Exporter World Talk

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
Exporter World Talk EP:05 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญคุณเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาคุยในเรื่อง "วิกฤติโควิด-19 กับสินค้าส่งออกไทย" เป็นการแบ่งปันประสบการณ์รับมือกับสถานการณ์การค้าและการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของผู้ประกอบการรายใหญ่
คุณวาทิต เปิดเผยว่า ธุรกิจในเครือสหพัฒนพิบูลมีหลากหลายมาก มีทั้งการขายในประเทศและการส่งออก มีการแยกไลน์การผลิตและจำหน่ายที่ชัดเจนหลายสินค้าทั้ง สายแฟชั่น เครื่องสำอางค์ สินค้าอุปโภคและบริโภค เช่น มีบริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า ส่งมาให้จำหน่ายสหพัฒนพิบูลย์จำหน่าย
“ต้องยอมรับว่าโควิคโจมตีหนักเหมือนกัน แต่ว่าไปในสายของแฟชั่น เครื่องสำอาง เรามีโรงงานผลิตเครื่องสำอางค์มีโรงงานผลิตเท็กซ์ไทล์เสื้อผ้าเยอะแยะมีทั้งส่งออก และ OEM ได้รับผลกระทบหนักมากหลายโรงงานที่เคยผลิตเสื้อผ้าขาย เนื่องจากคนไม่เดินห้างสรรพสินค้า ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่ โรงงานเหล่านี้จึงหันไปผลิตชุดพีพีอี ชุดป้องกันการติดเชื้อ โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตเครื่องหนังต่างๆ ไม่มีดีไซน์แล้ว ใครจ้างเย็บอะไรก็เย็บทั้งหมดเลย ผมก็ได้รับการแชร์มาจากโรงงานหนึ่งว่า มีบริษัทจากอเมริกามาจ้างเย็บถุงห่อศพ จำนวนมากก็ต้องรับงานถึงจะไม่อยากทำเพราะงานไม่มีคุณค่าด้านดีไซน์ แต่ช่วงแห่งความยากลำบากมีออเดอร์ก็ต้องทำ
สำหรับสินค้าของสหพัฒน์ ในส่วนของสินค้าบริโภคอย่าง บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง เครื่องดื่ม ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีการขยายตัวอยู่ ” คุณเวทิต กล่าว
ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น จำเป็นที่เครือสหพัฒน์จะต้องรักษาสมดุลให้ดีระหว่างการผลิตสินค้าป้อนในประเทศและการส่งออก เพราะในประเทศต้องไม่ให้สินค้าขาดแคลนในขณะที่ต่างประเทศก็มีความต้องการสินค้าสูง และความต้องการสินค้าในประเทศก็เปลี่ยนแปลงไป ความต้องการสูงจะมาอยู่ในช่วงปลาย เดือนมีนาคมถึงเมษายน แต่หลังจากนั้นก็เงียบ ประเทศไทยไม่มีการแตกตื่นซื้อสินค้าจากความกลัวโควิด-19 อีกแล้ว เมื่อดีมานด์ในประเทศนิ่ง เมื่อมีออเดอร์ต่างประเทศเข้ามาก็สามารถไปผลิตเพื่อเสริมการส่งออกได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นออเดอร์เพิ่มจากลูกค้ารายเดิม ส่วนลูกค้ารายใหม่ไม่เพิ่มมากนัก
ทั้งนี้ ความต้องการสินค้าในต่างประเทศยังมี แต่การส่งออกก็ไม่สะดวก อุปสรรคสำคัญคือการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือแพงมาก ผู้ประกอบการเผชิญปัญหานี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว คือว่า ประเทศจีนฟื้นตัวจากโควิดเร็ว เขาก็คลายล็อคดาวน์ก่อน เปิดกำลังการผลิตได้ ช่วงก่อนคริสต์มาสตลาดอเมริกามีออเดอร์ไปที่จีนและเวียดนามเยอะมาก สองประเทศนี้จึงมีปริมาณการส่งออกสูงมาก แต่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าไปอเมริกาเมื่อไปส่งสินค้าแล้วกลับมารับสินค้าใหม่ มันใช้เวลานานขึ้นจากเดิมใช้เวลา 7 วันก็เลื่อนมาเป็น 14 วัน หรือนานกว่านั้น เพราะทางอเมริกายังล็อคดาวน์อยู่ ตู้คอนเทนเนอร์จึงไปจมอยู่ในตลาด
ทีนี้เมื่อตู้หายไปบางส่วน ประเทศอื่นส่งออกไม่ได้เพราะไม่มีตู้ใส่สินค้า ทางจีนเขาพร้อมที่จะจ่ายค่าเฟดที่สูงขึ้นเพราะต้องการตู้คอนเทนเนอ์มาบรรทุกสินค้า หากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงเขายอมจ่ายเพิ่ม ผลกระทบมันก็เลยไปเกิดกับคนอื่น ซึ่งประเทศไทยมาร์จิ้นมันบางกว่าเส้นผม ถ้าส่งเป็นบะหมี่ครึ่งสำเร็จรูป เป็นสินค้าอาหารเสริมสำเร็จรูปปลากระป๋องยังพอไหว แต่ถ้าเป็นพืชผลการเกษตร เจอค่า Freight ที่แพงขึ้น 10 เท่า ถ้าไปอเมริกาไปยุโรปก็คงส่งออกไม่ได้เลย
คุณเวทิต กล่าวว่า สหพัฒน์ส่งออกปีละแค่ 1000 กว่าล้านบาท เราขายเป็น FOB ฉะนั้นผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าขนส่ง ถ้าผู้ซื้อรับราคาเพิ่มไม่ไหว เขาเริ่มชะลอออเดอร์ถัดๆ ไป เพราะเขาอาจจะเจ็บหนักจาก ล็อต2 ล็อต3. ตามสัญญาที่เขาจะต้องไปส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งก็จะต้องไปดูอนาคตนิดนึงว่าสภาวะค่า Freight จะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกนานไหม
“สิบปีที่ผ่านมาเป็นโอกาสของผู้ส่งออก เพราะราคาค่าระวางเรือต่ำมาก ต่ำจนมีสายการเดินเรือเจ๊งกันไปมาก ตอนนี้เป็นโอกาสของเขาแล้วที่จะขอทำกำไรบ้าง ถึงขนาดมีการทำสัญญาล่วงหน้าจองตู้กัน แต่พอมีคนมาให้ราคาสูงกว่าเขาก็เบี้ยวสัญญา แต่ใช้วิธีการบอกว่าหาตู้ไม่ได้บ้าง ผมคิดว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายตลอดไปหรอก เพราะทราบว่าทางจีนตอนนี้ได้มการเพิ่มกำลังการผลิตตู้คอนเทนเนอร์อย่างมโหฬาร เมื่อสถานการณ์คลี่คลายอาจจะกลับมาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ล้นตลาดได้เหมือนกัน วงจรค่าขนส่งอาจจะกลับมาต่ำ. แต่เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่. อาจจะเร็วหรือช้ากว่าที่เราคิด. ยุคนี้เป็นยุคที่ประเมินตัวเองลำบากจริงๆ.” คุณเวทิต กล่าว
สำหรับผลกระทบทางการค้าชายแดนนั้น ทาง สอท.ก็ได้เข้าไปทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อเจรจาและทำทุกอย่างให้มีผลกระทบน้อยที่สุด เรื่องการผ่านแดนกับข้ามแดน จะมีเรื่องคนขับรถ เรื่องจำนวนชั่วโมงที่ข้ามไปแล้ว ภายในกี่ชั่วโมงต้องกลับเข้ามา ไม่อย่างนั้นจะโดนกักตัว คือคนขับโดนกับตัวเนี่ยเรื่องรถมันจะรวนหมดเลย ช่วงก่อนหน้านี้อาจจะมีการปิดด่านไปเยอะ แต่ด่านที่เปิดอยู่ ก็ให้สินค้าผ่านได้ แต่คนผ่านไม่ได้ เราก็ต้องไปเจรจากับแต่ละจังหวัดแต่ละเจ้าแขวงเรื่องความปลอดภัยมาตรการต่างๆ เช่น มีการเจรจาขอให้สินค้าที่ผ่านส.ป.ป.ลาว ไปจีนได้ ซึ่งต้องเปลี่ยนคนขับรถเป็นคนขับรถของลาวอันนี้ก็จะลำบากนิดหนึ่งแต่ว่าโดยรวมก็สามารถส่งข้ามชายแดนไปได้
คุณเวทิต ระบุว่า การค้าขายแบบ E-Commerce จะเป็นเทรนใหม่ เพราะการเดินทางไปเจรจาขายสินค้ายากขึ้น เราเจอกันไม่ได้ทุกวันนี้สหพัฒน์ยังคุยกับผู้นำเข้าผ่านระบบออนไลน์วันละรายสองรายตลอดเวลากลายเป็นว่าไม่ต้องรองานแสดงสินค้า. มีลูกค้ากล้าออเดอร์มาสองสามรายแล้ว. อันนี้ก็ดีมาก การไปออกงานสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย. อันนี้อาจจะเป็นวิถีใหม่. สินค้าตัวอย่างเราก็ไม่ต้องเตรียมไปเยอะ. หลังจากคุยกันคัดกรองเราก็ส่งตัวอย่างไปให้เค้าลองอาจจะช้าหน่อยที่จะต้องรอส่งแต่อันนี้จะเป็นวิธีการใหม่ในการค้าระหว่างประเทศเหมือนกัน
E-Commerce จะเป็นอนาคตแน่นอน แต่ก่อนเราคิดว่าสินค้าอุปโภคบริโภคแบบสหพัฒน์เนี่ยคงไม่ต้องพี่ง E-Commerce หรอก เพราะเราขายส่ง เราไม่ได้ขายไอโฟนตัวละหลายหมื่นจะมีกำไรค่าส่ง. แต่ผู้บริโภคสมัยนี้พร้อมจ่ายค่าส่ง. ฉะนั้นทุกอย่างจะผ่านช่องทางออนไลน์หมด แต่ทางสหพัฒน์ก็ยังคงเน้นการค้ารูปแบบเดิมคือคุยกับดิสซิบิวเตอร์ที่มีศักยภาพ ไม่ได้คิดว่าต้องขายผ่านแพลตฟอร์ม สร้างแพลตฟอร์มอะไรมาก
อย่างไรก็ดี การค้าออนไลน์ ก็ยังมีประเด็นเรื่องผู้ซื้อตัวจริง หรือ ผู้ซื้อตัวปลอม ซึ่งคุณเวทิตแนะนำว่า หน่วยงานรัฐควรจะมีการคัดกรองเช็คประวัติผู้นำเข้าจากระบบ โดยประสบการณ์แล้ว คุยกันสี่ห้าครั้งก็พอจะแยกแยะได้ว่าใครเป็นตัวจริง ใครเป็นตัวปลอม และดูจำนวนของการสั่งซื้อถ้ารายใหม่ทดลองตลาดเขาจะไม่ซื้อเยอะ วิธีการที่ดีที่สุดของผู้ขายคือส่งสินค้าล็อตแรกไปให้ลองตลาดก่อนถ้าเจอตัวปลอมก็เสียหายไม่มาก แต่จะได้ประสบการณ์
สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ วิธีแก้ไขปัญหาการส่งออกอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมทำกันคือ เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ที่มีความต้องการสินค้าสูง มีตลาดที่ชัดเจน จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าขนส่งได้มาก บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัีด (มหาชน) ทำมาตลอด เรามีโรงงานในกัมพูชา โรงงานแห่งที่สองในเมียนมากำลังจะเสร็จก็มาเจอสถานการณ์นิดหน่อย เรามีโรงงานที่บังกลาเทศ และล่าสุดมีโรงงานที่ฮังการี ยุโรปตะวันออก คือไทยเพรสซิเดนท์ฟู๊ดส์ เราก็มีการส่งออกไปยุโรปมายาวนานขนาดส่งจากไทยไปเขาก็ยังพอใจในสินค้าและราคาของเรา การของเราการที่เรามีฐานการผลิตอยู่ในยุโรปตะวันออกก็มาทดแทนสินค้าบางส่วนให้ลูกค้าเดิม ก็ทำให้เรา อันนี้เราก็เรียนรู้ไปแต่แล้วก็เจอปัญหามากมายนะคะเช่นค่าแรงไม่รู้คิดถูกคิดผิดเหมือนกันก็เรียนรู้ไป
“ผมคิดว่าไตรมาสสี่ปีนี้. สถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะดูดีขึ้น. แต่คงไม่กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนจะมีการแพร่ระบาดของโควิด ต้องเข้าใจว่าเราจะไม่วิ่งกลับไปสู่จุดที่เราเคยรุ่งเรืองหรือว่าคุณอยู่ที่อุตสาหกรรมอะไร บางอุตสาหกรรมไปไกลแล้ว แต่ละอุตสาหกรรมมันมีภาพของมันเองอันนี้ต้องดูว่าใครจะอยู่ ใครจะรอด หวังว่าการแชร์ประสบการณ์นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน” คุณเวทิตกล่าว
รับชมวีดีโอ คลิก https://www.youtube.com/watch?v=dDJtew1AocQ
-
Exporter World Talk EP:24 ‘ธุรกิจดี เมื่อมีที่ปรึกษา’
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP:24 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณสมพัฒน์ สธนวรรธน์ ผู้บริหาร บริษัท โอมมี่ เยลลี่ จำกัด มาสนทนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่อง “ธุรกิจดี เมื่อมีที่...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:25 ‘ขายดีแบบ E-Commerce’
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณธรรมนาถ ตันติศิริวิทย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิงปิงกรุ๊ป จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "ขายดีแบบ E-Commerce " แนะนำเทคนิคการ...
29.11.2021
-
Exporter World Talk EP:22 ‘พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ’
วันที่ 6 กรกรฎาคม 2564 Exporter World Talk EP: 22 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า เชิญ คุณพรรณี ชิตรัตฐา กรรมการผู้จัดการ บริษัทคัพเวอร์ เอิร์ท จำกัด มาสนทนาในหัวข้อ "พามือใหม่ ไปหาตลาดต่างประเทศ" ฟังประสบการณ์ตรงจากผู้ส่งอ...
29.11.2021