การตลาด

สินค้าอาหารไทย ยืนหยัดได้ในทุกวิกฤต

จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศหดตัวลงทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่เป็นประเทศพึ่งพาการส่งออกเป็นสัดส่วนที่สูง ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ

แต่มีสินค้าส่งออกประเภทหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบน้อย มีทิศทางการฟื้นตัวได้เร็ว และมีโอกาสที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ นั่นก็คือ สินค้ากลุ่มอาหาร ซึ่งเป็นภาคการส่งออกที่แข็งแกร่งของไทย

สาเหตุที่กลุ่มสินค้าอาหารจากไทยสามารถยืดหยัดได้ไม่ว่าจะเจอวิกฤตไหนๆ นั่นเป็นเพราะอาหารไทยมีชื่อเสียง มีคุณภาพและรสชาติที่ดี  อีกทั้งยังได้รับความเชื่อถือในเรื่องความปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานในระดับสากล จึงส่งผลให้มีข้อได้เปรียบในการส่งออกกว่าหลายประเทศ

ยิ่งในวิกฤตโควิด 19 ที่ผู้บริโภคทั่วโลกเกิดพฤติกรรมใหม่เป็น New Normal ผู้คนอยู่บ้านกันมากขึ้น ทำอาหารเองกันมากขึ้น ในฐานะที่ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารของโลก สามารถใช้โอกาสนี้ในการขยายตลาดอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น สินค้าอาหารที่น่าคว้าโอกาสไว้เนื่องจากมีแนวโน้มส่งออกได้มากขึ้น ได้แก่


1.ผลไม้สด

จากที่เคยได้รับผลกระทบจากโควิด 19 โดยเฉพาะตลาดใหญ่ในประเทศจีนที่ชะลอการสั่งซื้อ ทิศทางการส่งออกผลไม้จากไทยโดยเฉพาะทุเรียนก็สามารถเปลี่ยนทิศไปสู่ข่าวดีได้ จากการลงนามความตกลงทางการค้า (MOU)โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยกับคู่ค้าต่างประเทศจาก 13 ประเทศทั่วโลก อาทิ ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐ จีน และเริ่มปรับเปลี่ยนการค้าผลไม้ในรูปแบบใหม่ นำผลไม้ไทยขึ้นไปขายบนแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสชั้นนำของโลก

ดังนั้น มูลค่าการส่งออกผลไม้สดในช่วงไตรมาสแรกเพิ่มสูงขึ้นสวนทางสินค้าอื่น โดยเดือนม.ค. มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 3,296.5 ล้านบาท  เดือนก.พ.มูลค่า 2,287.4 ล้านบาท และปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 8,807.9 ล้านบาท หรือเติบโต 22.43% ในเดือนมี.ค. หลังตกลงสัญญา MOU  ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่มากกว่าช่วงที่โควิด 19 ยังไม่ระบาดเสียอีก  


2.เนื้อไก่แช่เข็ง

แนวโน้มการส่งออกเนื้อไก่แช่แข็งที่ดีขึ้น เมื่อเทียบจากมูลค่าส่งออกของไตรมาสแรกของปี 2562 จำนวน 5.640.8 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาสแรกของปีนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลับมีตัวเลขที่สูงขึ้นถึง 6,979.8 ล้านบาท   และมีทิศทางการส่งออกที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ มีการเพิ่มขึ้นโดยตลอด ในเดือนม.ค.2563 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 2,119.2 ล้านบาท เดือนก.พ.มีมูลค่า 2,110.7 ล้านบาท และในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นเป็น 2,749.9 ล้านบาท หรือเติบโต 34.34%

สาเหตุที่ทำให้สินค้ากลุ่นนี้ได้รับผลกระทบน้อยและฟื้นตัวได้เร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดจีนที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ผลผลิตในประเทศลงลด ส่งผลให้มีการนำเข้าเนื้อไก่เป็นจำนวนมาก รวมถึงเทศกาลตรุษจีนเมื่อเดือนม.ค.ที่จีนถูกยกเลิก จึงทำให้ผู้บริโภคชาวจีนยังมีกำลังซื้อเหลืออยู่มาก 

 

3.อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป

New Normal ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกต้องการซื้ออาหารที่เก็บไว้ได้นาน เปิดรับประทานเมื่อไหร่ก็ได้ จึงส่งผลดีต่อกลุ่มสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ที่มีแนวโน้มมูลค่าส่งออกสูงมากขึ้นจากสถิติเดือนม.ค.ที่ผ่านมา มูลค่าส่งออกอยู่ที่ 7,907.5 ล้านบาท เดือนก.พ.ส่งออกได้ 8,938.8 ล้านบาท และเดือนมี.ค.นี้ ส่งออกได้ 9,744.7 ล้านบาท ตามลำดับ

วิกฤตในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปในการเพิ่มการผลิต ทั้งยังมีแต้มต่อจากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ขยายการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปไปยังประเทศต่างๆ ตามความต้องการของตลาดโลกได้


4.เครื่องปรุงรสอาหาร

นอกจากอาการสดและอาหารสำเร็จรูปจะส่งออกได้อีกขึ้นแล้ว การที่คนปรุงอาหารรับประทานเองในครอบครัว ทำให้เกิดผลดีต่อกลุ่มสินค้าเครื่องปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก, น้ำปลา, เครื่องแกงสำเร็จรูป จากสถิติการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าการส่งออกเดือนม.ค.2563 อยู่ที่ 2,006.9 ล้านบาท เดือนก.พ.มีมูลค่าส่งออก 2,064.7 ล้านบาท และเดือนมี.ค.มูลค่าอยู่ที่ 2,231.5 ล้านบาท  กลุ่มสินค้านี้ยังเติบโตได้ดีในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย อีกด้วย


5.อาหารสัตว์เลี้ยง

นอกจากอาหารคนจะมียอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นแล้ว สินค้าในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ยังเป็นกลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการสูงขึ้นอีกด้วย เมื่อผู้คนกักตัวกันอยู่ที่บ้าน มีเวลาที่จะใส่ใจดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่

จากสถิติมูลค่าการส่งออกย้อนหลัง –เดือนตั้งแต่ม.ค. – มี.ค. 2563 มีทิศทางความต้องการของตลาดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องชัดเจน โดยมีมูลค่าส่งออก 4,380.3 ล้านบาท, 4,591.4 ล้านบาท และ5,195.2 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย

 

 

 

Most Viewed
more icon
  • นักส่งออกควรปรับตัวอย่างไร เมื่อโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

    เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก กำลังฉุดเศรษฐกิจโลกให้ถดถอยอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับธุรกิจส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองและปิดประเทศชั่วคราว ตั้งแต่ส่งออกสินค้าไม่ได้ สินค้าตกค้างในสต็อ...

    calendar icon18.05.2020
  • ธุรกิจแฟรนไชส์ โอกาสก้าวไกลของนักส่งออก

    ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ใครๆ ก็ฝันอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาเปิดกิจการของตัวเอง สร้างแบรนด์ของตัวเอง แทนที่จะทำงานประจำ ผสานการใช้เทคโนโลยีและพลังของโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงผ...

    calendar icon30.03.2020
  • FOOD TRENDS 2020

    วันนี้ EXAC by EXIM BANK นำข้อมูลเทรนด์อาหารเพื่อการส่งออก ปี 2020 มาให้ผู้ประกอบการได้อัพเดท เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตกว่าที่เคย เพราะตอนนี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้มูลค่าตลอดของประเภทสินค้านั้น ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วยเ...

    calendar icon03.03.2020