Exporter World Talk

วันที่ 19 มีนาคม 2564
Exporter World Talk EP:14 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณศักดิ์ ธรรมาภิรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี แอนด์ พี พรีเมียร์ เทรด จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจจะขยายตลาดด้วยการส่งออก ในหัวข้อ ‘ มือใหม่ส่งออกต้องรู้” เพื่อให้ข้อมูลและเรื่องที่ผู้ส่งออกที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำธุรกิจ และยังไม่มีความรู้ในเรื่องกฎระเบียบ และ ช่องทาง ได้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง
คุณศักดิ์ กล่าวแนะนำผู้ประกอบการมือใหม่ในเรื่องของการเลือกการขนส่งระหว่างประเทศว่า เมื่อเราหาตลาดส่งออกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกการขนส่ง ซึ่งหลักเกณฑ์การเลือกการขนส่ง ในอันดับแรกคือ ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึงว่าอยู่ประเทศห่างไกลแค่ไหน อย่างไร มูลค่าของสินค้า ระยะเวลา ปริมาณของสินค้า ต้นทุนการขนส่ง หรือ คุณลักษณะที่เฉพาะกับตัวสินค้า เช่น สินค้าที่มีเรื่องอุณหภูมิ สินค้าที่เป็นเคมี ทั้งหมดนี้มีความเชื่อมโยงกัน การจะเลือกขนส่งสินค้าทางใดให้แนวว่า การขนส่งของเครื่องบิน ควรจะเป็นสินค้าที่มีขนาดเบา เล็ก จำนวนไม่มาก และก็ต้องการระยะเวลาที่สั้น ส่งโดยรวดเร็ว แต่ว่าค่าส่งจะแพงกว่าหมวดอื่นๆ
อันดับต่อไปคือการขนส่งทางเรือ ในส่วนของเรือมักจะส่งของในปริมาณมาก น้ำหนักมาก แต่ว่าทางเรือเนี่ยก็จะมีจุดอ่อนก็คือระยะเวลาการขนส่งจะใช้เวลานาน เช่น ไปยุโรปใช้เวลาหนึ่งเดือน ไปอเมริกาหนึ่งเดือน ไปออสเตรเลีย 20 วัน แต่ข้อดีของก็คือราคาถูก
สำหรับการขนส่งทางรถยนต์ ก็จะเป็นพื้นที่ใกล้เคียง รอบๆ ประเทศไทย เช่น จีน ก็จะรวดเร็วและได้ผลที่ดีเหมือนกันครับ ส่วนในปัจจุบันอยากให้ดูการขนส่ผ่านบริษัทไปรษณีย์ไทยด้วย ขณะนี้เขาพัฒนาขึ้นมาก สามารถส่งพัสดุที่มีน้ำหนักมากถึง 200 กิโลกรัมได้
“ที่เราจะเลือกส่งสินค้าแบบไหนเนี่ย ก็ขึ้นอยู่กับสินค้าของเรา ลูกค้าของเราว่าอยู่ที่ไหนสินค้าเป็นไงต้นและต้นทุนในการส่ง สามตัวนี้เป็นสิ่งสำคัญครับ” คุณศักดิ์กล่าว
คุณศักดิ์ระบุว่า การขนส่งทางเครื่องบิน จะเป็นสินค้าที่ต้องการด่วน อย่างเช่น สินค้ากลุ่มผักสด ผลไม้ มีค่าขนส่งจะค่อนข้างสูงอยู่ในหลักหมื่นบาทขึ้นไป และจะเลือกแนวทางใดสามารถหารือกับผู้ซื้อด้วย ในบางกรณีถ้าต้องการด่วนมากทางผู้ซื้ออาจจะรับผิดชอบค่าส่งเอง แล้วแต่ข้อตกลง “ คุณศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี หากให้เรียงลำดับของค่าใช้จ่ายการส่งสินค้า ต่ำที่สุดน่าจะเป็น ขนส่งทางเรือ ขยับขึ้นมาอีกหน่อยก็จะเป็นขนส่งทางรถไฟ สูงที่สุดคือขนส่งทางอากาศ
หลังจากเลือกได้แล้วว่าจะส่งออกทางไหน ผู้ประกอบการก็จะต้องเลือกใช้บริการตัวแทนออกของ หรือ ชิปปิ้ง (Shipping) มาทำหน้าที่ด้านพิธีการเอกสารผ่านธนาคาร พิธีการศุลกากร และบริษัทเรือเดินทะเลหรือบริษัทขนส่งทางเครื่องบิน เพื่อนำสินค้านำเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้า นำไปเข้าตู้และรถหัวลากตู้ฯ ไปถึงท่าเรือ หรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ประกอบการส่งออกส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการ ชิปปิ้งเพราะในเรื่องของขั้นตอนการปฎิบัติตามพิธีศุลกากร เอกสารต่างๆ สำหรับมือใหม่อาจจะยุ่งยาก ในเรื่องของค่าใช้จ่ายและการดำเนินงาน เท่าที่ทำอยู่ในการส่งออกทางเรือ จะอยู่ในราคาประมาณ 800 บาท ถึง 1,400 บาท อันนี้คือราคาที่เก็บต่อชิปเม้น ชิปปิ้งจะต้องตรวจสอบข้อมูลของสินค้า ส่งข้อมูล ตรวจสินค้า ดูแลการจัดสินค้าไปสู่ตู้คอนเทนเนอร์
คุณศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องของระเบียบวิธีการ มันก็มีหลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นได้ เช่น เวลาที่เราส่งออกกำลังจะขึ้นเรือใหญ่ เราเกิดเปลี่ยนใจว่าจะไม่ส่งแล้ว การรู้วิธีการก่อน อันนี้ก็เป็นข้อแลกเปลี่ยน แต่คนไม่รู้ จริงๆสามารถยกเลิกได้และขอรับสินค้าคืนได้ บางทีบางเจ้ายังไม่โอนเงินมาเราก็ไม่อยากเสี่ยงส่งสินค้าให้เค้าเราก็ขอรับของคืนได้ หรือสินค้าที่ แพ็คส่งไม่ครบจำนวน เวลามาอยู่ในใบสินค้าถ้าส่งไม่ครบจะต้องทำยังไง มันก็จะมีปัญหาของมันอยู่ในระดับหนึ่ง สำหรับผู้ประกอบการส่งออกขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ สามารถทำเองโดยไม่ใช้บริการชิปปิ้งได้ แต่ผู้ประกอบการไซส์เล็กๆ ไซส์เอส หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ ไม่แนะนำให้ทำเองครับ เพราะว่า มันเหมือนเราไปเผชิญปัญหาหลายๆเรื่องพร้อมๆกัน น่าจะให้คนที่ชำนาญเค้าทำดีกว่า เราควรเอาเวลาไปดูแลเรื่องมาตรฐาน เรื่องการตลาดดีกว่า
ทั้งนี้การให้บริการของชิปปิ้งก็มีหลายระดับแล้วแต่ตกลง อยู่ที่จะให้ขาทำอะไร จะให้ทำเอกสารค้า จำนวนแพกกิ้ง ทำเอกสารขายตั๋วแบงค์ ออกใบรับรอง ที่ไปยกเว้นภาษีก็ได้ ก็อั้นนั้นก็จะเป็นในแต่ละเรื่องๆไป
ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยากเรียนรู้การดำเนินการวิธีศุลกากรเอง คุณศักดิ์แนะนำว่า ผู้ประกอบการสามารถทำเองได้ อย่างแรกที่ต้องทำคือต้องผ่านการอบรมมาก่อน ควรไปรับการอบรมมาก่อน ที่สมาคมตัวแทนชิปปิ้งแห่งประเทศไทย โรงเรียนธุรกิจการขนส่ง การค้าระหว่างประเทศไทย สมาคมตัวแทนออกของอิเล็กโทรนิคไทย เป็นต้น สมาคมเหล่านี้ที่จะจัดการอบรมอยู่ตลอดปี
“ การไปอบรมนี่เขาจะสอนเรื่องขั้นตอนต่างๆโดยละเอียด เมื่อเราไปนั่งอบรมแล้วเราก็จะมีเพื่อน ไปรู้จักเพื่อนๆ ที่เป็นผู้ประกอบการเหมือนกัน และก็พยายามจับกลุ่มกันเอาไว้ เพราะว่าปัญหาเกิดขึ้นแน่ๆ อย่างนั้นเราจะได้มีที่ปรึกษาได้ ” คุณศักดิ์ กล่าว
ส่วนสำคัญต่อมาคือ เวลาที่เราจะทำพวกนี้ เราจะต้องซื้อโปรแกรม สำหรับส่งข้อมูลไปที่กลุ่มส่งออก จะมีบริษัทที่รับจ้างเขียนโปรแกรมขึ้นมาหลายบริษัทเหมือนกัน เราก็ต้องไปเลือกดูว่าบริษัทไหนทำโปรแกรมกรอกข้อมูลง่ายหรือยากไป นอกจากนี้ต้องดูว่าเขามีทีมซัพพอต 24 ชั่มโมงไหม และดูว่ามีการพัฒนาที่เห็นชัดว่ามันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อันนี้ก็คือตัวเลือกที่ควรจะเลือก ถ้าเลือกผิดเนี่ยมันใช้ไปนานเลย ก็คือจะเหนื่อยกับมันไปนานเลย
คุณศักดิ์ เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าในกรณีที่มีประเด็นความเสียหายเกิดขึ้นในแง่ของการขนส่งว่า ที่พบอยู่และไม่เป็นเรื่องแปลกใจอะไรก็คือ สินค้าตีกลับมาจากผู้ซื้อว่าสินค้าไม่ได้คุณภาพ เช่น เฟอร์นิเจอร์ มันจะมีความเพี้ยนของสีบ้างก็จะถูกส่งกลับมา อันนี้ก็แทบทุกหมวดของสินค้าที่ทำการส่งออก จะเกิดสิ่งนี้เป็นเรื่องทั่วไป เคสเฟอร์นิเจอร์ที่เจอถูกตีกลับจาก ยุโรป ออสเตรเลีย ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาตรงนี้ขึ้น ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับจะเป็นของคนที่ทำผิด คนไหนทำผิดคนนั้นก็ต้องเป็นคนจ่ายซึ่งโดยทั่วไปผู้ส่งออกเป็นผู้รับผิดชอบ
ที่ผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบ เพราะว่าทำไม่ได้มาตรฐาน อย่างที่บอกว่าสมมติว่าคุณส่งออกสัก 100 ตู้ เราคาดหวังว่าจะไม่มีผิดสักตู้เลย แต่มันก็มีบ้าง มันเกิดขึ้นได้ แต่รวมทั้งหมดแล้วมันก็เรียบร้อยดี ฉะนั้นถ้าไม่อยากต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเราก็จะต้องทำสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่เขาต้องการให้อยู่ในมาตรฐานของเขาเท่านี้ ปัญหาก็จะไม่เกิด
ข้อควรระวังในการขนส่งสินค้าอีกประการคือ การจองท่าเรือปลายทางต้องบุ๊กให้ถูกต้อง ต้องระมัดระวัง เช่น เราต้องการส่งสินค้าไปที่ท่าเรือโตเกียว แต่เราบุ๊กผิดเป็นโอซาก้า เรือก็จะลากสินค้าเราไปที่โอซาก้า แต่คนรับรออยู่ที่โตเกียว เราก็จะต้องเสียค่าใช้ข่ายลากสินค้าเราไปให้ผู้รับที่โตเกียว ซึ่งค่าขนส่งในต่างประเทศแพงมาก
“อันนี้ยังดีที่อยู่ในประเทศเดียวกัน เราส่งสินค้าไปผิดพอร์ต ผิดท่าเรือ แต่ถ้าเกิดส่งผิดประเทศจะแย่กว่านี้อีก วิธีแก้ไขคือไม่ว่าใครจะเป็นคนจองเรือจองท่าเรือส่งออกจะต้องมีการตรวจสอบซ้ำ ตรวจสอบอย่างละเอียด ถ้าเราส่งออกเองก็รีเช็ก ถ้าจ้างชิปปิ้งก็ต้องเข้าไปเช็คเช่นกัน รวมทั้งต้องดูใบอนุญาตที่จะต้องแสดงสินค้าที่ปลายทางด้วยเราควรจะจัดการให้เรียบร้อย ไม่ใช่มานึกได้เมื่อสินค้าลงเรือออกจากท่าไปแล้ว ถ้าไม่มีใบรับรองบางประเภทก็จะเอาของออกจากท่าเรือไม่ได้” คุณศักดิ์ กล่าว
คุณศักดิ์ได้กล่าวถึงผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 ต่อธุรกิจของเขาว่า โชคดีที่บริษัทได้รับผลกระทบไม่มาก ยอดขายครึ่งปีที่ผ่านมาคงที่ ขยายตัว 10% ทั้งในส่วนของบริษัท พี แอนด์ พี พรีเมียร์ เทรด จำกัด และ บริษัท พี แอนด์ พี พรีเมียร์ โลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งบริษัทได้กำหนด OKR หรือ objective key result วิธีการตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ โดยมี 2 เรื่อง คือ
1. การปรับตัวความปลอดภัยของตัวเองที่ดำเนินงานในที่ต่างๆ คุณภาพของงานให้ไม่ตกกว่าในสภาพปกติ ทั้งความยากลำบากมากกว่าปกติ เหนื่อยกว่าปกติเหนื่อยมากๆ เพราะว่าทีมจะถูกกระจายออกหมดเลย ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่เรา สร้างทีมได้ดี และอีกเรื่องคือให้รักษาลูกค้าเก่า โดยลดราคาค่าบริการ10% ทั้งสองบริษัทเลย
การลดราคาให้กับลูกค้าเดิมนั้น ได้เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน การที่ลดราคาได้ก็เพราะเราเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่ให้เราทำงานง่ายขึ้น และต้นทุนลดลง เราคิดว่าเพื่อนๆ ที่เป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับเรา จะต้องรักษาเขาไว้
ส่วนที่ 2 ก็คือการหาลูกค้าใหม่ จริงๆเรื่องนี้เราทำต่อเนื่องทุกปี มีเทคนิคก็คือเราต้องหาลูกค้าใหม่ตลอด เช่นปีที่แล้วเนี่ยในภาวะแบบนั้นก็ยังหาได้ เราก็เลยไม่ขาดทุนมากนัก ใช้เงินในส่วนของเดิมหดหายไปบ้างแต่ของใหม่มันก็เข้ามาทดแทน ต้องหาวิธีตัดเพื่อจะเติมสิ่งใหม่ๆเข้ามา เช่น ติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่สามารถติดตามดูสเตตัสของตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาว่าตอนนี้อยู่ที่ไหนแล้ว
คุณศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายสำหรับการแนะนำผู้ประกอบการส่งออกว่า ในปัจจุบันโอกาสของประเทศไทยเนี่ยมีมากขึ้น การส่งออกมันดีมาก คิดว่าเราสามารถจับมันได้ถ้าเราทำถูกวิธี อยากให้ทุกคนมีกำลังใจ ตลาดมันเป็นโกลบอลที่เราสามารถขายไปในตลาดทั้งหมดนี้ได้ โดยวิธีการใหม่ๆ แพลตฟอร์มและช่องทางใหม่ๆ แต่ประเด็นสำคัญคือสินค้าที่เราจะขาย ควรจะได้มาตรฐานจริงๆ และเราต้องค้นหาคุณค่าสินค้าของเราให้ได้ว่าสินค้าของเรามีคุณค่าอะไรที่มันมีความแตกต่างมีความพิเศษมากๆ ที่เขาเห็นแล้วจะต้องซื้อ นั้นแหละครับ ผมว่ายังไงก็ขายได้ เพราะโลกทั้งใบเนี่ยไม่มีทางที่ใครจะชอบสิ่งเดียวกันได้ มันจะมีคนชอบแตกต่างกันเสมอ อย่าไปเชื่อว่าเขาจะชอบอย่างเดียวเพราะนั้นอยากให้ทุกคนคิดว่าเราทำได้แน่นอน
รับชมวีดีโอ คลิก https://www.youtube.com/watch?v=ftoq7DYzqCU&t=17s
-
Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’
วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...
29.11.2021