การตลาด

ถอดกลยุทธ์ รับมือเศรษฐกิจด้วย Digitalization

 

ในขณะที่ภาคธุรกิจกำลังประสบกับปัญหา Technology Disruption ที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากระบบอนาล็อกมาสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายปรับตัวด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี และ ธุรกิจครอบครัว 

แต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ยิ่งสร้างแรงกดดันให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับยุคดิจิทัลให้เร็วยิ่งขึ้นอีก เพราะผลจากการแพร่ระบาดของโควิด19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตประจำวันของคนทั้งโลก กิจกรรมที่คนทำร่วมกันไม่ว่าจะเป็นการพบปะสังสรรค์ การรับประทานอาหารร่วมกัน การจับจ่ายใช้สอยต้องเปลี่ยนไป มีระยะห่างระหว่างกัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการค้า การทำธุรกิจอย่างมาก เช่น การค้าออนไลน์พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ขึ้นมาทดแทนการช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า การส่งอาหารเดลิเวอร์รี่  เกิดขึ้นมาแทนการเปิดร้านอาหารใหญ่โต 

ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ใช้วิธีการพลิกโฉมองค์กรด้วย Digital Transformation คือการปฎิวัติระบบการทำงานโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และสร้างนวัตกรรมหรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม แต่สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอาจไม่ต้องรื้อระบบหรือสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ แค่ใช้วิธี Digitalization คือการปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่เดิม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลเข้ามาช่วย 

Digitalization มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ประเภท และรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจ เราขอยกตัวอย่าง 4 ขั้นตอนพื้นฐาน ที่ทุกธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยยังคงรักษาแก่นคุณค่าของธุรกิจเอาไว้ ดังนี้

  • วางกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ

อันดับแรกต้องวางกลยุทธ์ในการทำธุรกิจให้ชัดเจนว่าจะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร วางระบบการทำงานก่อนจะลงทุนซื้อเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับงานและการขาย โดยมองล่วงหน้าถึงอนาคตในการลงทุน 

  • ผลักดันการเปลี่ยนแปลง

ผลักดันคนในองค์กรที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานที่ทำเป็นประจำ ให้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ว่าวิธีการไหนที่พวกเขาคิดว่าเหมาะสม เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลกับลักษณะของธุรกิจ ผู้บริหารเองควรทำให้พนักงานเห็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทักษะ และความเป็นมืออาชีพที่ทุกคนมีส่วนในการพัฒนาองค์กรไปสู่อนาคต ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตาม หากคนในองค์กรไม่ร่วมมือก็ไม่สำเร็จ ดังนั้นจึงควรมีการเทรนนิ่งพนักงานเพิ่มทักษะทางดิจิทัล หรือเปิดทางให้ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวกับระบบใหม่ได้รับเงินชดเชย ฯลฯ

  • ขับเคลื่อนโดยยึด ‘ลูกค้า’ เป็นศูนย์กลาง 

พัฒนาธุรกิจให้ไปได้ไกลกว่าความคาดหวังของลูกค้า ไม่ใช่แค่ขายสินค้า/บริการ แต่ต้องมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้ทุกที่และทุกเวลาอย่างแท้จริง การออกแบบ Customer Journey จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสำรวจเส้นทางของลูกค้าว่า ลูกค้าสามารถพบเห็นสินค้า/บริการของตนเองได้จากที่ไหน จุดใดที่จะเกิดการตัดสินใจซื้อ และจ่ายเงิน เพื่อทำการตลาดให้ครอบคลุมทุกช่องทาง (Omnichannel) ทั้งออนไลน์ และออนกราวด์ โดยใช้ Data Analytics มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบสนองลูกค้าแต่ละคนให้ตรงใจ

 

  • จัดโครงสร้างองค์กรให้คล่องตัว 

ลดความซับซ้อนและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นลง โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการใช้กระดาษ (Paperless) ขณะเดียวกันผู้บริหารต้องตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความกระฉับกระเฉง พร้อมเปิดกว้างรับการเปลี่ยนแปลงและเปิดใจที่จะรับฟังความคิดใหม่ๆ จากพนักงาน

Most Viewed
more icon
  • นักส่งออกควรปรับตัวอย่างไร เมื่อโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

    เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก กำลังฉุดเศรษฐกิจโลกให้ถดถอยอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับธุรกิจส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองและปิดประเทศชั่วคราว ตั้งแต่ส่งออกสินค้าไม่ได้ สินค้าตกค้างในสต็อ...

    calendar icon18.05.2020
  • สินค้าอาหารไทย ยืนหยัดได้ในทุกวิกฤต

    จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศหดตัวลงทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่เป็นประเทศพึ่งพาการส่งออกเป็นสัดส่วนที่สูง ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ แต่มีสินค้าส่งออกประเภทหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบน...

    calendar icon29.05.2020
  • ธุรกิจแฟรนไชส์ โอกาสก้าวไกลของนักส่งออก

    ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ใครๆ ก็ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาเปิดกิจการของตัวเอง สร้างแบรนด์ของตัวเอง แทนที่จะทำงานประจำ ผสานการใช้เทคโนโลยีและพลังของโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงผ...

    calendar icon30.03.2020