ไฮไลท์หลักสูตร Neo -Go Live

วิธีตั้งราคาให้เหมาะสมกับสินค้าตัวเอง
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การตั้งราคาสำคัญแค่ไหนในการทำกำไรของธุรกิจ จากข้อมูลของ Rüdiger, Ellige and Weigell, 2007 กล่าวว่าหากเราเพิ่มราคาขึ้น 1% จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นถึง 8% ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ อย่างการลดลงของต้นทุนแปรผัน 1% ช่วยเพิ่มกำไรแค่ 4% เช่นเดียวกับการเพิ่มของยอดขาย 1% ส่วนการลดต้นทุนคงที่ 1% เพิ่มกำไรได้เพียง 3%
ลองคำนวณง่ายๆ สมมติว่ายอดขายคือ 4 ชิ้น โดยราคาขายชิ้นละ 25 บาท แสดงว่ารายได้รวมของเราเท่ากับ 100 บาท หากต้นทุนคงที่เท่ากับ 19.2 บาท ต้นทุนแปรผัน 68.3 บาท ต้นทุนรวมเท่ากับ 87.5 บาท
ดังนั้น กำไรจะอยู่ที่ 12.5 บาท หากยอดขายและต้นทุนคงเดิม แต่เราเพิ่มราคาขึ้น 1% จาก 25 บาทเป็น 25.25 บาท
รายได้รวมจะเพิ่มขึ้น 1 บาท และกำไรเพิ่มขึ้น 1 บาทคิดเป็น 8% จากกำไรเดิม 12.5 บาท
นี่เป็นหลักฐานที่อธิบายว่าการตั้งราคาส่งผลกระทบต่อกำไรทันทีถ้าคุณตั้งราคาผิดพลาด
การเลือกกลยุทธ์ในการตั้งราคาว่าจะใช้กลยุทธ์ใด ขึ้นอยู่กับประเด็น 3 ประเด็นหลัก คือ
1.ลักษณะสินค้า หากลักษณะสินค้าคล้ายกันแทบจะไม่มีความแตกต่าง หรือเป็นสินค้าซื้อมา-ขายไป มีการแข่งขันสูง สินค้าพุ่งเป้าไปที่กลุ่ม Mass กลยุทธ์ในการตั้งราคาที่ควรใช้ คือ การตั้งราคาแบบใช้ต้นทุนเป็นฐาน หรือ Cost based Price Strategy นั่นคือ โฟกัสที่ต้นทุนของเรา แล้วบวกด้วย profit margin
2. ลักษณะการแข่งขันในตลาด หากสินค้ามีความแตกต่างอยู่บ้าง แต่สามารถทดแทนกันได้ คู่แข่งมีส่วนถือครองตลาดใกล้เคียงกัน กลยุทธ์ในการตั้งราคาที่ควรใช้คือ การตั้งราคาแบบใช้ราคาคู่แข่งเป็นฐาน หรือ Competitor based Price Strategy นั่นคือโฟกัสที่การตั้งราคาของคู่แข่ง หรือรอให้คู่แข่งประกาศราคาก่อน แล้วปรับราคาตามคู่แข่ง อุตสาหกรรมที่ใช้วิธีนี้ที่เห็นได้ชัดมาก ได้แก่ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจน้ำหวาน และธุรกิจน้ำโคล่า เป็นต้น
3. ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย หากสินค้าของคุณมีความแตกต่างอย่างชัดเจน มีนวัตกรรม เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หรือกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่ม Premium หรือ Niche การตั้งราคาแบบใช้การรับรู้คุณค่าของลูกค้าเป็นฐาน หรือ Customer Value based Price Strategy ก็เป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำได้ โดยเริ่มจากการเข้าใจความต้องการและประเมินคุณค่าของลูกค้า โดยปกติแล้วลูกค้าจะมีราคาในใจที่ตั้งไว้สำหรับสินค้าแต่ละประเภทที่เค้าต้องการซื้อ ตามคุณค่าที่เค้าได้รับรู้จากสินค้านั้นๆ ในกลยุทธ์นี้ก็คือ เราพยายามที่จะตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาในใจลูกค้า หรือ Reserved Price ของลูกค้าให้มากที่สุด แต่การที่จะทำแบบนั้นได้ แสดงว่าท่านจะต้องทำการศึกษาพฤติกรรมกลุ่มป้าหมายของท่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และทำการพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าของท่าน และทำการวิเคราะห์ว่าหากพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปถึงจุดที่ท่านสามารถตั้งราคาได้ใกล้เคียงกับ Reserved Price ต้นทุนส่วนเพิ่มจะเป็นเท่าไร หากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า profit margin ที่จะเพิ่มขึ้นก็ตัดสินใจพัฒนาสินค้าตามคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ
นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจอีกมากมายที่จะช่วยให้ท่านเติบโตในธุรกิจการส่งออก หากท่านสนใจธุรกิจด้านการส่งออก EXAC ขอเชิญชวนท่านเข้าร่วมหลักสูตร “Neo Go-Live by EXAC”
เรียนง่ายๆ จากที่บ้านผ่านช่องทางออนไลน์ ฟรี! แถมมีที่ปรึกษาทางธุรกิจ พร้อมสิทธิประโยชน์มากมาย
สนใจสมัคร ได้ที่ https://www.facebook.com/groups/neogolive/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า EXIM BANK โทร 02-271-3700 ต่อ 3502
#NeoGoLivebyEXAC
#EXACbyEXIMBANK
#เติมเต็มความเป็นเลิศส่งออกไทยเติบโตไกลอย่างยั่งยืน
#EXIMBANK
#ส่งออก
-
INCOTERMS คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อนักส่งออก?
INCOTERMS คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อนักส่งออก? INCOTERMS คือ ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ ที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย เพื่อให้ทราบถึงหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่ต้องปฏิบัติต่อกัน INCOTERMS ม...
05.05.2020
-
Payment Term ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
Advance Payment : การชำระเงินแบบที่ ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ก่อนการส่งออกสินค้า- เหมาะกับการค้าขายกับผู้ซื้อรายใหม่ ที่ยังไม่เคยมีประวัติทำการค้าขายด้วยกันมาก่อน และมูลค่าการส่งออกของสินค้ายังไม่สูงม...
08.05.2020
-
ความเสี่ยง(ที่เลี่ยงได้) ในการทำการค้าระหว่างประเทศ
ความเสี่ยง(ที่เลี่ยงได้) ในการทำการค้าระหว่างประเทศ การหาตลาดให้กับธุรกิจนั้นเป็นเรื่องยากในปัจจุบัน ใครที่เปิดตลาดเพิ่มได้ หรือหาคู่ค้าที่มียอดสั่งซื้ออย่างสม่ำเสมอได้ถือว่าโชคดีเป็นอย่างมาก ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจโลกที่ม...
18.05.2020