Exporter World Talk

Exporter World Talk EP:17 'อัปเดตสถานการณ์การค้ากับทูตพาณิชย์แอฟริกาใต้'

วันที่ 7  เมษายน 2564

Exporter World Talk EP:16  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า  เชิญ คุณอภิรักษ์ แพพ่วง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้ กระทรวงพาณิชย์ มาคุยกันในเรื่อง “อัปเดตสถานการณ์การค้ากับทูตพาณิชย์แอฟริกาใต้” ซึ่งตลาดแอฟริกาใต้นับเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่มาก และมีอัตราการเติบโตสูง เป็นเป้าหมายส่งออกใหม่ของนักรบผู้ส่งออกไทยในกลุ่ม SMEs ที่น่าสนใจ

คุณอภิรักษ์ ได้เริ่มด้วยการปูพื้นฐานให้ผู้ประกอบการรู้จักกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาว่ามีขนาดใหญ่มาก เป็นตลาดใหญ่ของเรา โดยมีประชากรประมาณ 1,200 ล้านคน แบ่งเป็น 54 ประเทศ 2 แคว้นของฝรั่งเศส คือ เรอูนียงและ เซนต์เทเรนา ที่ แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค ภูมิภาคตอนบนจะเป็นพวกอาหรับ ไล่มาตั้งแต่  อียิปต์ ลิเบีย ตูนีเซีย แอลจีเรีย โมร็อกโก แบ่งลงมาเป็นทิศตะวันตกเมืองใหญ่ที่สุดคือไนจีเรีย มีประชากรประมาณ 200 ล้านคน เมื่อก่อนเป็นตลาดที่ใหญ่มากของเรา โดยเฉพาะตลาดข้าวนึ่ง แต่ปัจจุบันมการกีดกันทางการค้า เราจึงส่งข้าวไปที่เบนนินแล้วใช้กองทัพมดขนเข้าไปที่ไนจีเรีย

ฝั่งตะวันออกเมืองท่าที่สำคัญอยู่ในเคนยา เป็นที่ตั้งของ สคต.อีกแห่งหนึ่งของเรา ฝั่งตะวันออกนี่มี 11ประเทศ ทางด้านตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดก็คือแอฟริกาใต้  ซึ่งมีสัดส่วนของการส่งออกของไทยไปที่แอฟริกาใต้ก็คือประมาณ 40 % ในขณะที่อียิปต์ประชากร ประมาณ 100 ล้านคน สัดส่วนการส่งออกของเราอยู่ที่ประมาณ 16 %

“ดีที่สุดก็คือภูมิภาคทางตอนใต้คือแอฟริกาใต้ ประเทศเดียวมีสัดส่วนการส่งออก  40% จากมูลค่าการค้าในแอฟริกาทั้งหมด  เราค้าขายกับเขาทางด้านสินค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องยนต์ ข้าว ผลิตภัณฑ์ยางอะไรต่างๆ เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด สาเหตุที่แอฟริกาใต้มีสัดส่วนการค้ามากที่สุดก็เพราะ มีประชากร 59 ล้านคน มีการคมนาคมขนส่งสะดวก ไม่ว่าจะเป็นท่าอากาศยาน หรือ ท่าเรือสำคัญที่มีขนาดใหญ่มากที่เมืองเคปทาวน์ เป็นจุดนำเข้าและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและอาหาร สามารถที่จะขนส่งสินค้าต่อไปยังประเทศที่อยู่ติดกัน ไม่ว่าจะเป็น นามิเบีย ซิมบับเว บอสซาวานา อะไรต่างๆ” คุณอภิรักษ์ กล่าว  

นอกจากนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางทวีปแอฟริกาได้ประกาศว่าจะเริ่มใช้ เขตการค้าเสรี African Continental Free Trade Area (AFCFTA) ทั่วทั้งทวีป ดังนั้นผู้ที่มีศักยภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้นก็น่าจะเป็นแอฟริกาใต้ เพราะมีทั้งท่าเรือมีการคมนาคมที่สะดวก มีเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งเขาสามารถที่จะส่งออกไปสหภาพยุโรป (EU) ได้ด้วย

ดังนั้น อยากให้ผู้ส่งออกของไทยลองดูว่า ถ้าจะลดต้นทุนการส่งออกโดยการเข้าไปลงทุนผลิตในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในแอฟริกาใต้ เพื่อกระจายการส่งออกเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังทั่วทวีปแอฟริกา รวมไปถึง EU ด้วย โดยเฉพาะการลงทุนกับแอฟริกาใต้เขาก็ทำ FTA กับอังกฤษแล้วด้วย

การจะเริ่มเข้าไปในตลาดส่งออก ก็จะต้องดูพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น ทางอาหรับเดิมทีไม่ได้บริโภคข้าวไทย  ไม่ว่าจะเป็นข้าวนึ่งหรือข้าวขาว ส่วนใหญ่เป็นบัสมาติ   เขาก็จะไม่ใช่ตลาดหลักของเราเกี่ยวกับข้าว  หรืออย่างอียิปต์มีประชากรจำนวน 100 ล้านคนโดยเฉลี่ย เป็นประเทศที่ไม่มีวินัยทางการจราจรเลย คนก็จะไม่ซื้อรถใหม่แต่ใช้อะไหล่ อะไหล่ส่วนใหญ่ก็จะมาจากไทยนี่แหละครับ เน้นซ่อมเป็นหลัก เพราะว่าถ้ามันชนกันแล้วเสียดายของ อีกตัวหนึ่งก็คือเรื่องของอาหารแปรรูปและอาหารกระป๋องจะเป็นสินค้าที่ขายดีทั่วแอฟริกา เราก็มีบริษัทของไทยรายใหญ่ที่ไปทำโรงงานอยู่ที่เมอริเชียสด้วย อย่างนี้เขาก็จะได้ในเรื่องของภาษีที่มันจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆจนเหลือ0% หลังจากที่ AFCFTA มีผลบังคับใช

อย่างไรก็ดี แม้เขาจะมีทรัพยากรมาก ยกตัวอย่างเช่นประเทศโมซัมบิกที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออก ติดมหาสมุทรอินเดีย 7 พันกว่ากิโลเมตร เขามีทรัพยากรทางประมงเยอะมาก แต่เรื่องของการผลิตและเทคโนโลยีของเขายังไม่ถึง เขาก็ต้องการให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในประเทศของเขา ใครๆก็อยากให้ไทยเข้ามาลงทุนด้วยกันทั้งนั้น 
อย่างเช่นตู้เย็นหรือตู้เก็บอาหารทะเล เขายังขาดแคลนอยู่ ดังนั้นเขาต้องการให้เรามาลงทุนแล้วก็สอนเขาไปด้วยว่าในการผลิตเพื่อการส่งออกนั้นทำอย่างไร

คุณอภิรักษ์ กล่าวว่า แอฟริกายังเป็นแหล่งของทรัพยากรทางด้านอัญมณี ไม่ว่าจะเป็นทองคำ แพลตทินัม เพชร พลอยต่างๆ อย่าง โมซัมบิก นั่นเป็นแหล่งของทับทิม ที่สำคัญรายหนึ่งที่แอฟริกาใต้ก็จะเป็นทองคำ จะเห็นได้ว่าเราเริ่มนำเข้าจากเขาเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของทองคำ พลอย เพชร  ซึ่งเขาขายส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ อย่างเช่นที่โมซัมบิก จะให้บริษัทที่เป็นบริษัทข้ามชาติร่วมกับรัฐเป็นหุ้นส่วนกัน ทำการขุดพลอยและไม่ได้เอามาขายปลีกแต่เอาไปประมูลก่อน ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่ผ่านมาก็เป็นประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ร่วมสัมปทานกับรัฐ สิ่งที่เขาทำจะได้ผลประโยชน์กับประเทศโมซัมบิกด้วยเพราะจะทำให้ของมีมูลค่ามากขึ้น

สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นที่ส่งออกไปได้ดีและยังมีความต้องการสูงคือ ผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถุงมือ ยางท่อ ยางรถยนต์ ซึ่งเขามีความต้องการสูงซึ่งคนที่ไม่สามารถซื้อสินค้าจากประเทศไทยได้ ก็หันมาซื้อในราคาที่ถูกลงก็จะโดนโกงจากการเข้าไปซื้อในเว็บไซต์ต่างๆ ราคาต่ำมากจริงๆ ก็คือเป็นของปลอม  ทุกสัปดาห์นั่นแหละครับ ก็จะมีเคสเข้ามาว่าให้ช่วยเหลือหน่อย ซึ่งเราก็เคยประกาศไปแล้วว่า มีบริษัทผู้ผลิตยางที่เราสามารถแนะนำให้ซื้อได้กี่ราย ต้องระมัดระวัง

คุณอภิรักษ์ กล่าวว่า สินค้าที่มีแนวโน้มขายได้ดีอีกอย่างคือ สินค้าเครื่องสำอาง  อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับตลาด ตลาดทางฝั่งตะวันตก กับฝั่งตะวันออกต่างกัน ทางใต้ก็อีกแบบหนึ่ง สินค้าต้องได้รับมาตรฐานของทางยุโรป เนื่องจากเขาก็เหมือนกับยุโรปประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทางใต้แอฟริกา ส่วนทางด้าน เคนยา เซอร์เบีย กำลังเริ่มที่จะเติบโตขึ้น แต่ก็เห็นมานานแล้ว 10 กว่าปีที่แล้วเขาก็ชมชอบเครื่องสำอางของคนไทย บางทีเขาก็อยากรักษาผิวของเขา ให้ดูดีขึ้น

นอกจากนั้น เราก็ยังมีสินค้าอีกตัวหนึ่งที่เขาชอบสินค้จากไทยมาก คือ  เครื่องจักรกลทางการเกษตร เราทำขายดีมากในฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกไนจีเรียอะไรพวกนี้ชอบเครื่องจักรทางการเกษตรจากไทยมาก เรียกว่าราคาก็สมเหตุสมผล ไม่ได้ถูกเท่ากับประเทศใหญ่  แต่บริการหลังการขายเราดี เรามีการสอนว่าทำอย่างไรและของเราก็มีคุณภาพมากพอสมควรมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน

อย่างไรก็ดี แม้เราจะส่งออกไปได้เพิ่มขึ้น แต่เราก็ยังมีปัญหาและอุปสรรค คือ เราไม่มีข้อตกลง FTA กับเขา เขาบอกว่าถ้าจะทำต้องทำกับ African Union ต้องทำพร้อมๆกันกับหลายประเทศ ตอนนี้นังไม่เห็นทีท่าเราจะได้ประโยชน์ตรงนี้ ทางเขาจึงอยากให้เราเข้ามาลงทุนในแอฟริใต้มากเราจะได้ตัดขั้นตอนนการทำ FTA กับเขาไป โดยใช้เขาเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกอีกทีหนึ่ง

สำหรับคำถามที่ผู้ประกอบการถามมา ในเรื่องของการส่งออกสินค้าเครื่องดื่มประเภทเพิ่มพลังงาน  Energy Drink เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งมีผู้ประกอบการไทยที่ส่งสินค้ามาขายอย่างไวตามิลค์ กรีนสปอต เขาส่งออกได้ดี เพราะประเทศเหล่านี้มีประชากรที่ออกกำลังกายเยอะ เห็นได้จากก่อนหน้านี้ เราเจอแต่ตู้กดน้ำอัดลม แต่เดี๋ยวนี้มีตู้กดเครื่องดื่มสุขภาพ เครื่องดื่มชูกำลัง ทั้งแบรนด์เก่าและแบรน์ใหม่มากมาย ราคาขายเครื่องดื่ม ขนาดบรรจุ 250 มิลลิลิตร ก็อยู่ประมาณไม่เกิน 50 บาท  สินค้าเครื่องดื่มของไทยจะต้องต่อสู้กับเครื่องดื่มของประเทศอื่น มีการแข่งขันที่สูงพอสมควร เพราะมีบริษัทจากยุโรปเข้ามาตั้งโรงงานผลิตที่นี่ ดังนั้นราคาของเราถ้าจะไปสู้กับเขา ก็ต้องเปรียบเทียบกันว่าเราสามารถลดต้นทุนได้เท่าไหร่ จะสู้เขาได้ไหม

“ยกตัวอย่างสินค้าตัวนึงคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย ที่อยากจะเปิดตลาดที่นี่ พี่ แอฟริกาใต้และสามารถกระจายต่อไปที่อื่นเมื่อพูดถึงเรื่องต้นทุนการผลิตแล้ว เขาไม่สามารถที่จะสู้กับของที่ผลิตในแอฟริกาได้ เขาผลิตได้ซองนึงไม่เกิน 6 บาทในขณะที่ของเราเริ่มที่ 8 แรนด์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ  16 -17  บาท ในขณะของเรา  นำเข้ามาแล้วต้องลดโมโนโซเดียมกลูตาเมตลง มันเลยทำให้รสชาติอาจไม่อร่อยเท่าเดิม “ คุณอภิรักษ์ กล่าว

อย่างไรก็ดี ในการไปลงทุนในแอฟริกา ก็มีความยากพอสมควรในแง่ของสาธารณูปโภคพื้นฐาน เราต้องพิจารณาว่าแล้วความเป็นไปได้ในการที่จะก้าวไปคุ้มค่าในการเริ่มต้นมากน้อยแค่ไหน ไฟฟ้าดับบ่อย การเข้ามาลงทุนจะต้องมีความพร้อม มีพาวเวอร์แบงค์ของตนเอง เพิ่งผ่านไฟฟ้าของภาครัฐไม่ได้  ส่วนค่าแรงของเขาต่ำกว่าบ้านเรา พวกที่เป็นระดับใช้แรงงานก็จะอยู่ที่วันละประมาณ 300 แรนด์ เทียบเป็นเงินไทยก็ประมาณ 500-600 บาท


นอกจากนี้ การที่ไทยยังไม่มีเรื่องของ FTA กับแอฟริกา  ถ้าเราจะทำ ต้องทำกับแอฟริกันยูเนียน ซึ่งเราก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เรายังไม่เห็นสินค้า ฉะนั้นเมื่อเราไม่สามารถทำกับเขาได้ การเข้ามาลงทุนจะทำให้เราปรับขั้นตอนที่เราคุยกับเขามาใช้เป็นฐานเพื่อการส่งออกอีกทีหนึ่ง

อย่างไรก็ดี การเชิญชวนนักลงทุนไทยเข้ามา เราก็จะมีการจัดกิจกรรม  Business Matching  เป็นระยะ โดยมีผู้แทนการค้าจากประเทศไทยเข้ามาที่อย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เราต้องมาเปลี่ยนเป็นเรื่องมาจัดการจับคู่ธุรกิจเป็นแบบ Online Business Matching แทน ที่เพิ่งทำไปเมื่อเร็วๆนี้ก็เป็นเรื่องของสินค้าอาหารฮาลาลโดย ที่เราทำเพราะเป็น Online Business Matching มีข้อดีคื สามารถจะเชิญผู้ซื้อจากหลายๆประเทศจากทวีปแอฟริกาเข้ามา ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นแอฟริกาใต้ประเทศเดียว เป็นการบริหารจัดการร่วมกับทางส่วนกลาง เวลาจองจับแมทชิ่งกัน ผู้ประกอบการไทยถ้าสนใจก็จะเอาชื่อเข้ามาทางส่วนกลางก็จะไปเชิญผู้ประกอบการไทยว่าสนใจบริษัทนี้ไหมที่โมซัมบิกเป็นเจ้าใหญ่อะไรต่างๆถ้าเกิดทั้งคู่สนใจซึ่งกันและกัน เราก็จะทำการแมทชิ่งกัน

อย่างไรก็ดี การเปิดตลาดมีคู่ค้าใหม่ สิ่งที่ ผู้ประกอบการไทยเป็นกังวลก็คือเรื่องความเสี่ยงในการค้า ก็คือความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินในเรื่องของสินค้า ซึ่งอยากจะแนะนำว่าหากต้องการทำธุรกิจกับแอฟริกาก็ขอให้เปิด L/C  แทนการใช้ความไว้วางใจ เพราะบางคนค้าขายกันมานานไม่มีปัญหา แต่มามีปัญหาในช่วงที่โควิดระบาด

“เร็วๆนี้ที่แองโกลา วิธีการซื้อขายคือผู้นำเข้าจะต้องนำเงินไปใส่ในธนาคาร เท่ากับรัฐบาลเป็นผู้ซื้อเองจากผู้ส่งออกของไทย แต่หลังจากนั้นเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน หลังจากโควิดระบาด ทำให้เศรษฐกิจของเขาไม่ดีค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเยอะ เขาก็เอาเงินออกจากแบงค์ แต่ก็ยังให้ทางไทยส่งสินค้าไป ทีนี้ทางด้านผู้นำเข้าเขาก็ไม่รับผิดชอบซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการติดตาม ก็อยากเรียนให้ทราบว่าไม่ว่าประเทศไหนก็ตามควรประกันความเสี่ยงดีกว่าเรื่องของการประกันความเสี่ยงของค่าเงิน
อัตราความเสี่ยงจากราคาแลกเปลี่ยนเหล่านี้ เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้สำหรับการทำธุรกิจส่งออกนำเข้าอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ” คุณอภิรักษ์ กล่าว

สำหรับผู้ส่งออกที่สนใจ ขยายตลาดไปยังทวีปแอฟริกานั้น สามารถขอข้อมูลได้ที่กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีสำนักงานผู้แทนการค้าในทวีปแฟริกา 4 แห่งคือ ด้านบนคือ อียิปต์ อยู่ในกรุงไคโรฝั่งไคโร สำนักงานนี้จะดูประเทศที่เป็นอาหรับทั้งหลายและทำความร่วมมือในเรื่องของการดำเนินกิจกรรม 

สำนักงานแห่งที่ 2 อยู่ใน กรุงไนโรบี เมืองหลวงของ เคนยา นี่เป็นฝั่งตะวันออกของแอฟริกา เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่จะส่งออก ส่งต่อสินค้าไปยังประเทศต่างๆ อีกจำนวนมากเลยดังนั้นเคนยาก็จะเป็นด่านสำคัญอีกประเทศหนึ่ง 

สำนักงานแห่งที่ 3 อยู่ที่เมืองอาบูจา ประเทศไนจีเรีย ที่เรียนให้ทราบแล้วว่าอาบูจา มีประชากร 200 ล้านคน เป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่มีท่าเรือที่สำคัญด้วย และสำนักงานแห่งที่ 4 อยู่ที่เมืองพริทอเรีย ประเทศ ทั้งหมดจะทำงานร่วมกันอย่างเช่นเรื่องทำ Online Business Matching เราทำพร้อมกันเลย   

 

 

Most Viewed
more icon
  • Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’

    วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’

    วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’

    วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...

    calendar icon29.11.2021