ทั่วไป

จับตาส่งออกไทย หลังเลือกตั้งสหรัฐฯ

ขณะนี้โลกกำลังจับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 59 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 พ.ย.ที่จะถึงนี้  โดยมี ‘โจ ไบเดน’ เป็นผู้ท้าชิงเก้าอีประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต และ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน จากพรรครีพับลิกัน ที่ต้องการดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2

การที่โลกต้องจดจ่อกับการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐอเมริกา เพราะตำแหน่งนี้จะเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดวาระของโลกในหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ การค้า สงคราม การรับมือกับโรคระบาด รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก 

สำหรับประเทศไทยเอง จำเป็นต้องจับจ้องบิ๊กอีเวนต์ของโลกนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากสหรัฐยังเป็นคู่ค้าที่สำคัญ โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ใน 8 เดือนแรกของปี 2563 ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ด้วยมูลค่ารวมกว่า 694,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% ในขณะที่ตลาดหลักในการส่งออกอื่นๆลดลง  เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้นำเข้าจากสหรัฐสั่งซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและนโยบายต่างประเทศ ของสหรัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่ไทยต้องเฝ้าติดตาม อีกทั้งในปีนี้มีสถาการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 มาเป็นตัวเร่งให้ความไม่ปกติของการค้าโลกรุนแรงยิ่งขึ้น

นโยบายจากฝั่งทรัมป์ยังคงความชัดเจนเรื่องการให้ความสำคัญกับการค้าของคนในประเทศผ่านสโลแกน America First  ส่งสัญญาณชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอาจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ทรัมป์ยังเอ่ยปากบอกถึงแผนในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงโรงงานสหรัฐฯ ในจีนกลับมาตั้งบนแผ่นดินประเทศตัวเอง ดังนั้นสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศจะดำเนินต่อไป และอาจแถมพ่วงด้วยการเปิดศึกการค้ากับประเทศอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย โดยเฉพาะกับประเทศที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐ

ด้านไบเดนแสดงออกชัดเจนไม่แพ้กันว่าผลประโยชน์ที่สหรัฐฯ สูญเสียให้กับจีนผ่านสนามการค้าที่ไม่เป็นธรรมจะต้องได้รับการแก้ไข แต่ย้ำว่าจะไม่ใช้นโยบายภาษีเข้ามาดำเนินการเหมือนที่รัฐบาลของทรัมป์ทำอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เขายังไม่ได้มีรูปแบบนโยบายอะไรที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากนัก

ยิ่งไปกว่านั้น การแพร่ระบาดของ Covid-19 ยังได้กัดเซาะเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างรุนแรงไม่ต่างจากประเทศอื่น โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า ตลาดแรงงานของสหรัฐยังผันผวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ พนักงานที่เคยถูกพักงานก่อนหน้านี้ก็ถูกให้ออกจากงานเป็นการถาวร เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศยังคงอ่อนแอ

เรื่องนี้จะเป็นแรงกดดันให้ไม่ว่า “ทรัมป์” หรือ “ไบเดน”  ใครที่จะมาเป็นผู้นำสหรัฐคนใหม่ก็จะต้องรีบดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐก่อน ดังนั้นการวางแผนเตรียมรับมือการค้าระหว่างประเทศที่จะเปลี่ยนแปลงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ที่ทำการค้าระหว่างประเทศต้องติดตามและบริหารความเสี่ยงของธุรกิจให้สอดคล้อง เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

 

 

Most Viewed
more icon
  • กาแฟไทย อนาคตที่ไปได้อีกไกล

    ในปัจจุบัน แทบจะทุกมุมถนน เราจะพบว่า มีร้านกาแฟเปิดใหม่เกิดขึ้นให้เห็นจนชินตา ทั้งร้านขนาดเล็ก ร้านที่เป็นแบรนด์ไทย หรือที่เป็นสาขาจากแบรนด์ต่างชาติ มีให้นักดื่มได้เลือกชิมกันมากมาย วัตถุดิบนั้นก็สามารถสรรหาได้จากทั้งในป...

    calendar icon01.07.2020
  • 5 ความพร้อมก้าวสู่ผู้ส่งออกมืออาชีพ

    ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลกของโควิด-19 คำว่า “นิว นอร์มอล” (New Normal) กลายเป็นคำศัพท์ยอดนิยมที่ถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาคเศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา สังคม หรือบทสนทนาในชีว...

    calendar icon23.07.2020
  • ไม่เปลี่ยนวันนี้ จะรอวันไหน

    วิกฤตโควิด-19 กระทบผู้ประกอบการอย่างทั่วถึง ไม่เลือกประเภทธุรกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ครั้งนี้ เราอยากนำเสนอ ธุรกิจบริการ ประเภท ร้านอาหาร โรงแรม ร้านกาแฟ รายหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ขยายกิจการมาจากร้านอาหารเล็กๆ มีสถา...

    calendar icon02.04.2020