การเงิน - บริหารจัดการ

5 วิธี พาธุรกิจฝ่าวิกฤตตามแนวคิด Lean Management

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังระส่ำระส่ายจากความท้าทายรอบด้าน ทุกธุรกิจต่างได้รับผลกระทบกันทุกหย่อมหญ้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทางรอดของผู้ประกอบการมีหลายทาง แต่วันนี้เราอยากชวนผู้ประกอบการมารู้จักกับแนวคิดการบริหารจัดการแบบ Lean (Lean Management) ซึ่งเหมาะกับการรับมือภาวะวิกฤตเป็นอย่างยิ่ง

การบริหารจัดการแบบ Lean คืออะไร ?

Lean management คือการบริหารจัดการธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ตั้งแต่การคิด ทดสอบ และวัดผล จากนั้นค่อยนำฟีดแบคไปพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการให้ดีขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะได้สิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในที่สุด

หัวใจสำคัญของ Lean คือการเข้าใจ ‘อินไซต์’ ของลูกค้า และมุ่งเน้นการตัดขั้นตอนต่างๆ ที่ไม่สำคัญออกไป ซึ่งรวมไปถึงลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เพื่อลดปัญหาการลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดนั่นเอง 

และนี่คือ 5 ขั้นตอนของการบริหารจัดการแบบ Lean (Lean Management) ที่นักส่งออกสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจให้อยู่รอดและยืนหยัดต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้

 

  1. ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น

เวลาเศรษฐกิจไม่สู้ดี เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักจะพยายามลดต้นทุนก่อน เช่น ค่าวัตถุดิบ และค่าจ้างพนักงาน แต่ที่จริงแล้วมีปัจจัยอีกมากมายที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต หรือที่เรียกว่า 7 Wastes of Lean ซึ่งนักส่งออกสามารถสำรวจสาเหตุและจัดการความสูญเปล่าเหล่านี้เพื่อลดต้นทุนได้ ประกอบด้วย

  •   การผลิต

ผลิตมากเกินไป, ผลิตของที่ไม่ตรงมาตรฐาน รวมถึงกระบวนการผลิตมีขั้นตอนซ้ำซ้อนทำให้เกิดงานค้าง

  •   การขนส่ง

การขนส่งขาดประสิทธิภาพ ใช้เวลารอคอยนานทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส

  •   การจัดเก็บ

จัดการคลังสินค้าไม่ดี จัดเก็บไม่เป็นระเบียบ ทำให้ของตกค้างในสต็อก และเสื่อมสภาพไปโดยเปล่าประโยชน์

 

  1. บริหารสต็อกสินค้า 

การบริหารสต็อกสินค้าแบบ Lean จะช่วยให้นักส่งออกควบคุมจัดการสินค้าในสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีหลายวิธี เช่น จัดหมวดประเภทสินค้าแบบ FIFO System (First in First out) หมายถึงสินค้าไหนถูกป้อนเข้ามาในคลังก่อน ก็ควรรีบระบายออกก่อน เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าใหม่ที่คงคุณภาพดีเสมอ ระบบนี้เหมาะกับสินค้าประเภทอาหาร แฟชั่น เทคโนโลยี และสินค้าที่มีอายุการเก็บผลิตภัณฑ์จำกัด

         นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเช่น Data Analytics, Internet of Things และเทคโนโลยี AI ยังช่วยในด้านการจัดระเบียบสต็อก พร้อมอัพเดทข้อมูลของสินค้าแต่ละประเภทแบบเรียลไทม์

 

  1. บริหารสภาพคล่องทางการเงิน 

แนวคิดแบบ Lean จะช่วยให้นักส่งออกรู้ว่าควรตัดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปอย่างไร และบริหารสภาพ คล่องทางการเงินของธุรกิจได้ดีขึ้น ทางที่ดีควรแจกแจงเงินทุนหมุนเวียนและงบดุลกำไรของธุรกิจอย่างเป็นระบบ คอยตรวจสอบว่ามีกระแสเงินสดหมุนเวียนเพียงพอและครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไหม เช่น ต้นทุนการผลิต วัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ ที่สำคัญอย่าลืมจำกัดวงเงินหมุนเวียนอย่างเหมาะสม ควบคุมค่าใช้จ่าย และพยายามเก็บเงินทุนสำรองเอาไว้ เมื่อธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงิน ก็จะมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในอนาคต 

 

  1. เน้นตลาดออนไลน์ 

เมื่อการส่งออกสะดุด ลองถือโอกาสนี้ศึกษาและทำตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง ตั้งแต่การลุยตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของตนเอง เช่น B2B (Business-to-Business) กับ B2C (Business-to-Consumer) นอกจากนี้ธุรกิจยังสามารถทำคอนเทนต์ออนไลน์เพื่อสร้าง Brand Awareness และ Engagement อย่างต่อเนื่อง และใช้กลุยทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติงเพื่อกระตุ้นยอดขายและสร้างความผูกพันในระยะยาว เช่น ทำเว็บไซต์ให้ค้นหาเร็วและง่ายขึ้นด้วย SEO การสร้างคอมมูนิตี้ การยิงโฆษณาแบบเจาะจงกลุ่มลูกค้า

 

  1. มองหาโอกาสใหม่ในตลาด 

อย่าลืมว่าภาวะวิกฤตนั้นมีจุดสิ้นสุด ถ้าหากธุรกิจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ลองหันมาศึกษาแนวโน้มของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคตาม Mega Trends และ Macro Trends ซึ่งเป็นเทรนด์ใหญ่ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานในอนาคต เช่น สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยต่อยอดต้นทุนของธุรกิจเดิมไปสู่ธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้ ไม่ว่าจะในด้านการดูแลผู้สูงอายุ อาหารและกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ไปจนถึงอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ที่จะเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคกลุ่มนี้ แนวคิด Lean จะช่วยให้นักส่งออกสามารถพัฒนาไอเดียเป็นต้นแบบ และวัดผลได้อย่างรวดเร็ว และทำให้นักส่งออกได้เรียนรู้และปรับตัวได้เร็วยิ่งขึ้น 

 

 

Most Viewed
more icon
  • แต่งบัญชี หวังจะเลี่ยงภาษี

    แต่งบัญชี หวังจะเลี่ยงภาษี ในอดีต เราคงจะเคยได้ยินเรื่องที่ผู้ประกอบการ มักจะทำบัญชีสองเล่ม โดยมีเหตุผลว่าเพื่อใช้สำหรับกู้เงินกับธนาคารและใช้สำหรับยื่นเสียภาษีเงินได้ บัญชีทั้ง 2 เล่มนี้ มีความแตกต่างกันในเรื่อง...

    calendar icon20.05.2020
  • ต้องทำอย่างไรเมื่อผู้ซื้อในต่างประเทศยื่นล้มละลาย

    ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด–19 ยังคงกระจายอยู่ในหลายประเทศ และยังไม่มีวี่แววว่าจะสงบลงเมื่อใด เราก็เริ่มได้ข่าวการหดตัวของกิจการใหญ่ชื่อดังหลายราย ที่เริ่มจากการลดสาขา ลดกำลังการผลิต หรือหยุดการผลิตชั่วคร...

    calendar icon09.07.2020
  • คาถาพิชิตวิกฤต “ต้องสู้ จึงจะชนะ”

    การทำธุรกิจส่งออก เปรียบเสมือนการโล้สำเภาในมหาสมุทร ยามที่คลื่นลมสงบ ทุกอย่างก็ราบรื่น แต่ในยามที่เจอพายุใหญ่ คลื่นลมถาโถม ไต้ก๋งจะต้องทำทุกอย่างเพื่อประคองให้เรือยังแล่นต่อไปจนถึงฝั่งให้ได้ แม้จะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม ...

    calendar icon27.04.2020