐานที่สำคัญคือภาคการเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัจจัย 4   ทุก 5 ชั่วโมง คนต้องเอาของใส่ปาก เครื่องดื่มและอาหาร  เราจะอยู่ไม่ได้ถ้าหากไม่รู้จักทำสินค้าเกษตรพื้นฐานให้เป็นสินค้าเกษตรแปรรูป ยกระดับขึ้นมา สมัยก่อนสินค้าเกษตรหลายชนิดเราขายออกไปโดยเรียกว่าโภคภัณฑ์สินค้าเชิงเดี่ยว ไม่ได้แปรรูปเป็นจำนวนเยอะๆ  เอาลงเรือขายเป็นกองๆ ซึ่งอันนี้ก็เห็นได้ชัด คือ ข้าว ยางพารา สินค้าทุกชนิดที่เรามีอยู่เป็นวัตถุดิบ เป็นต้นน้ำ เราลงขายไปในราคาโภคภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ถูกแปรรูป

“ผมเพิ่งไปจังหวัดน่านมา น่านนี่ห่างจากกรุงเทพฯ 668 กิโลเมตร วันนี้เขาเอาสินค้าชนิดหนึ่งไปขายที่มาเลเซีย  คือขิง  ทางโน้นเขาเรียกว่าแม่ขิง  ก็คือขิงแก่ ขิงสด อีกอย่างก็คือพริกชี้ฟ้าแดง แล้วก็ส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ที่มาเลเซีย ขายเป็นคอนเทนเนอร์เลยนะครับ คำถามก็คือว่า มาเลเซียไม่มีสินค้าเกษตรเลยนะครับ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ผลิตสินค้าฮาลาลขาย แล้าทำไมเรามีวัตถุดิบเยอะและคุณภาพดีมาก ทำไมเราไม่ผลิตเอง ครับ อันนี้น่าคิด ผมคิดว่าถ้าใครที่ฟังรายการนี้อยู่เนี่ยลองปุจฉาวิสัชนาดูไปดูในจังหวัดน่านนะครับ จังหวัดน่านเนี่ยเล็กๆเองแล้ว เป็นจังหวัด ที่น่ารักมาก อากาศดีครับ แล้วก็  85% เนี่ยเป็นภูเขา มี 15% เป็นที่ราบ มีพื้นที่เกษตรประมาณ 12 %  สมัยหนึ่งเนี่ยเราเจอฝุ่นละอองที่ 2.5 ก็มาจากการปลูกข้าวโพดที่มีการเผาตอซัง แต่วันนี้คนจังหวัดน่านตื่นตัวมาก ทั่วประเทศตื่นตัวมากก็เลยไปปลูกกาแฟแทน คือลดการรุกล้ำพื้นที่ป่าออกไป แล้วการทำเกษตรในรูปแบบที่สร้างสรรค์คือไม่มีการเผาทำลาย เพราะฉะนั้นฝุ่นควันจะหายไป แล้วผลผลิตดีมากๆ เลยนะครับคือพริกใหญ่ที่ว่ายาวประมาณสัก 7 นิ้ว ซึ่งจะมีเฉพาะที่เขาเรียกว่าสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ราวๆ พันกว่าเมตร  แล้วขิงแต่ละข้อที่ใหญ่กว่าข้อมือแต่ละข้อใหญ่กว่าข้อมือ นี่คือตัวอย่าง ” ประธานกรรมการบริหาร สสว. กล่าว     

ที่นี้มาถึงโครงการคนละครึ่งของ SMEs เราคุยกันว่าคนไทยเริ่มคุ้นเคยกับโครงการคนละครึ่ง  ใครๆก็เป็นสมาชิกคนละครึ่ง สามารถซื้อของได้ในราคาครึ่งนึงรัฐบาลสนับสนุนครึ่งนึง กระตุ้นการบริโภคในประเทศของเราแล้ว ทางด้านผู้ประกอบการ SMEs ควรจะมี รูปแบบการส่งเสริมแบบนี้บ้างหรือเปล่า การส่งเสริมก็ต้องมีอยู่ที่ว่า SMEs เป็นผู้ประกอบการที่คนเข้าไปมะรุมมะตุ้มเยอะ ในระดับประเทศมีราวๆ 28 หน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือเราจะทำให้มันเกิดเครือข่ายที่เรียกว่า Business Development ง่ายๆก็คือจะทำให้เกิดแรงจูงใจอย่างไรระหว่างหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายกับตัวเองให้ตรงตามความต้องการ เราพบว่าความต้องการจริงๆของ SMEs มีอยู่ 3 เรื่อง

เรื่องแรก จะขอให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน จะทํายังไงให้

เรื่องที่ 2 จะทำอย่างไรให้ขายของได้   

เรื่องที่ 3 จะทำอย่างไรให้ของที่ผลิตมีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีระยะเวลาการจัดเก็บการขนส่งที่ดีพอ 

มาตรฐานมีคุณภาพก็คือ 3 อย่างนี้ แต่ความจำเป็นของผู้ประกอบการจะไม่เหมือนกัน  ความต้องการก็ไม่เหมือนกัน ความแข็งแรงก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลจะจัดการสนับสนุนแต่ละรายก็ไม่ควรจะเหมือนกัน ในแต่ละช่วงเวลาบางท่านอาจจะต้องสนับสนุน 80% บางรายสนับสนุนครึ่งหนึ่ง บางอันสนับสนุน 30% สิ่งเหล่านี้ก็จะพยายามอย่างยิ่งให้ผู้ประกอบการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก และรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรขาดอะไร ก็เลยใช้ระบบคนละครึ่ง แต่จริงๆบางเรื่องรัฐบาลอาจจะออกมากกว่าครึ่ง บางเรื่องอาจจะน้อยลงกว่าครึ่งก็ได้  ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเอางบการเงินมาดูว่าตัวเองต้องการอะไรใน 3 เรื่องนี้ เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็คือการทำบัญชีให้เป็นมาตรฐาน มีบัญชีเดียว  ถ้าเป็นเรื่องที่ 2 คือทำอย่างไรให้ขายของดีขึ้น ต้องใช้เศรษฐกิจดิจิทัล ก็คือต้องใช้ช่องทางออนไลน์ ส่วนรื่องที่ 3 คือมาตรฐานอุตสาหกรรมดีพอ และในเรื่องของโลจิสติกส์ต่างๆ  ก็ต้องการความช่วยเหลือคนละแบบ และใช้งบประมาณต่างกัน

“เรื่องนี้ได้มีการนำเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ของ สสว. ที่มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก่อนหน้านี้ ก็มีการสรุปแต่ตอนนี้จะร่างเป็นกฎระเบียบเลย กำลังเสนอตอนนี้ได้รับอนุมัติหน่วยงานมาแล้วกำลังเสนอกฎหมายทางด้านของคณะกรรมการส่งเสริมชุดใหญ่ ถ้าหากว่าท่านเห็นด้วยประการใดก็จะสามารถดำเนินการแล้วก็จะใช้งบประมาณบางส่วนเริ่มต้นจากของ สสว. ก่อน  แล้วถ้าท่าน ห็นว่าเป็นประโยชน์ก็จะได้รับงบประมาณ  สมทบตามมา  แล้วจะเกิดแรงผลักดันที่จะทำให้ SMEs ต่างๆ ปรับเปลี่ยนเพื่อยกระดับให้อยู่ให้เป็นอยู่ให้ยาว  เรียนว่าทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การใช้ 4.0 คือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการลดต้นทุน automation  ผลวิจัยต่างๆ ของการเอามาใช้  อย่างที่เราเรียกว่า  ได้ผลดีในเชิงการค้าด้วย  และผลอันนี้มันจะเป็นผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจพื้นฐานเพราะว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมันจะลงไปที่ชาวบ้านและพอมาตรฐานที่เรียกว่าอินทรีย์ มันจะทำให้ยั่งยืนขึ้นในอนาคต” คุณมงคลกล่าว

นอกจากนี้ คุณมงคลเชื่อว่า ขณะนี้บริษัทใหญ่ๆ ในโลกทั้งหมด ก็แบ่งเงินมาบางส่วนมาทำวิจัย เขาเรียก Smart Farm คือพยายามที่จะลดการใช้สารเคมีต่างๆ ลง พยายามเป็น Organic เป็นเกษตรอินทรีย์นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอินทรีย์และพัฒนาต่อไปเป็น ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ลดสารปนเปื้อนต่างๆ ปลอดภัย เพราะฉะนั้นเป็น จุดสำคัญมาก ที่สถานการณ์มันไม่ดีแต่เป็นจังหวะที่เราจะปรับตัว ฉะนั้นรัฐบาลเข้ามา support ในการปรับตัวตรงนี้ผมว่ามันสำคัญมาก คือถ้าเราปรับตัวเองแล้วไม่มีใคร support เลยเนี่ยบางที ควักกระเป๋ามาทำเองในขณะที่รายได้หายไปมันยาก เพราะฉะนั้น เรามีคนมา support พอถึงเวลาขึ้นมันจะขึ้นไปเป็นภาพใหญ่

อย่างที่บอกว่าเรามองภาพในระยะยาว ขณะนี้กำลังจะคิดชื่อให้เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่ายก็  ถ้าภาษาของสวว. ก็คือการสนับสนุน ตามกองทุน แบบมีส่วนร่วมรัฐบาลเข้ามา support การยกระดับคุณภาพ SMEs การพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่อนาคตโดยเฉพาะผู้ประกอบการต้องมีส่วนร่วมด้วย

สำหรับการปฏิวัติ SMEs ด้วยดิจิทัลนั้น ผมอธิบายเรื่องนี้เป็นหลายมุมมองและอธิบายเสร็จ คนก็จะเข้าใจมากขึ้น ผมยกตัวอย่างที่ผมไปจังหวัดน่านมา  ผมไปเยี่ยมร้านนึงประมาณ 4 คูหา เขาขายผ้าพื้นเมืองของเอ่ยชื่อหน่อยชื่อน่านบุรี ผมไปถึงตอนนั้นอยู่ระหว่าง 14:00 น  เขากำลัง Live Facebook อยู่  มีเจ้าหน้าที่ของร้านแต่งตัวงามแต้ๆ มีคนดูอยู่ประมาณ 50 กว่าราย ตอนผมยืนอยู่ขายได้ 3 ผืนแล้ว และผมอยู่ในร้านประมาณครึ่งชั่วโมง ตอนเดินออกขายได้ 5 ผืน ผืนนึงประมาณ 1,200 กว่าบาท และคนขายงามแต้ๆใส่เสื้อสีเหลือง ถ้าเป็นลายดอกลายและเอาผ้าพื้นเมืองลายดอกอะไรต่างๆเอามาทาบและบอกรหัสคืนนี้รหัสอะไรราคาเท่าไหร่ ผมถามว่าทำมานานหรือยังเจ้าของร้านบอกว่าทำมา 5 ปี ขายภาพ ไลฟ์ขายมา 5 ปีผมถามว่าเดือนนึงขายประมาณสักเท่าไหร่ เขาบอกว่าได้ประมาณสัก 5 ล้านบาทและวันนึงขาย 2 รอบ ช่วงนี้ก็เลยเห็นได้ชัดว่ามีปัญหาเรื่องการเดินทาง เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยวไม่เป็นอุปสรรคสำหรับเขาเลย และบอกผมอีกว่าต่อไปต้อง ขยับขยายเรื่องสถานที่

เรื่องที่ 2 ที่เห็นชัดคือเรื่องของการค้าขายออนไลน์ ผมอยู่ในวงการธนาคารวันนี้ เราเจอข้อมูลอันหนึ่งที่เรียกว่าเรื่องใช้เงินโอนจากบัญชี ไตรมาสนึงประมาณ 14 % นั่นหมายถึงว่าใครคำนวณคณิตศาสตร์ดีๆ แค่ 6 ไตรมาสเท่านั้น มันจะโตขึ้นมา 1 เท่าตัว วันนี้วันหนึ่ง มีรายการประเภทนี้ 13 ล้านรายการ ทุกวันครับ  เฉพาะบางธนาคาร อันนี้คือข้อมูลของเดือนมกราคม แล้วก็อีกอันยืนยันได้เลยว่าวันนี้มีอีกบริษัทที่เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ไป ที่ส่งของคุณจะเห็นรถเต็มถนนไปหมดเลยวันนึง 4 ล้านชิ้น ไม่รวมไปรษณีย์ไทย ผมเชื่อนะครับว่าสถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นตัวบีบบังคับให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ทั้งเรื่องของการที่ผู้ประกอบการเองกลับตัวที่จะขายของออนไลน์  สมัยก่อนเวลาที่เราจะหาซื้ออะไรมันไม่เหมือนเดี๋ยวนี้เดี๋ยวนี้คือเราไป Search Googleหาเลยว่าเราต้องการจะซื้ออะไรวันนี้ไม่ใช่แล้วเราเข้าไปในแพลตฟอร์มของการขายของเลยและอีกอันหนึ่งก็คือไปในลักษณะลักษณะของแบรนด์สมมุติว่าผมอยากไปภูเก็ต ผมเข้าภูเก็ตเลยเพื่อดูว่าภูเก็ตมีอะไรดีทีนี้มันก็เลยทำให้ช่องว่างระหว่างช่องทางการตลาดมันเล็กลง สมัยก่อนเราต้องไปที่ Google ก่อนเพื่อไปดูว่า 5 อันดับแรกมันคืออะไร ค่อยจะไป

“เดี๋ยวนี้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนเร็วมาก เพราะฉะนั้นเราในฐานะผู้ประกอบการดิจิทัลคือช่องทางที่ไม่ทำให้ใครเสียเปรียบ ถึงแม้อาจจะเริ่มช้า แต่ถ้ายืนได้แล้วจะเป็นสิ่งที่ทำมาหากินได้ และเราปรับตัวให้ได้ วันนี้มันชัดว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ส่งของ และชำระเงิน มันตามมาแน่นอน สมัยก่อน 2 อันนี้ไม่ค่อยมี และวันนี้แบงก์ชาติเองก็กำหนดชัดว่า การกู้เงินต่อไปใช้ดิจิตอลเรตติ้งได้  วันนี้ผมพูดในรายการท่านผอไว้ก่อนเลย สมัยก่อนใครไม่ทำบัญชีไปกู้เงินแบงก์ไม่ได้   วันนี้พูดไว้เลยว่าถ้าใครไม่ไปขายของแบบดิจิทัล ออนไลน์ ก็จะกู้เงินไม่ได้อีกหลายปีข้างหน้า  อาจจะไม่เห็นทางเลยไม่รู้จักว่าจริงๆ แล้วเพราะว่าผู้ให้กู้อาจจะไม่เห็นว่า จริงๆแล้วคุณขายของหรือเปล่า  ที่เขาบอกว่าสถานการณ์ภาพรวมเปลี่ยนแปลงไป  ถ้าเราไม่ขยับตัวตาม เราจะถอยหลังอัตโนมัติ หรือตกยุคไปเลยก็ได้ กลายเป็นว่าเราจะไม่สามารถเข้าสู่รูปแบบใหม่ๆเช่นการอนุมัติสินเชื่อในรูปแบบใหม่ๆ” ประธานกรรมการบริหาร สสว. กล่าว

สังเกตไหมช่องทางดิจิตอลของไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเกิน 100% เลย ใครไม่อยู่ในโทรศัพท์ ไม่อยู่ในช่องทางนี้ไม่มีทางรวย ที่สำคัญ ตอนนี้ใครจะไปคิดว่าเวลาไปซื้อของแม่ค้าถามว่าใช้คนละครึ่งไหม  สแกนชำระเงินกัน  เราเป็นประเทศที่กลายเป็น Cash less ไปโดยอัตโนมัติ  รัฐบาลพยายามสร้างบรรยากาศเหล่านี้ให้เกิดขึ้น เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นปุ๊บเนี่ยคนก็เดินเข้าสู่ช่องทางเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ เดินไปตลาดใหม่ไม่เดินไปอันนั้นต่างหากที่อันตราย 

แน่นอนว่าทั้ง SMEs   และผู้ประกอบการไทย ก็ต้องพยายามใช้ดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือในการปรับตัว  ผู้ประกอบการตัวเล็กเราเรียกว่าไม่มีไม้ค้ำยัน เป็นคนอ่อนแอตั้งแต่กำเนิดเพราะว่าเป็นคนตัวเล็ก ซึ่งต้องอาศัยความเล็ก ทำให้ได้เปรียบก็คือความว่องไว ปลาเล็กในปัจจุบันคือปลาเล็กต้องไว ต้องปรับตัวได้ ขยับไปได้ และต้องไปมุ่งหาสิ่งที่ประเทศเรามีความได้เปรียบก็คือสินค้าเกษตร และสินค้าเกษตร  ดังนั้นก็คือ SMEs เองก็ต้องปรับตัวเพื่อผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการหลากหลาย   เป็นช่วงเวลาที่ SME ทั้งส่งออกภายในประเทศควรหันกลับมาดูตัวเองและควรพัฒนาก้าวต่อไปให้มากขึ้น

คุณมงคล กล่าวว่า ตอนนี้มีอีกโปรเจคนึงเป็น project all star  คือจะมีการเชื่อมโยง SMEs  พวกนี้จะมาเสริมเรื่องต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ  แต่ละจังหวัดจะเชื่อมกันได้ด้วยอย่างเช่น ผมเรียก Matching Business ครับ คือเอาคนทำกาแฟที่วังน้ำเขียว ซึ่งเป็นบทบาทของการทำเครื่องสำอาง ไปติดต่อกับกาแฟน่าน แทนที่จะผลิตเองหรือ มีความแตกต่างก็คือระดับน้ำทะเลของน่านสูงกว่าวังน้ำเขียวเท่าตัว ทำให้คุณภาพกว่ากาแฟต่างกันไปอีกแบบหนึ่งระดับน้ำทะเลมีผลต่อคุณภาพกาแฟจริงๆ แล้วก็มีคุณภาพที่จะทำเครื่องสำอางต่อได้

ดังนั้นการต่อเชื่อมลักษณะนี้เป็นลักษณะที่เรียกว่าการเชื่อมต่อการทำงานแบบ All Star ถ้าภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Creative Shared Value คือ หลังจากนั้นทางนี้จะช่วยให้แถวบ้านโตอีกประมาณ 1, 400 กว่าหลังคาเรือนและที่วังน้ำเขียว  ที่ผลิตสบู่หรือเครื่องสำอาง ดังนั้นเบ็ดเสร็จจะช่วยประมาณ 1,700 หลังคาเรือน คือ เอาอาชีพ เอางาน เอาสิ่งที่เรียกว่ารายได้ ใส่เข้าไปทำให้เขาพึ่งพาตัวเองได้ และทำให้ยั่งยืนเพราะว่าสิ่งที่เราให้ไปทำเราใช้วิทยาศาสตร์ด้วยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปช่วย สิ้นเดือนนี้จะมีจังหวัดขอนแก่น ที่ผมจะไปขายมะม่วง มะม่วง 1 กล่องมี 7 ลูก ราคา 1,500 บาท  ซึ่งรูปแบบของมะม่วงน้ำดอกไม้ เอามาจากวิวัฒนาการการผลิตสตอเบอรี่ของญี่ปุ่น สังเกตไหมครับสตอเบอรี่ญี่ปุ่นลูกใหญ่ หอมมาก องุ่นก็ลูกใหญ่ ที่ใหญ่นี่ไม่ใช่ไปใส่ปุ๋ยใส่อะไรคือทั้งพวงเขาตัดเหลือ 1 ใน 3 เผื่อมันจะไม่ต้องแย่งอาหารแล้วปล่อยให้มันโตเต็มที่เลย อยู่ที่การเอาใจใส่บ่มเพาะดูแล  

เรื่องนี้ทำได้ผลแล้วที่ขอนแก่น และทำเป็นอุตสาหกรรมประเภท Smart Farm คือการรดน้ำด้วยระบบมือถือ และฉีดปุ๋ยฉีดยาใช้โดรน และแต่ละคนมีประมาณ 50 ไร่ เป็นเกษตรกรสองคนผัวเมีย ก็คือไม่ต้องใช้แรงงานเยอะใช้เครื่องมือมาช่วย พอลูกไหนใช้ได้เขาเอาถุงกระดาษที่เป็นคาร์บอนห่อเลย เพราะฉะนั้นผิวของมะม่วงไม่มีแมลง ไม่มีสิวฝ้าและจะขายได้ราคามาก เหล่านี้คือการใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยในการผลิตทั้งสิ้น

รับชมวีดีโอ คลิก https://www.youtube.com/watch?v=o7yM7JpcKZU&t=586s

 

 

 

 

 

 

  

 

Most Viewed
more icon
  • Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’

    วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’

    วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’

    วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...

    calendar icon29.11.2021