Exporter World Talk

Exporter World Talk EP:12 ‘ตู้คอนเทนเนอร์เย็น ซัพพลายเชนที่มาแรง ’

วันที่ 12 มีนาคม 2564

Exporter World Talk EP: 12 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า  เชิญคุณจัตุเดช คุปตาภา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยรีเฟอร์เอ็กซ์เพรส จำกัด มาสนทนา ในเรื่อง ‘ตู้คอนเทนเนอร์เย็น ซัพพลายเชนที่มาแรง ’ เป็นการแบ่งปันประสบการณ์รับมือกับสถานการณ์การค้าและการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของผู้ประกอบการรายใหญ่

คุณจัตุเดช เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของธุรกิจว่า บริษัทไทยรีเฟอร์เอ็กซ์เพรส ก่อตั้งมานาน และปีนี้ก็ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 โดยเขาเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2  ที่เข้ามาสานต่องานของครอบครัว บริษัทไทยรีเฟอร์เอ็กซ์เพรส เป็นธุรกิจ SME ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก EXIM BANK ในการขยายธุรกิจ ตอนนี้เป็นกลุ่มบริษัทไปแล้ว ธุรกิจหลักๆที่ทำเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด โดย ยกตัวอย่างบริษัทไทยรีเฟอร์ก็จะเป็น บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ บริษัทมิสเตอร์เอ็กซ์เพรส ก็จะเป็นบริษัทซ่อมตู้คอนเทนเนอร์ บริษัทดีเฟอร์อินเตอร์ ก็จะเป็นบริษัทล้างตู้คอนเทนเนอร์ เรามีล้างตู้คอนเทนเนอร์อยู่ที่แหลมฉบัง มหาชัย สงขลา และ สะเดา

สำหรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  ขอไล่เรียงจากตัวบริษัทก่อนนะ เราต้องเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นอย่างมาก เริ่มต้นจาก work from  home ซึ่งแต่ก่อนเราก็ไม่เคยคิดว่าจะสามารถ work from home ได้ ก็โชคดีที่เราทำระบบไว้ค่อนข้างดี  สามารถจะทำให้คนที่ออฟฟิศส่วนหนึ่งทำงานที่บ้านได้  ช่วงนี้ก็ไม่ต้องสแกนนิ้วมือเพื่อเข้าทำงาน เวลาพนักงานไปทำงานนอกสถานที่ หรือ ลูกค้ามาหาเรา ก็จะมีระบบคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ เป็นต้น

“ในกรณีที่ลูกค้าต้องการตู้คอนเทนเนอร์ และมาดูก็ยังต้องสัมผัสกันอยู่ในระดับหนึ่ง
ยกตัวอย่างต้องการส่งออกตู้ เราก็เตรียมตู้คอนเทนเนอร์พร้อม เพื่อที่จะให้ลูกค้าส่งออกไม่ว่าจะเป็นการล้างตู้คอนเทนเนอร์ภายใน การซ่อมตู้คอนเทนเนอร์ การเตรียมเครื่องทำความเย็น ศัพท์เทคนิคเขาเรียกว่า P I Reception เตรียมจนตู้พร้อมที่จะส่งออก  ดังนั้นบริษัทสามารถให้บริการได้ตามปกติ” คุณจัตุเดช กล่าว

ทางด้านลูกค้าหลักของบริษัท ก็มีอย่างลูกค้าของเราส่วนหนึ่งในการส่งออกโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เย็น อย่างที่แถวมหาชัยลูกค้าหลักของเราจะเป็น อาหารแช่แข็ง Frozen food   ผัก และ ผลไม้ ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่าที่มหาชัยหลักๆ เลยจะเป็นอาหารแช่แข็ง
ก็คือจะเป็นโรงงานจะเป็นโรงงานที่แปรรูปอาหาร ถ้าเป็นทางมหาชัยจะเป็นโรงงานที่แปรรูปอาหาร แล้วก็จะทำให้อาหารแช่แข็งใส่ตู้คอนเทนเนอร์แล้วก็ส่งออกไป ประเทศต่างๆ แต่ถ้าจะเป็นทางด้านผลไม้ก็มีอย่างพวกล้งที่ส่งออกรายใหญ่

คุณจัตุเดช กล่าวว่า ลูกค้าที่ขนส่งอาหารแช่งแข็งด้วยตู้คอนเทนเนอร์เย็น ส่วนใหญ่จะส่งออกไปทาง อเมริกา ญี่ปุ่น และ ยุโรป ส่วนที่นำเข้ามาก็จะเป็นแบบการนำเข้าวัตถุดิบ พวก material นำเข้ามามากจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และ จีน แล้วก็มีบางส่วนที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นและอเมริกา ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกปลาตัวใหญ่เป็นตัว เพื่อนำมาแล่จำหน่ายเป็นปลาสด ซึ่งช่วงที่ความต้องการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์เย็นมากๆ จะเป็นช่วงก่อนคริสต์มาสที่ประเทศคู่ค้าจะสั่งนำเข้าสินค้าไปสต๊อกไว้ก่อน

“ที่ผ่านมาไม่มีปัญหาเรื่องตู้ตอนเทนเนอร์ขาด มาเกิดในช่วงโควิดนี่แหละ เพราะว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นและตู้ไปติดอยู่ตามโรงงานตามท่าเรือที่ต่างประเทศที่ติดเรื่องโควิด คือจะทำงานได้ช้า ทำให้การขนส่งช้าลง ก็เลยไปติดอยู่ตรงนั้นแล้วก็ส่งกลับ นอกจากนั้นเมื่อเกิดการล็อกดาวน์ เมื่อคนไม่ได้ไปเที่ยวก็จะใช้จ่ายสูงขึ้น ในการซื้อของเข้าบ้านมากขึ้น ก็เลยทำให้ตู้ขาดตลาด” คุณจัตุเดช กล่าว

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา หากเราเป็นผู้ส่ออก ถ้าเราจะเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหา การจองตู้โดยหลักมันก็ต้องจองกับสายเรือ ไม่ได้จองกับบริษัทที่ให้บริการตู้คอนเทนเนอร์ โดยตรง ซึ่งทางสายเรือก็จะมาแชร์ข้อมูลกับผู้ให้บริการตู้คอนเทนเนอร์อีกที ก็ต้องแนะนำว่าก็คือ มันไม่ได้จริงๆยกเว้นว่าถ้าเกิดเรามี shipment ยกตัวอย่างชิปเม้นท์ปลายทางมาเลเซียหรือสิงคโปร์เราก็อาจจะมองหาวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็น cross-border โดยใช้รถ หรือใช้เรือ เราก็ลองมามองใช้รถดู หรือว่าอาจจะต้องมองว่า ใช้การแชร์ได้ไหมบางอย่างอาจจะใช้การแชร์ได้ ก็ต้องหาวิธีอื่นไปเลยเพราะว่าเวลาตู้ขาดมันทำอะไรไม่ได้มาก

คุณจัตุเดช กล่าวว่า ก่อนโควิดระบาด บริษัทก็ขยายตัวมาเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้หวือหวาอะไร เวลาเราเจอโควิดเนี่ย ก็ถือว่ากระทบในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ถึงกับต้องเลิกจ้างคน หรือว่าหยุดทำงานอะไรอย่างนี้  ในช่วงนี้ก็ทำให้เราดูธุรกิจใหม่ๆ ด้วย อย่างเช่น Cross Border การขนส่งแบบคู่ขนาน คือถ้าเกิดสายเรือตู้ช็อตงานน้อย  เราก็มีธุรกิจอื่นๆที่จะมาเสริมไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถยนต์ ขนส่งทางรถไฟ ดีไหมอะไรประมาณนี้

ในแง่ของการทำธุรกิจกับโลจิสติกส์กับไทยเอง และต่างประเทศ  การแข่งขันมีดุเดือดทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในต่างประเทศ ที่สมัยก่อนเมื่อไม่นานมานี้สายเรือก็จะรวมตัวกันเพราะว่ามันแข่งขันกันสูงมากอย่างที่เห็นว่าเป็นตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้  ก็จะมี 3 สายเรือที่มาลงรวมกันในสายเดียว เพราะว่าการแข่งขันมันสูงมากเขาก็เลย มารวมตัวกันและอันนั้นก็เป็นระดับสายเรือไงครับ แล้วถ้าเป็นระดับรองลงมา ระดับตู้คอนเทนเนอร์ก็มีการแข่งขันสูงเหมือนกัน อย่างระดับขนส่งโดยใช้รถก็มีการแข่งขันสูงเหมือนกัน เพราะมีการแข่งขันสูงมากๆเราก็เลยต้องพยายามทำหลายๆอย่างเพื่อที่จะเป็นจุดแข็งเพื่อให้เรามีจุดแข็งหลายๆทาง และสามารถที่จะแข่งขันในตลาดได้ รวมถึงการ สอน AEO (Authorized Economic Operator: AEO ) ด้วย ก็คือ เป็นอีกออฟเฟอร์หนึ่งที่เราสามารถที่จะเสนอให้ลูกค้าได้

ทั้งนี้   AEO คือมาตรฐานในการรักษาความปลดภัย และการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ กำหนดโดย องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO)  เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้า-ส่งออก หรือเป็นตัวแทนออกของ (Custom Broker) สินค้าไปยังสหภาพยุโรป โดยต้องมีการดำเนินงานที่ปลอดภัยครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทน ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบกิจการท่ารถ คลังสินค้า ผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น

AEO เหมือนเป็นมาตรฐานโลกในด้านการส่งออกและนำเข้า  ซึ่งเวลาได้มาตรฐานแล้วเราก็ต้องปรับเปลี่ยนคือ ทางศุลกากรก็จะมาตรวจว่าบริษัทเราว่าเราทำงานถูกต้องตามมาตรฐาน AEO หรือเปล่า เพื่อเขาจะได้มั่นใจว่าบริษัทนี้ทำงานถูกต้องมีความเสี่ยงน้อย ในการนำเข้าส่งออกของจะมีความปลอดภัยทำให้การส่งต่อสินค้า การออกของสินค้าทำได้รวดเร็ว  เช่น การขนส่งสินค้าจากสปป.ลาวผ่านไทย สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีท่าเรือ เพราะไม่มีทางออกติดทะเล หลายๆอย่างก็จะต้องผ่านประเทศไทยเป็นการ Transit และอย่างบริษัทไทยรีเฟอร์ สามารถมี AEO ก็จะสามารถทำ  Transit shipment ได้ จาก

แหลมฉบังไปที่ลาวได้โดยที่ไม่ต้องทำ Import และทำ RE-Export ไป สปป.ลาว แต่ถ้าบริษัทไหนไม่ได้รับ aeo ก็จำเป็นที่จะต้อง Import ของเข้ามาก่อนแล้วค่อยส่งออกไป ซึ่งเขาก็จะหาบริษัทที่มี AEO เพราะสะดวกกว่า

“ของกลุ่มบริษัท ไทยรีเฟอร์ที่ได้รับมาตรฐานตรงนี้เพราะอันนี้มันก็คือเป็นการการันตีที่เป็นบริษัทที่มีมาตรฐานและรักษาความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และสามารถที่จะทำ Transit shipment ไปยังประเทศที่ไม่มีท่าเรือเช่นประเทศลาวได้ “คุณจัตุเดช กล่าว   

อย่างไรก็ดี การให้บริการของบริษัท มีทั้งการให้บริการเช่าตู้คอนเทนเนอร์ และขายตู้คอนเทนเนอร์  ก็ต้องแล้วแต่ลูกค้าว่าจะเลือกทางไหน อยากใช้บริการอย่างไร อย่างถ้าเป็นการเช่าตู้ก็จะลงทุนน้อยกว่า ในช่วงแรกในระหว่างการเช่าทางบริษัทเราก็จะมีการดูแลตู้ คือถ้าตู้เสียหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องตู้ก็จะโทรหาทางเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเราจะมีช่าง support แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้ตลอดเวลาเพราะว่าของที่อยู่ในตู้มีมูลค่า  ดังนั้นเวลาตู้เสียเราก็จะไปเดี๋ยวนั้น และการเช่าลูกค้าสามารถเช่าเป็นรายวันหรือรายเดือนก็ได้ หรือจะนานมากกว่านั้นก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าลูกค้าอยากจะซื้อตู้คอนเทนเนอร์เลย ก็จะมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่อาจจะสูงนิดนึง แต่ถ้าจะใช้ตลอดไปเป็นระยะยาวก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกว่า

“การจำหน่ายตู้หรือว่าผู้ประกอบการที่ซื้อตู้ไป เขาจะเอาตู้คอนเทนเนอร์เย็นไปตั้งไว้ที่โรงงานเพื่อเก็บรักษาสินค้าเพื่อไม่ให้เน่าเสีย ก่อนที่จะส่งออก ลูกค้าที่ทำงานด้านนี้ก็จะมีห้องโชว์รูมเป็นห้องเก็บสินค้า บางทีห้องไม่พอบ้าง บางทีเครื่องเสีย ชำรุดจะต้องหาห้องเย็นอย่างตู้คอนเทนเนอร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะไปแก้ไขปัญหาทางลูกค้าได้ และอีกอย่างหนึ่งถ้ามีลูกค้าที่เช่าตู้ไปส่งของแล้วไม่เอาตู้คืน คือตู้ไปแล้วไปเลย ก็ต้องเป็นลักษณะซื้อตู้เอา มีเหมือนกันนะครับที่ซื้อตู้แล้วส่งของไปประเทศที่ไม่มีของกลับมาหรือหาของกลับมายาก” คุณจัตุเดช กล่าว

สำหรับค่าบริการเช่าตู้คอนเทนเนอร์มีราคาเป็นหลักหมื่น แต่ถ้าซื้อเลยก็เป็นหลักแสนบาท ราคายังไม่ขยับขึ้น เป้นราคานี้มาตั้งแต่ก่อนโควิคระบาด คือราคาตู้เย็น ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่ที่จะเปลี่ยนเป็นราคาตู้แห้ง และราคาขนส่ง เป็นราคาท่าเรือดังนั้นหลัง covid ก็จะราคาสูงกว่าก่อน covid ประมาณ 2-3 เท่าเลย

“ในเรื่องของตู้คอนเทนเนอร์ ผมอยากจะแนะนำว่า เวลาผู้ประกอบการใช้หรือเลือกใช้บริษัทที่จะส่งออกหรือนำเข้า จะแนะนำให้เลือกใช้บริษัทที่มีประสบการณ์ที่อาจจะราคาไม่ได้ดีที่สุด แต่มีประสบการณ์และผ่านการทำงานมาแล้ว เวลามีปัญหาเราจะสามารถแก้ให้ได้ ไม่ใช่เราไปเอาบริษัทที่ราคาต่ำที่สุด แต่ว่าส่งงานไม่ดีถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาในที่สุดแล้วทางผู้ประกอบการอาจจะต้องจ่ายเยอะกว่าเยอะเลยเวลามันมีปัญหา  หากสนใจสอบถามข้อมูลหรือใช้บริการของเรา ก็สามารถติดต่อได้เลยทางเว็บไซต์ของเรา ไทยรีเฟอร์ dot co.th หรือว่าทางFacebook ไทยรีเฟอร์หรือทาง LINE ก็ได้เหมือนกัน” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยรีเฟอร์เอ็กซ์เพรส กล่าว
 

รับชมวีดีโอ คลิก  https://www.youtube.com/watch?v=LhGDowE-kMA&t=1s

 

 

Most Viewed
more icon
  • Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’

    วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’

    วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...

    calendar icon29.11.2021
  • Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’

    วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...

    calendar icon29.11.2021