ข่าว
หลังจาก พิศิษฐ์ เสรีวิวิฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ได้ประกาศว่า EXIM Bank จะเริ่มใช้แผนแม่บท 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2560 – 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของไทย คือ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ( พ.ศ.2561-2580 ) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยให้มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รัฐบาลได้มอบหมายภารกิจให้ EXIM BANK เพิ่มบทบาทของการเป็น Develment Bank สำหรับผู้ส่งออก มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เพิ่มจำนวน เพิ่มมูลค่าต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม และมีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
พิศิษฐ์ เปิดเผยว่า ในยุทธศาสตร์หลักของธนาคาร ที่ได้เร่งผลักดันต่อเนื่องให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามแผน 10 ปี มี 6 เรื่องคือ
1.การสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทยในตลาดใหม่ (Market Maker) มุ่งแสวงหาตลาดใหม่ รวมถึงตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ยังมีความต้องการสินค้าและบริการสูง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้ประกอบการในการขยายการค้าการลงทุน แทนตลาดการค้าหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดเดิมที่เริ่มอิ่มตัว ซึ่งในยุทธศาสตร์นี้ ทาง EXIM BANK ได้เปิดสำนักงานผู้แทนขึ้นใน 3 ประเทศแล้ว คือ ที่เมียนมา สปป.ลาว และ ล่าสุดเมื่อต้นปีที่ผ่านมาคือที่ กัมพูชา
นอกจากนี้ ยังมีแผนงานที่จะผลักดันให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ขยายการค้าการลงทุนไปยังอินเดีย ที่ได้เริ่มมีกิจกรรมดำเนินการไปบ้างแล้ว และเตรียมที่จะพาลูกค้าบุกตลาด CLMV ให้เข้มข้นขึ้นอีกในปีหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การเป็นที่ปรึกษาโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชนไทยในต่างประเทศ ( National Investment Advisor) โดยบูรณาการความเชี่ยวชาญจากพันธมิตร ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ผลักดันให้เกิดโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งเรื่องนี้ได้ดำเนินการผลักดันต่อเนื่องให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือการขยายตลาดประกันการส่งออก และ ลงทุนอย่างครบวงจร ด้วยนวัตกรรมและเครือข่ายพันธมิตร (Integrated Insurer) ที่ได้พยายามส่งเสริมและให้ข้อมูลแก่ผู้ส่งออกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีเห็นความสำคัญของการซื้อประกันการส่งออกที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะได้รับหากโดนเบี้ยวจ่ายค่าสินค้าส่งออก เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณธุรกิจ โดยในครึ่งแรกปี 2562 ธนาคาร มีปริมาณธุรกิจด้านการรับประกันการส่งออก และประกันความเสี่ยงการลงทุน 53,290 ล้านบาท เพิ่มขึ ้น 9,153 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นปริมาณธุรกิจของเอสเอ็มอี จำนวน 11,487 ล้านบาท หรือ 21.56% ของปริมาณธุรกิจสะสมรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การส่งเสริมการค้าและการทำธุรกรรมออนไลน์ (E-Trading Ecosystem) เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าสู่อีคอมเมิร์สได้มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยการอบรมให้ความรู้และนำผู้ประกอบการให้โพสขายสินค้าในแพลตฟอร์มชั้นนำของโลก เช่น อาลีบาบา ,HKTDC , gosoko และ ไทยเทรดดอทคอม แล้วหลายร้อยราย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 คือการส่งเสริมความรู้ อบรมบ่มเพาะและสนับสนุนทางการเงินให้ เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ มุ่งเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นผู้ส่งออกและแข่งขันได้ในตลาดโลก (Hi-Potential SMEs Accelerator ) โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
และ ยุทธศาสตร์ที่ 6 ปรับปรุงระบบการทำงานของธนาคาร เพื่อให้สนับสนุนทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จ
กรรมการผู้จัดการ EXIM Bank กล่าวว่า การดำเนินการตามยุทธศาสตร์เดินหน้าต่อไปอย่างน่าพอใจ แต่ที่จะโดดเด่นที่สุดในปี 2563 คือ ธนาคารมีแผนที่จะเปิด ศูนย์ความเป็นเลิศทางการค้า (EXAC : Excellence Academy) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่ง EXAC จะเป็นเครื่องมือของธนาคารในการเข้าถึงลูกค้าเอสเอ็มอี โดยธนาคารตั้งเป้าว่า ศูนย์นี้จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ส่งออกที่เป็นกลุ่ม เอสเอ็มอีไม่ต่ำกว่าปีละ 1 พันราย ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกโดยรวมของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้
“เป้าหมายระยะยาวของธนาคาร ในการตั้ง EXAC นั้น เราหวังว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีลูกค้าเป็นเอสเอ็มอีส่งออกประมาณ 12,500 ราย หรือคิดเป็น 30% ของผู้ส่งออกทั้งประเทศ ซึ่ง EXIM สามารถเพิ่มสัดส่วนกลุ่มนี้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีนี้สัดส่วนขยับมาเกือบ 13% แล้ว” พิศิษฐ์ กล่าว
EXAC คืออะไร
พิศิษฐ์ อธิบายว่า ศูนย์ความเป็นเลิศทางการค้า (EXAC : Excellence Academy) จะเป็นหน่วยงานหนึ่งใน EXIM BANK ซึ่งจัดโครงสร้างให้เป็น ศูนย์บริการครบวงจร หรือ One Stop Service เพื่อเน้นย้ำบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาลูกค้าเอสเอ็มอีให้เป็นผู้ส่งออก โดยได้ให้นโยบายไปว่าจะต้องปฎิบัติภารกิจเป็น พัฒนาความรู้และเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ผ่านการจัดกิจกรรม อบรมเสริมสร้างความรู้ ตั้งแต่ระดับการบ่มเพาะความรู้ที่จำเป็นต่อการเริ่มต้น และขยายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังจะต้องให้บริการผู้ประกอบการครบวงจร ทั้งในด้านการให้คำปรึกษาการตลาด ด้านกฏหมาย ด้านเงื่อนไขการลงทุน การบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน สนับสนุนด้านการเงิน การบริการรับประกันการส่งออก ให้คำปรึกษาในการส่งออก ผ่านทางคลีนิกการเงิน และยังจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำบูทในงานแสดงสินค้าต่างๆ ส่งเสริมให้มีการจับคู่ธุรกิจทั้งค้าขายและลงทุนในต่างประเทศ
“ EXIM BANK มีแนวทางในการสนับสนุนและเติมเต็มช่องว่างให้กับ เอสเอ็มอีไทย ซึ่งส่วนใหญ่ประสบกับปัญหา 3 ขาดคือ 1.ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบสำหรับผลิตเพื่อการส่งออก ตลอดจนเงินทุนสำหรับการขยายกิจการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อพัฒนาสินค้า
2.ขาดความเชื่อมั่นในการทำการค้าระหว่างประเทศ และ 3. ขาดข้อมูลและองค์ความรู้ในการทำธุรกิจส่งออก” พิศิษฐ์ กล่าว
ทั้งนี้กิจกรรมภายใน EXAC นั้นจะตอบสนอง 3 ขาดของลูกค้าเอสเอ็มอีได้ จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจจะขยายธุรกิจการค้าไปต่างประเทศ เข้ามาใช้บริการของ EXAC ที่สำนักงานใหญ่ EXIM Bank ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
-
อันดับความสามารถการแข่งขันไทยปี'63อยู่ที่ 29 ของโลก ลดลง 4 อันดับ
อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยร่วง จากอันดับ 25 เป็น 29 ของโลก จากปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจ ธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เปิดเผยรายงานผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของโลกปร...
16.07.2020
-
ลาวยังคงนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคจากไทยอย่างต่อเนื่อง
วีรนุช ธรรมศักดิ์ หัวหน้าสำนักงานผู้แทนเวียงจันทน์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า Facebook หนังสือพิมพ์ลาวพัฒนาได้นำเสนอกราฟฟิคข้อมูลการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคของ ส.ป.ป.ลาว จากประเทศไทยผ่านด่านชายแด...
10.07.2020
-
เตือนผู้ส่งออกปลาทูน่าไปอียู
เตือนผู้ส่งออกปลาทูน่าไปอียู รับมือผลกระทบสหภาพยุโรปเลิกเก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่าเวียดนาม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพ ยุโรป – เวียดนาม (EVFT...
20.07.2020