ข่าว

ครม.ไฟเขียวมาตรการช่วยเอสเอ็มอี-กระตุ้นเศรษฐกิจ

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 10 มี.ค.2563 รัฐบาลได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดังนี้

1. มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 150,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อ 20 ล้านบาทต่อราย

2.มาตรการพักเงินต้น ขยายเวลาการชำระดอกเบี้ย ลดดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ที่ต้องการกู้เงินซึ่งอยู่ภายใต้วงเงิน 150,000 ล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) , ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

3.มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หารือธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน โดยธปท. ผ่อนเกณฑ์และอำนวยความสะดวกในการการเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น

4.มาตรการเสริมจากกองทุนประกันสังคมวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยจะให้สินเชื่อเริ่มต้นที่ดอกเบี้ยเริ่ม 3% ระยะเวลา 3 ปี ให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

ทั้งนี้ ครม.ยังอนุมัติมาตรการทางภาษี ได้แก่

-มาตรการคืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ได้แก่ การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% เหลือ 1.5% เริ่มต้นเดือน เม.ย.-ก.ย.63

- มาตรการลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการ โดยให้ให้สิทธิ์หักรายจ่ายดอกเบี้ย 1.5 เท่า สำหรับ เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 150,000 ล้านบาท เริ่มวันที่ 1 เม.ย.- 31 ธ.ค.63

-มาตรการให้บริษัทและเอสเอ็มอีต่างๆ สามารถนำรายจ่ายลูกจ้างเอสเอ็มอี ที่เป็นผู้ประกันตนหักรายจ่ายได้ 3 เท่าตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด

-เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการภายในประเทศ

นอกจากนี้ จะมีมาตรการอื่นๆ เช่น การบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ คืนเงินประกันค่าใช้ไฟฟ้า (ค่ามิเตอร์) โดยจะมีการพิจารณาเงื่อนไขตามความเหมาะสมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน อีกทั้งยังมีข้อเสนอจากกองทุนประกันสังคมให้ลดเงินสมทบเข้ากองทุนของนายจ้างและลูกจ้าง โดยอาจมีมาตรการชั่วคราว 3 เดือนหรือ 6 เดือน รวมถึงการขอความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ เลื่อนการเก็บค่าเช่า ค่าธรรมเนียม การใช้บริการอื่นๆ กับประชาชน

สำหรับมาตรการด้านตลาดทุน มีมาตรการที่ผ่านการหารือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดให้ประชาชนได้สิทธิลดหย่อนภาษีชั่วคราวในช่วงวันที่ 1 เม.ย.- 30 มิ.ย. 63 จากการซื้อกองทุนเพื่อการออมระยะยาว (SSF) โดยประชาชนสามารถซื้อหน่วยลงทุน SSF เพื่อใช้หักลดหย่อนภาษีบุคคลเพิ่ม 200,000 บาทต่อราย รวมเป็น 400,000 บาทต่อราย จากเดิมที่อยู่เพียง 200,000 บาทต่อราย

ครม.ยังได้พิจารณาเบื้องต้น โดยกำหนดวงเงิน 20,000 ล้านบาทเพื่อเตรียมช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ถูกเลิกจ้างงาน หรือสถานประกอบการที่พนักงานอาจทำงานไม่ได้เต็มที่ การเสริมศักยภาพบุคลากร แม้ทางคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติแล้ว แต่ต้องหารือกับสำนักงบประมาณเพื่อกำหนดรูปแบบและขอบเขตการใช้ไว้ใช้จ่ายได้ตามความจำเป็น อย่างไรก็ตาม ทางคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการยกเว้นอากรขาเข้าวัสดุในการทำหน้ากากเป็นเวลา 6 เดือน

#EXACbyEXIMBANK #เติมเต็มความเป็นเลิศส่งออกไทยเติบโตไกลอย่างยั่งยืน
#EXAC #EXIMBANK #SMEs #อุ้มเอสเอ็มอี

 

Most Viewed
more icon
  • อันดับความสามารถการแข่งขันไทยปี'63อยู่ที่ 29 ของโลก ลดลง 4 อันดับ

    อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยร่วง จากอันดับ 25 เป็น 29 ของโลก จากปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจ ธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เปิดเผยรายงานผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของโลกปร...

    calendar icon16.07.2020
  • ลาวยังคงนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคจากไทยอย่างต่อเนื่อง

    วีรนุช ธรรมศักดิ์ หัวหน้าสำนักงานผู้แทนเวียงจันทน์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า Facebook หนังสือพิมพ์ลาวพัฒนาได้นำเสนอกราฟฟิคข้อมูลการนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภคของ ส.ป.ป.ลาว จากประเทศไทยผ่านด่านชายแด...

    calendar icon10.07.2020
  • เตือนผู้ส่งออกปลาทูน่าไปอียู

    เตือนผู้ส่งออกปลาทูน่าไปอียู รับมือผลกระทบสหภาพยุโรปเลิกเก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่าเวียดนาม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพ ยุโรป – เวียดนาม (EVFT...

    calendar icon20.07.2020