Exporter World Talk

วันที่ 5 มีนาคม 2564
Exporter World Talk EP:11 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณภรภัทร พันธ์งอก อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา มาสนทนา ‘ อัปเดตสถานการณ์การค้ากับทูตพาณิชย์อินโดนีเซีย’ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลแนะนำช่องทางทำการค้าและตลาดต่างประเทศ ของประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะขยายตลาด ขยายการค้า และการลงทุน ได้ความรู้และข้อมูลประกอบการตัดสินใจทำธุรกิจ
คุณภรภัทร กล่าวถึงภาพรวมของประเทศอินโดนีเซียว่า ก่อนที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาด เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องปีละ 5% ไม่มีตก ในส่วนของการค้ากับไทยมีเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ประมาณ 1.4-1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ พอมีโควิดเข้ามาเมื่อเดือนมีนาคม 2563 สถานการณ์ก็เหมือนประเทศอื่น GDP ของอินโดนีเซียปีที่แล้วติดลบ 2.07% เป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในเอเชียเมื่อปี 2547 การเจริญเติบโตค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ เพราะว่ามีตลาดค่อนข้างใหญ่และมีจำนวนประชากรที่มีกำลังซื้อ และมีชนชั้นกลางประมาณ 50 ล้านคน
การที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศลดลง ก็ทำให้การผลิตลดลงเช่นกันเพราะไม่ได้มีความต้องการสินค้ามาก มีการลดเวลาทำงาน ก็เลยทำให้ความสามารถในการซื้อสินค้าน้อยลงด้วย แต่ว่าหลังจากเกิดวิกฤตโควิดทางรัฐบาลอินโดนีเซียก็ออกมาตรการควบควบคุมกิจกรรมต่างๆ แปลว่า เขาก็พยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนกัน ส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดน่าจะเป็นเกาะชวา เพราะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และเกาะบาหลี ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในเชิงบริการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นในเกาะชวาก็ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะลดลงค่อนข้างมากมาตรการต่างๆที่ภาครัฐพยายามใช้เข้ามาอาทิตย์ที่แล้วก็เรื่องโครงการสนับสนุน SMEs มีการฝึกฝนพนักงานเตรียมพร้อมเปิดรับ เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ เป็นต้น มีการให้มาตรการสนับสนุนภาษีทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยความคาดหวังว่ามาตรการเหล่านี้จะคงสภาพเศรษฐกิจไม่ให้ย่ำแย่มากไปกว่านี้ ปีที่แล้วการนำเข้าของอินโดนีเซียลดลง 7. 35% แต่การส่งออกไม่ได้ลดลงมากเท่า ลดลงแค่ 2.61% ส่วนการส่งออกของไทยไปอินโดนีเซียลดลง 15. 9 8 % ส่วนการนำเข้า 6.40%
“เมื่อพูดถึงโควิด การนำเข้าสินค้า สินค้าตัวไหนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มันคือผลิตภัณฑ์อะไรเป็นพิเศษ หนึ่งในสิบสินค้าที่เราค้าขายระหว่างกัน ไทยนำเข้าสินค้าทางด้านพลังงาน และเราส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์เคมีภัณฑ์ หรือไม่ก็อุปกรณ์สำเร็จรูป รวมถึงประเภทอาหาร เท่าที่เช็คดูลดลงแทบทุกรายการเพราะว่าอุตสาหกรรมภายในเขาลดการผลิต เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้โดยเฉลี่ยแล้ว การนำเข้าจากไทยลดลงถึง 15% และในบรรดาการลดลงตัวไหนดูแล้วได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และตัวไหน เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นน่าจะถ่ายฉายแวว ให้ผู้ส่งออกไทย หลักๆ ที่ไม่น่าลดลงเลยก็คืออาหาร เพราะว่าอาหารเป็นเรื่องสำคัญ อินโดนีเซียนำเข้าอาหารค่อนข้างเยอะจากไทย นำเข้าเป็นอันดับที่ 6 ปีที่แล้วก็ประมาณ 1, 200 กว่าล้าน นำเข้าทั้งวัตถุดิบ และอาหารสำเร็จรูปและสิ่งสำเร็จรูป ถ้าเอาเข้ามาเป็นวัตถุดิบหรือกึ่งสำเร็จรูปเราก็จะเอามาพัฒนาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศเป็นหลัก อันนี้คือเป้าหมายหลักของการผลิตและท่านเหลือจากนั้นค่อยส่งออก จริงๆอินโดนีเซียกำลังพัฒนาสร้างโครงการพื้นฐาน เพราะเขาเป็นเกาะ ฉะนั้นรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสร้างโครงการพื้นฐาน พื้นฐานก็คือจะทำให้อุปกรณ์ก่อสร้าง ยังคงอยู่ เพราะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ต่อไปพวกอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเป็น commercial ก็จะ มีความต้องการที่น้อยลง เพราะฉะนั้น อินโดนีเซียเริ่มฉีดวัคซีนกันแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม ความคาดหวังของรัฐบาลคือการ โครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียกลับมาฟื้นตัวไวขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อเขาวางโครงการแล้วความคาดหวังก็น่าจะกลับมา ค่อนข้างสูงและคาดหวังว่าอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ ซึ่งรวมทั้งอุตสาหกรรมปกติและอุตสาหกรรมที่กำลังจะพัฒนา จะมีการทำต่อเนื่องต่อยอดต่อไป
ที่ว่าอาหารไทยยังส่งออกมาที่อินโดนีเซียได้มาก เนื่องจากโดยภาพรวมแล้วชาวอินโดนีเซียนิยมทานอาหารจากไทย เราผลิตโดยมาตรฐานInternational และในส่วนของการเป็นอาหารฮาลาล จริงๆเราก็มีตราฮาลาลของเขา ทีนี้คำว่าฮาลาลในส่วนของอินโดนีเซียแล้ว เขาออกพ.ร.บ.ฮาลาลรับรอง ซึ่งครอบคลุมสินค้าอย่างเช่น อาหาร เครื่องสำอาง และอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งบริการทางธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจก็อาจจะหมายถึงว่ากระบวนการผลิตกระบวนการจัดเก็บวัตถุ การเคลื่อนย้ายสินค้าการตลาด
ในส่วนของพ.ร.บ.ฮาลาล ฉบับนี้ประกาศใช้มาประมาณ 5 ปีกว่า ด้วยความที่อินโดนีเซียเองก็ต้องพัฒนาสินค้าของเขา ใช้มาตรฐานนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากสินค้าประเภทอาหารก่อน เพราะฉะนั้นก็คือว่าถ้าผู้ส่งออกไทยต้องการที่จะส่งออกฮาลาล ไปอินโดนีเซียก็จะต้องแสดงเจตจำนง ขอเข้าไปที่สินค้าฮาลาล แล้วจะได้เข้าไปในกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เพราะ เพราะอินโดนีเซียมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ถึงแม้สินค้าจะไม่ใช่ฮาลาลก็เข้าได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีฮาลาลจะมีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการกลาง มีการทำการตกลงทำการยอมรับตราฮาลาลร่วมกัน เขาจะมีการต่ออายุการรับรองมาตรฐานตราฮาลาลประมาณปี 2 ปี อันนี้ในส่วนของอินโดนีเซียเองการเข้าขายอาหาร เขาก็มีกฎระเบียบ มีความซับซ้อนพอสมควร แต่จะมี ฉบับนึงที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการส่งสินค้า ฮาลาลสักหน่อยนึงก็คือเขาจะยอมรับตามมาตรฐานของอินโดนีเซียเท่านั้น ด้วยความที่กฎระเบียบภายในประเทศก็เลยต้องนำหลายๆท่านมาหารือกันเพื่อให้ดำเนินการให้สอดคล้องกันในชั้นแรก เห็นว่าสินค้าอาหารไทยเป็นสินค้ามีศักยภาพ เพราะฉะนั้นสามารถผลักดันได้และนำเข้ามาศึกษากระบวนการวิธีการจะทำให้เข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียได้
“ความเป็นอาเซียนในความที่เราอยู่ในอาเซียนด้วยกัน เราได้รับสิทธิประโยชน์ว่า ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเราเป็นยังไงบ้าง เช่นเทียบกับจีน ที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ สินค้าประเทศจีนที่นำเข้ามา ค่อนข้างเยอะ แต่ว่าด้วยความที่เราเป็นอาเซียน ต้องแสดงว่าสินค้าของไทยเราเป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดตามกฎเกณฑ์ หน่วยงานที่รับดำเนินการเรื่องนี้ก็จะเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับการค้าในต่างประเทศคัดกรองในสะดวกยิ่งขึ้น กฏระเบียบเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ สิ่งเหล่านี้ สามารถที่จะพูดคุยหรือสอบถามกับบทการขั้นตอน ปกติก่อนที่จะมีโควิดเราเปิดรับผู้ส่งออกที่เดินทางมาอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันเราเดินทางไม่ได้ก็จะ คุยกันทางโทรศัพท์ ทางบริษัทก็จะมีให้บริการเช่นกัน นัดเวลามาและแจ้งรายละเอียด จะว่าไปก็อาจจะง่ายกว่าเดิมด้วยซ้ำเพราะไม่ต้องเดินทางแต่ก็สามารถพูดคุยกันได้ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำนักงานดำเนินการ” คุณภรภัทร กล่าว
สำหรับการค้าขายออนไลน์นั้น ถ้าจะ พูดถึงโครงสร้างพื้นฐานโดยปกติ อินโดนีเซียอาจจะกำลังพัฒนาอยู่ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องดิจิทัล อินโดนีเซียมีความเข้มแข็งมาก การใช้มือถือเข้าอินเตอร์เน็ตการซื้อขายแผ่นฟอร์มต่างๆ กระจายได้ว่องไวมากถึงแม้ว่าเป็นเกาะ ดังนั้นแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์และอีคอมเมิร์ซของเข้มแข็ง พอมาช่วงโควิดระบาดก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น คือถูกบังคับให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นไปทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ แพลตฟอร์มเหล่านั้นก็มีพัฒนาการยิ่งขึ้น แต่อินโดนีเซียยังไม่เปิดรับการเปิดร้านออนไลน์ของผู้ประกอบการต่างประเทศ เพราะฉะนั้นในแพลตฟอร์ม ที่ถ่ายสามารถเปิดบริการร้านออนไลน์ได้ก็คือ มิลกี้ดอทคอม ช้อปปี้ อะไรพวกนี้คือเปิดได้แล้วปกติ คนอินโดนีเซียช็อปออนไลน์ค่อนข้างเยอะ ถ้าประมวลผลทางออนไลน์ ทางแพลตฟอร์ม ก็จะสร้างผลการเรียนรู้กับผู้บริโภคของอินโดนีเซีย และที่สำคัญการสร้างการรับรู้ให้กับผู้นำเข้าคือการทำความนิยม มาตรฐานนานาชาติให้สินค้าไทย เพราะฉะนั้นที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค การรับรู้ให้กับผู้นำเข้า และก็สินค้าเรามีแบรนด์ เพราะฉะนั้นที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้กับผู้บริโภค อีกอย่างก็คือการขึ้นแพลตฟอร์ม เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะสื่อให้กับเขารู้ว่าสินค้าเราดีอย่างไร มีคุณค่า เราก็ต้องพยายามเรื่องการสื่อสาร ทีนี้ประเด็นสำคัญคือปัจจุบันอินโดนีเซียมีการแข่งขันค่อนข้างสูงในตลาด แต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังมีโอกาสเปิดทางให้ผู้นำเข้า และจะได้นำไปสู่การเจรจาธุรกิจในที่สุด
“จริงๆแพลตฟอร์มไทย สตาร์ทอัพไทย มีในอินโดนีเซียมาก จริงๆเราสามารถร่วมมือกันในด้านอื่นๆ ได้ อาจจะเป็นเรื่องระบบเพราะจริงๆเราก็เก่งด้าน System เหมือนกัน สามารถตอบแทนกัน อย่างเช่นยกตัวอย่างถ้าเป็น project อันนี้ไม่ใช่แพลตฟอร์ม e-commerce แต่เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ อันนั้นเขาร่วมมือกับผู้ประกอบการไทย ในประเทศไทย ตอนนี้จะตัดเอาของเรามาลงทุนที่เขาเพื่อที่จะขยาย แพลตฟอร์มของเราหรือไม่ ก็เอาอินโดนีเซียไป up Project เพื่อที่จะขยายแพลตฟอร์มมาไทย ลักษณะนั้น ที่นี้ แอพพลิเคชั่น มี แพลตฟอร์มต่างๆมีรูปแบบ ที่หลากหลายมาก
คุณภรภัทร กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิดระบาด อินโดนีเซีย จำกัดการเดินทางเพราะฉะนั้นในชั้นนี้ยังไม่ได้มีการประกาศว่าให้มีการเดินทางเข้าประเทศได้ แต่จริงๆ แล้ว นักธุรกิจสามารถที่จะยื่นเรื่องขออนุญาตเดินทางเข้ามาในอินโดนีเซียได้ มันจะมีขั้นตอนรายละเอียดต่างๆ คือมีขั้นตอนเขาจะกำหนดว่าผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศจะต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง ถ้ามาในเชิงธุรกิจอาจมีแนวโน้มมากกว่า
ส่วนที่มีการสอบถามเข้ามาว่า อยากส่งออกเครื่องดื่มชูกำลังไปขายในอินโดนีเซีย จะทำอย่างไรได้บ้าง ตามปกติเราจะมีลิสต์รายชื่อผู้นำเข้า ในแต่ละสินค้า ท่านผู้ประกอบการสามารถส่งรายละเอียดสินค้า และโปรไฟล์ต่างๆจะทำให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตาพิจารณาได้ง่ายมากขึ้น และส่งรายชื่อผู้ประกอบการนำเข้า ที่ตรงกับสินค้า ให้เราดำเนินการ ทั้งนี้สินค้าเครื่องดื่มชูกำลังในอินโดนีเซียต้องอยู่ภายใต้ฮาลาล แต่จริงๆตอนนี้เครื่องดื่มที่นิยมก็ต้องเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อินโดนีเซียมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในช่วง ในช่วงนี้เยอะมาก ตลาดเครื่องดื่มกำลังขยายตัว เครื่องดื่มชูกำลังก็ยังมีไม่มากนักสามารถยังนำเข้ามาได้ แต่ว่าอาจจะต้องมีขบวนการเป็นพิเศษ ที่บอกว่าเครื่องดื่มชูกำลังนั้นมีส่วนผสมของอะไรใดๆบ้าง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องไปตามขั้นตอนรายละเอียดของสิ่งที่เราเคลม ที่จะต้องอธิบายให้หน่วยงานเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าเราผ่านฮาลาลของเขาอันนี้ก็ ดีเลย มันก็เป็นความเชื่อมั่นของแบรนด์ด้วย
สำหรับสินค้าไทยในตลาดอินโดนีเซีย มีแบรนด์ไทยอะไรที่ประสบความสำเร็จหรือเป็นที่รู้จัก กับผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียอย่างมาก ถ้าเป็นเรื่องเครื่องดื่มต้องเป็นชาไทย ชาตรามือ มีขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ทุกห้างต้องมีชาตรามือ ก็ทำให้เปิดกระแสการเปิดร้านชาและมีเมนูไทยที แต่ตลาดเครื่องดื่มอินโดก็คือจะค่อนข้างหลากหลาย เพราะฉะนั้นการแข่งขันก็จะค่อนข้างสูง
ทางด้านแฟรนไชส์ไทย ที่ติดตลาดในอินโดนีเซียคือ greyhound ก็จะมีร้านอาหารเป็นตราสัญลักษณ์ Thai Celeb ด้วย เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเกรย์ฮาวเป็นแฟรนไชส์อาหาร ที่ใช้วัตถุดิบไทยและมีรสชาติที่ดั้งเดิมจริงๆ ส่วนแฟรนไชส์อื่น อินโดนีเซียสนใจแฟรนไชส์ชาเหมือนกัน ถ้าผู้ประกอบการสนใจก็มาถามได้ มันจะมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นปีนี้ของอินโดนีเซียกำหนดไว้ สำหรับชาวต่างชาติคือ 19 %
“ปัจจุบันเราเดินทางไม่ได้ ต้องบริการออนไลน์เป็นหลัก ทางสำนักงานมีการเชิญผู้ส่งออกและผู้นำเข้ามาแม็ทชิ่งกัน อันนี้เป็นกิจกรรมในส่วนของสำนักงานเองปกติผู้บริการ จากเมื่อก่อนจากที่ต้องเดินทางมาถึงที่ เราก็จะได้คุยกันได้เศรษฐกิจข้อมูลสินค้ารวมและข้อมูลอื่นๆทั่วไปเช่นความนิยมของผู้ประกอบการลักษณะบุคลิกเป็นยังไงบ้าง หรือ ถ้าอยากเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมา วางรากฐานการค้า ในแดนอิเหนา เราทำแบบนั้น เพราะจริงๆแล้วเราต้องการความคาดหวังให้กับสินค้าของเราเอง ก็เป็นธรรมดาการข้ามน้ำข้ามทะเลก็จะต้องเจอพายุเล็กน้อย ไทยกับอินโดนีเซียก็คล้ายๆกันขอให้ผู้ประกอบการเองมีการมุ่งมั่นบุกเบิกต่อยอด ชาวอินโดนีเซียกับชาวไทยเหมือนกันคือถ้าเมื่อเชื่อใจแล้วก็จะดำเนินธุรกิจแบบ long term Business relationship ระยะยาว อยากให้คู่ค้าของอินโดนีเซียมาเชื่อมโยงกับเรา ให้มากขึ้นในส่วนของสำนักงานจากาต้าเองก็ ยินดีที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของท่าน “ คุณภรภัทร กล่าวทิ้งท้าย
รับชมวีดีโอ คลิก https://www.youtube.com/watch?v=g1BayiEOYzc&t=276s
-
Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’
วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...
29.11.2021