Exporter World Talk

Exporter World Talk EP:07 ‘อัปเดตสถานการณ์การค้า-การลงทุน สปป.ลาว’

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564

Exporter World Talk EP:07 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า  เชิญคุณวีรนุช ธรรมศักดิ์ หัวหน้าสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ณ กรุงเวียงจันทร์ สปป.ลาว มาอัพเดตสถานการณ์การค้า การลงทุนใน สปป.ลาว ให้ผู้ประกอบการที่สนใจขยายตลาดการส่งออกไปที่ลาวว่าจะมีช่องทางใดบ้าง

คุณวีรนุช เปิดเผยถึง 1 ปี การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ใน สปป.ลาว ว่า ขณะนี้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้ว การใช้ชีวิตของผู้คนก็เป็นไปตามปกติแต่ก็ต้องรักษาระยะห่าง เหมือนในประเทศไทย

ทางด้านการค้าขายหากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบมาก เพราะต้องพึ่งพิงชาวต่างชาติ แต่ถึงได้รับผลกระทบก็มีมาตรการออกมาช่วยกัน เช่น เอกชนลาวเขาก็ออกมาตรการลาวเที่ยวลาว สนับสนุนโปรโมชั่น เป็นการช่วยเหลือในระดับท้องถิ่น ช่วยบรรเทาสิ่งที่ได้รับผลกระทบไประดับหนึ่ง แต่จะให้กลับมา100% ก็ต้องใช้เวลา

สำหรับการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ต้องบอกตามตรงว่าซบเซา คนข้ามไปมาไม่ได้  เพราะฉะนั้นสิ่งที่ข้ามไปได้คือสินค้าเท่านั้น เดิมคนข้ามไปมาซื้อขาย จะมีตลาดไทยลาว และ ลาวไทย ตอนนี้หยุดไป แต่เรื่องของสินค้ายังขนส่งได้ปกติ เท่าที่สอบถาม กับผู้ค้าทั้งหลาย เขาได้ผลดีด้วยซ้ำ เพราะการค้าชายแดนอยู่ในรูปแบบการค้าปกติทั่วไปไม่ได้ ดีมานด์ก็เลยเป็นการนำเข้าสินค้ามาขายมากกว่า  สำหรับผู้ค้าเป็นเทรดเดอร์

คุณวีรนุช กล่าวว่า สินค้านำเข้าจากประเทศไทย ที่ได้รับความนิยมหลักๆ เลย ตามที่เห็น อย่างแรกคือเครื่องใช้ไฟฟ้า  อาหารและเครื่องดื่ม  เครื่องอุปโภคทั้งหลาย เครื่องใช้ตั้งแต่หัวจรดเท้า แบรนด์ส่วนใหญ่เป็นของไทย  เป็นอิทธิพลจากการที่คนลาวได้ดูได้เห็นโฆษณา หรือได้รับข้อมูลจากสื่อข้อมูลจากไทยอยู่แล้ว  คนลาวดูทีวีไทย ใช้เฟซบุ๊กสื่อสาร ยูทูปดูช่องไทย   วิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน

แม้ทางการค้าขายโดยตรงจะทำได้ยากขึ้นจากการปิดพรมแดน แต่ก็ยังมีโอกาสขายผ่านออนไลน์  ความนิยมเหมือนกันในซีแอลเอ็มวี คือเค้ารับสื่อไทย อยากซื้อสินค้าจากไทย ลูกน้องพี่ที่นี่เค้าก็ยังบ่นว่าไม่ได้ข้ามไปไทยนานแล้ว

“อีคอมเมิร์สในลาวไม่มีแพลตฟอร์มของตัวเอง  ส่วนใหญ่จะสื่อสารโดยตรงกับลูกค้าในเฟซบุ๊ก อยากแนะนำว่าผู้ประกอบการไทยมีเพจแข็งแรงอยู่แล้ว อยากขายสินค้ามาลาว ซื้อแอดเพิ่มให้เค้ายิงตรงมาที่ลาวเลย คนลาวนิยมใช้เฟซบุ๊กค่อนข้างมาก เค้าจะรู้ว่าเรามีของขาย  อันดับที่สองถ้าไม่มีเพจจะทำไง ลองเข้าไปดูหน้าเพจต่างๆ ของ สปป.ลาวก่อน  แล้วดูพฤติกรรมผู้บริโภค จากนั้นก็ขอเข้าไปร่วมกับเจ้าของเพจเลย เช่นเฟซบุ๊กนี้ดังมากของลาวก็เข้าไปร่วมเลย มันจะตรงถึงผู้ซื้อ ถึงเป้าหมายอย่างรวดเร็วคุณวีรนุช กล่าว

นอกจาก เฟซบุ๊กแล้ว ก็ยังมีการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม ช้อปปี้ ลาซาด้า เหมือนบ้านเรา เพียงแต่ไม่ใช้ชอปปี้ ลาซาด้าของลาว แต่เป็นช้อปปี้ ลาซาด้าของไทย ฉะนั้น คุณอาจเชื่อมเฟซบุ๊กกับช้อปปี้และลาซาด้าได้ด้วย   ทางลาวเค้าจะมีธุรกิจตัวกลางที่รับซื้อสินค้าบนช้อปปี้ ลาซาด้า ของไทยให้อยู่แล้ว ถ้าคุณอยากเจาะตรงไปหาคนที่โฆษณาว่ารับซื้อของบนนี้ ซื้อจากไทยมา สปป.ลาว จะเป็นการเชื่อมระหว่างผู้ค้าอีคอมเมิร์สไทยกับผู้บริโภค  ถัดจากนี้คือเรื่องการขนส่งสินค้า

หน้าเพจพวกนี้บางส่วนทำครบวงจรเลย คือรับซื้อและรับส่งสินค้ามาลาวให้ด้วย บางส่วนก็จะทำเป็นแค่รับส่งสินค้า  เพราะฉะนั้นเราต้องค้นหา ความจริงเรามีชื่ออยู่ ใครอยากได้ให้หลังไมค์มา  ถ้าสนใจให้สอบถามเข้ามา เราจะส่งข้อมูลเท่าที่หาได้ไปให้ ขนส่งพวกนี้ก็จะรับส่งไปให้คู่ค้า แทนที่คุณจะส่งมาลาว คุณก็ส่งมาให้แค่คู่ค้า ที่อยู่ที่ จ.หนองคาย เขาจะรับสินค้าแทนลูกค้า แล้วจะเอาของมาส่งให้ใน สปป.ลาว  อาจจะโดนบวกค่าขนส่งบ้าง แต่ก็ไม่มาก   เขาคิดค่าขนส่งตามพื้นที่ ถ้าสมมติว่าส่งพื้นที่เวียงจันทร์ ราคาเริ่มต้น 50-60 บาทต่อชิ้น เค้าจะคิดค่าส่งเป็นรายชิ้น ตามไซส์ ตามขนาด บางเจ้าซื้อสิบชิ้นก็ส่งสิบชิ้นก็จ่ายค่าส่งหกสิบคูณสิบ  บางเจ้าออฟเฟอร์ให้ส่งรวมกล่องให้ เราผู้ซื้อเราแฮปปี้ เราเสีบเงินแค่ 150 บาท เป็นต้น ข้อมูลอย่างนี้ผู้ประกอบการอาจไม่รู้ 

“ในส่วนของเราอยู่ใน สปป.ลาว อยากใข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จะบอกว่าในขณะนี้  ทาง สปป.ลาวกำลังจะเปลี่ยนรัฐบาล  คาดว่าส่วนที่รัฐบาลใหม่จะปรับปรุงคือ   Doing Business  คือความยากง่ายในการทำธุรกิจ  คือ จะทำให้ไงให้คนมาลงทุนได้ง่ายขึ้น อำนวยความสะดวกการดำเนินธุรกิจในทุกขั้นตอน ดังนั้นตรงนี้ก็เป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่สนใจจะมาลงทุนใน สปป.ลาว แต่ไม่ได้มีแค่นั้น ยังมีโอกาสที่รัฐให้การสนับสนุนธุรกิจเป้าหมายของรัฐ   มีโอกาสอื่นๆที่รัฐให้การสนับสนุนธุรกิจของรัฐ นโยบายอาจจะหนุนธุรกิจหลายอย่าง”   คุณวีรนุช กล่าว

ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างที่เห็นภาพ อันดับแรกคือโลจิสติกส์  พูดถึงก็จะนึกถึงรถไฟความเร็วสูงลาว-จีนที่จะเปิดใช้ภายในปลายปีนี้  อันนี้จะเป็นสิ่งที่นักลงทุนไทยจะมองคือเราจะมีโอกาส หรือเราจะได้ประโยชน์ตรงนี้ยังไง อยากให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนมอง สปป.ลาว ในมุมใหม่ว่า สปป.ลาวมีประชากรมีเจ็ดล้านกว่าคน ถ้าเราตั้งใจจะส่งสินค้าไป สปป.ลาวจะมีปริมาณจำกัดกลุ่มเป้าหมายมีน้อย  อยากให้เปิดมุมมองว่า สปป.ลาวเป็นประตูที่ใกล้ที่สุดในการที่เราจะออกไปจีนและเวียดนาม 

2.ด้วยการที่มีลักษณะของปกครองในประเทศที่ใกล้เคียงกัน ก็จะมีเรื่องของสิทธิพิเศษมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดจีนและเวียดนาม ที่จะทำให้มีโอกาสที่ประเทศอื่นๆไม่ได้ เช่น เขาจะได้สิทธิประโยชน์ โควต้า ความร่วมมือ การเกิดขึ้นของรถไฟลาว-จีน  โลจิสติกมาแน่ เราจะต่อยอดเข้าไปยังจีนอย่างไร  เส้นทางหยุดที่ลาว จะเชื่อมมาไทยอย่างไร อันนี้เป็นโจทย์ที่คิดสำหรับนักลงทุน

3. อยากให้ลองมอง ธุรกิจด้านการเกษตร ให้มองจุดแข็งของ สปป.ลาว ด้านเกษตรคือ ดินดี น้ำดี พื้นที่เยอะ แถมเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่าตอนนี้สปป.ลาวเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีมาก ประเทศญี่ปุ่น อียู ให้การยอมรับว่าผลผลิตที่ปลูกใน สปป.ลาวเป็นเกษตรอินทรีย์ ใช้สารเคมีน้อย ฉะนั้น ผลิตผลพวกนี้จะขายได้ราคา มีมูลค่า แต่สิ่งที่เขาขาดคือเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ อันนี้จะเป็นอีกมุมมองเป็นโอกาสให้นักลงทุนชาวไทยที่สนใจภาคเกษตรเข้าไปลงทุนนอกจากนี้ จีนกับเวียดนามก็ให้โควต้านำเข้า ปศุสัตว์ ผักและผลไม้จาก สปป.ลาว ปีนึงก็ไม่น้อย   แต่ สปป.ลาวเองก็ยังไม่มีกำลังการผลิตมากพอที่จะส่งเข้าไป

ดังนั้น หากสนใจธุรกิจการเกษตร ควรจะเข้ามาเป็นเกษตรมูลค่าสูง หากเข้ามาเป็นเกษตรพื้นฐานอาจจะยาก ถ้าเรามาพร้อมเทคโนโลยีแล้ว เราเข้ามาคือมีความพร้อมที่จะทำ แต่เราพึ่งพิงแรงงานท้องถิ่นในบางส่วน เราซัพพอร์ตเขาในเรื่องโนว์ฮาว เทคโนโลยี น่าจะมีโอกาสมากกว่ามาสอนทีละนิด

ปัจจุบัน สปป.ลาวเป็นทางผ่านการนำปศุสัตว์จากไทย วัวกับหมู  เป็นจุดผ่านเคลื่อนสัตว์มีชีวิตไปจีนและเวียดนาม ในส่วนของนโยบายรัฐ รัฐก็อยากให้มีประโยชน์ในประเทศให้มากขึ้น แทนที่จะแค่เคลื่อนผ่านมาส่งเสริมให้ประชาชนเขาอยู่ดีกินดีมากขึ้น    ฉะนั้นถ้าเป็นนักลงทุนมา  ก็จะได้รับการต้อนรับที่ดีจากรัฐบาล มากกว่าที่จะบอกว่าจะเป็นทางผ่านอย่างเดียว             

สำหรับการเข้าไปลงทุนในสปป.ลาวนั้น คุณเจน แนะนำว่า จะเข้ามาในรูปลงทุนเอง 100% หรือจะมาร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น หรือจะร่วมทุนกับโครงการรัฐบาลก็ได้ เป็นเรื่องของนโยบายแต่ละบริษัท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าเป็นคำแนะนำส่วนตัวจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เห็นว่าการทำการค้าและการลงทุนในสปป.ลาวควรจะมีพาร์ทเนอร์เป็นชาวลาว เนื่องจากเขาจะมีความเข้าใจ  มีความรู้  ความคุ้นชินในวัฒนธรม จะช่วยเราได้มากในการติดต่อประสานงาน เหมือนคนในพื้นที่คุยกัน  

คุณวีรนุช กล่าวว่า สำหรับแฟรนไชส์ไทย ที่ไปเปิดในสปป.ลาวนั้น มีเป็นระยะแต่ไม่ได้เข้ามาเปิดสาขาทีละมากๆ เพราะจำนวนประชากร สปป.ลาวมีน้อย กลุ่มกำลังซื้อไม่ได้มีขนาดใหญ่ แบรนด์ดังๆ ของไทยไปเปิดในลาวเยอะ แต่สิ่งสำคัญที่สุดของแฟรนไชส์ไทยคือการรักษาคุณภาพ ก่อนปิดประเทศ คนสปป.ลาวเข้าไปอยู่ในไทย เขาเคยมากินหลายอย่างในประเทศไทย แล้วถ้าไปกินในประเทศเขาทำรสชาดไม่เหมือนที่กินในไทยไม่ได้  

คุณวีรนุช ฝากถึงผู้ประกอบการที่อยู่ในสปป.ลาวแล้ว สามารถไปใช้บริการสอบถามข้อมูลการค้า สำนักงานตัวแทนของเอ็กซิมแบงก์ไทยแลนด์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4  อาคาร เอเอ็นแซด ตั้งอยู่ตรงข้ามตลาดเช้า  ส่วนผู้ที่อยู่ในประเทศไทย  สามารถติดต่อผ่านช่องทางของ EXAC  หรือ ส่งอีเมลล์มาที่ [email protected]  ยินดีจะให้ข้อมูลการค้าการลงทุนแบบเจาะลึกใน สปป.ลาว หรืออะไรที่ไม่ทราบก็จะไปเสาะหาและแนะนำช่องทางให้กับผู้ประกอบการต่อไป   

รับชมวีดีโอ คลิก  https://www.youtube.com/watch?v=pD_8yS5l0Z0

Most Viewed
more icon
  • Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’

    วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’

    วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’

    วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...

    calendar icon29.11.2021